บทความ

กำลังแสดงโพสต์จาก มิถุนายน, 2021

สังสารวัฏนี้ หาที่สุดเบื้องต้น เบื้องปลายไม่ได้

รูปภาพ
สวัสดีครับคุณผู้ชมคุณผู้ฟังทุกท่าน ที่ติดตามรับชมภูริฟิล์ม ธรรมะ ๑ นาที คลิบนี้เสนอตอน สังสารวัฏนี้ หาที่สุดเบื้องต้น เบื้องปลายไม่ได้ พระพุทธเจ้าท่านตรัสว่า... ดูกรภิกษุทั้งหลาย สงสารนี้ กำหนดที่สุดเบื้องต้น เบื้องปลายไม่ได้ เมื่อเหล่าสัตว์ผู้มีอวิชชาเป็นที่กางกั้น มีตัณหาเป็นเครื่องประกอบไว้ ท่องเที่ยวไปมาอยู่ ที่สุดเบื้องต้นย่อมไม่ปรากฏฯ ดูกรภิกษุทั้งหลาย เหมือนอย่างว่า บุรุษตัดทอนหญ้า ไม้กิ่ง ไม้ใบ ไม้ในชมพูทวีปนี้ แล้วจึงรวมกันไว้ ครั้นแล้ว พึงกระทำให้เป็นมัดๆ ละ ๔ นิ้ว วางไว้ สมมติว่า นี้เป็นมารดาของเรา นี้เป็นมารดาของมารดาของเรา โดยลำดับมารดาของมารดาแห่งบุรุษนั้น ไม่พึงสิ้นสุด ส่วนว่า หญ้า ไม้กิ่ง ไม้ใบ ไม้ในชมพูทวีปนี้ พึงถึงการหมดสิ้นไป. พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๖ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๘ สังยุตตนิกาย นิทานวรรค อนมตัคคสังยุตต์ ปฐมวรรคที่ ๑ พึ่งตนพึ่งธรรม นำชีวิตออกจากทุกข์ ขออนุโมทนาบุญกับทุกท่าน ที่มีส่วนร่วมในการจัดทำคลิบนี้ และรับชมคลิบนี้ สาธุครับ

สังสารวัฏนี้ หาที่สุดเบื้องต้น เบื้องปลายไม่ได้

รูปภาพ
สวัสดีครับคุณผู้ชมคุณผู้ฟังทุกท่าน ที่ติดตามรับชมภูริฟิล์ม ธรรมะ ๑ นาที คลิบนี้เสนอตอน สังสารวัฏนี้ หาที่สุดเบื้องต้น เบื้องปลายไม่ได้ พระพุทธเจ้าท่านตรัสว่า... ดูกรภิกษุทั้งหลาย สงสารนี้ กำหนดที่สุดเบื้องต้น เบื้องปลายไม่ได้ เมื่อเหล่าสัตว์ผู้มีอวิชชาเป็นที่กางกั้น มีตัณหาเป็นเครื่องประกอบไว้ ท่องเที่ยวไปมาอยู่ ที่สุดเบื้องต้นย่อมไม่ปรากฏฯ ดูกรภิกษุทั้งหลาย เหมือนอย่างว่า บุรุษตัดทอนหญ้า ไม้กิ่ง ไม้ใบ ไม้ในชมพูทวีปนี้ แล้วจึงรวมกันไว้ ครั้นแล้ว พึงกระทำให้เป็นมัดๆ ละ ๔ นิ้ว วางไว้ สมมติว่า นี้เป็นมารดาของเรา นี้เป็นมารดาของมารดาของเรา โดยลำดับมารดาของมารดาแห่งบุรุษนั้น ไม่พึงสิ้นสุด ส่วนว่า หญ้า ไม้กิ่ง ไม้ใบ ไม้ในชมพูทวีปนี้ พึงถึงการหมดสิ้นไป. พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๖ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๘ สังยุตตนิกาย นิทานวรรค อนมตัคคสังยุตต์ ปฐมวรรคที่ ๑ พึ่งตนพึ่งธรรม นำชีวิตออกจากทุกข์ ขออนุโมทนาบุญกับทุกท่าน ที่มีส่วนร่วมในการจัดทำคลิบนี้ และรับชมคลิบนี้ สาธุครับ

น้ำตาที่เคยไหล น้ำนมที่เคยดื่ม เลือดที่เคยสูญเสีย มากกว่าน้ำในมหาสมุทรทั้ง ๔

รูปภาพ
สวัสดีครับคุณผู้ชมคุณผู้ฟังทุกท่าน ที่ติดตามรับชมภูริฟิล์ม ธรรมะ ๑ นาที คลิบนี้เสนอตอน น้ำตาที่เคยไหล น้ำนมที่เคยดื่ม เลือดที่เคยสูญเสีย มากกว่าน้ำในมหาสมุทรทั้ง ๔ พระพุทธเจ้าท่านตรัสว่า... น้ำตาที่เราเคยหลั่งไหล น้ำนมที่เราเคยดึ่ม เลือดที่เคยสูญเสีย เปรียบกับน้ำในมหาสมุทรทั้ง ๔ แล้ว ไม่มากกว่าเลย ด้วยเหตุว่า สังสารวัฏนั้น กำหนดที่สุด เบื้องต้นไม่ได้ เบื้องปลายไม่ได้ เมื่อเหล่าสัตว์ผู้มีอวิชชาเป็นเครื่องกั้น มีตัณหาเป็นเครื่องผูก ท่องเที่ยวไปมาอยู่เพียงพอหรือยัง ที่เราทั้งหลายจะบอกตนเองว่า ด้วยเหตุเพียงเท่านั้น ก็พอแล้ว เพื่อจะเบื่อหน่ายในสังขารทั้งหลาย พอแล้วที่จะคลายกำหนัด พอแล้วเพื่อจะหลุดพ้น จากสังขารทั้งปวงนี้ พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๖ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๘ สังยุตตนิกาย นิทานวรรค อนมตัคคสังยุตต์ ปฐมวรรคที่ ๑ พึ่งตนพึ่งธรรม นำชีวิตออกจากทุกข์ ขออนุโมทนาบุญกับทุกท่าน ที่มีส่วนร่วมในการจัดทำคลิบนี้ และรับชมคลิบนี้ สาธุครับ

ทิ้งเสียนั่นแหละ กลับจะเป็นประโยชน์

รูปภาพ
สวัสดีครับคุณผู้ชมคุณผู้ฟังทุกท่าน ที่ติดตามรับชมภูริฟิล์ม ธรรมะ ๑ นาที คลิบนี้เสนอตอน ทิ้งเสียนั่นแหละ กลับจะเป็นประโยชน์ พ ระพุทธเจ้าท่านตรัสว่า... ภิกษุทั้งหลาย. สิ่งใดไม่ใช่ของพวกเธอ พวกเธอจงละสิ่งนั้นเสีย. สิ่งนั้นอันพวกเธอละได้แล้ว จักเป็นไปเพื่อประโยชน์เกื้อกูล เพื่อความสุขแก่เธอ ภิกษุทั้งหลาย. อะไรเล่าไม่ใช่ของพวกเธอ ภิกษุทั้งหลาย. ตาไม่ใช่ของพวกเธอ พวกเธอจงละมันเสีย สิ่งนั้นอันพวกเธอละได้แล้ว จักเป็นไปเพื่อประโยชน์เกื้อกูล เพื่อความสุขแก่เธอ ภิกษุทั้งหลาย หูไม่ใช่ของพวกเธอ พวกเธอจงละมันเสีย. สิ่งนั้นอันพวกเธอละได้แล้ว จักเป็นไปเพื่อประโยชน์เกื้อกูล เพื่อความสุขแก่เธอ. ภิกษุทั้งหลาย. จมูกไม่ใช่ของพวกเธอ พวกเธอจงละมันเสีย. สิ่งนั้นอันพวกเธอละได้แล้ว จักเป็นไปเพื่อประโยชน์เกื้อกูล เพื่อความสุขแก่เธอ. ภิกษุทั้งหลาย. ลิ้นไม่ใช่ของพวกเธอ พวกเธอจงละมันเสีย. สิ่งนั้นอันพวกเธอละได้แล้ว จักเป็นไปเพื่อประโยชน์เกื้อกูล เพื่อความสุขแก่เธอ. ภิกษุทั้งหลาย. กายไม่ใช่ของพวกเธอ พวกเธอจงละมันเสีย. สิ่งนั้นอันพวกเธอละได้แล้ว จักเป็นไปเพื่อประโยชน

เป็นทุกข์ เพราะติดอยู่ในอายตนะ

รูปภาพ
สวัสดีครับคุณผู้ชมคุณผู้ฟังทุกท่าน ที่ติดตามรับชมภูริฟิล์ม ธรรมะ ๑ นาที คลิบนี้เสนอตอน เป็นทุกข์เพราะติดอยู่ในอายตนะ พระพุทธเจ้าท่านตรัสว่า... ภิกษุทั้งหลาย. เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย มีรูปเป็นที่มายินดี ยินดีแล้วในรูป เพลิดเพลินแล้วในรูป. ภิกษุ ท. ! เทวดา และมนุษย์ทั้งหลาย ย่อมอยู่เป็นทุกข์ เพราะความแปรปรวน เสื่อมสลาย และความดับไปของรูป เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย มีเสียงเป็นที่มายินดี ยินดีแล้วในเสียง เพลิดเพลินแล้วในเสียง. ภิกษุ ท. ! เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย ย่อมอยู่เป็นทุกข์ เพราะความแปรปรวน เสื่อมสลาย และความดับไปของเสียง. เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย มีกลิ่นเป็นที่มายินดี ยินดีแล้วในกลิ่น เพลิดเพลินแล้วในกลิ่น. ภิกษุ ท. ! เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย ย่อมอยู่เป็นทุกข์ เพราะความแปรปรวน เสื่อมสลาย และความดับไปของกลิ่น. เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย มีรสเป็นที่มายินดี ยินดีแล้วในรส เพลิดเพลินแล้วในรส. ภิกษุ ท. ! เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย ย่อมอยู่เป็นทุกข์ เพราะความแปรปรวน เสื่อมสลาย และความดับไปของรส. เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย มีโผฏฐัพพะเป็นที่มายินดี ยินดีแล้

เพราะแตกสลาย จึงได้ชื่อว่า “โลก”

รูปภาพ
สวัสดีครับคุณผู้ชมคุณผู้ฟังทุกท่าน ที่ติดตามรับชมภูริฟิล์ม ธรรมะ ๑ นาที คลิบนี้เสนอตอน เพราะแตกสลาย จึงได้ชื่อว่า “โลก” มีผู้ถามพระพุทธเจ้าว่า... ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ที่กล่าวกันว่า โลก โลก ดังนี้ อันว่าโลก มีได้ด้วยเหตุเพียงเท่าไร พระเจ้าข้า พระพุทธเจ้าท่านตรัสว่า... ภิกษุ เพราะจะต้องแตกสลาย เราจึงกล่าวว่าโลก ก็อะไรเล่าจะต้อง แตกสลาย. ภิกษุ จักษุแตกสลาย รูปแตกสลาย จักษุวิญญาณแตกสลาย จักษุสัมผัสแตกสลาย แม้สุขเวทนาก็ดี ทุกขเวทนาก็ดี หรืออะทุกขะมะสุขเวทนา ที่เกิดขึ้น เพราะจักษุ สัมผัส เป็นปัจจัยก็แตกสลาย ภิกษุ โสตะแตกสลาย เสียงแตกสลาย โสตวิญญาณแตกสลาย โสตสัมผัสแตกสลาย แม้สุขเวทนาก็ดี ทุกขเวทนาก็ดี หรืออทุกขมสุขเวทนา ที่เกิดขึ้น เพราะโสตสัมผัส เป็นปัจจัยก็แตกสลาย. ภิกษุ ฆานะแตกสลาย กลิ่นแตกสลาย ฆานวิญญาณแตกสลาย ฆานสัมผัสแตกสลาย แม้สุขเวทนาก็ดี ทุกขเวทนาก็ดี หรืออทุกขมสุขเวทนา ที่เกิดขึ้น เพราะฆานสัมผัสเป็น ปัจจัยก็แตกสลาย. ภิกษุ. ชิวหาแตกสลาย รสแตกสลาย ชิวหาวิญญาณแตกสลาย ชิวหาสัมผัสแตกสลาย แม้สุขเวทนาก็ดี ทุกขเวทนาก็ดี หรืออทุกขมสุขเวทนา

เต่าตาบอด โอกาสในการเกิดเป็นมนุษย์นั้นยาก

รูปภาพ
สวัสดีครับคุณผู้ชมคุณผู้ฟังทุกท่าน ที่ติดตามรับชมภูริฟิล์ม ธรรมะ ๑ นาที คลิบนี้เสนอตอน เต่าตาบอด โอกาสในการเกิดเป็นมนุษย์นั้นยาก พระพุทธเจ้าท่านตรัสว่า... ภิกษุทั้งหลาย. เปรียบเหมือนมหาปฐพีอันใหญ่หลวงนี้ มีน้ำท่วมถึงเป็นอันเดียวกันทั้งหมด บุรุษคนหนึ่ง ทิ้งแอก ซึ่งมีรูเจาะเพียงรูเดียวลงไปในน้ำนั้น ลมตะวันออก พัดให้ลอยไปทางทิศตะวันตก ลมตะวันตก พัดให้ลอยไปทาง ทิศตะวันออก ลมเหนือ พัดให้ลอยไปทางทิศใต้ ลมใต้พัดให้ลอยไปทางทิศเหนือ อยู่ดังนี้ ในน้ำนั้น มีเต่าตัวหนึ่งตาบอด ล่วงไปร้อยปีๆ มันจะผุดขึ้นมาสักครั้งหนึ่ง. ภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลาย จะสำคัญความข้อนี้ว่าอย่างไร จะเป็นไปได้ไหม ที่เต่าตาบอด ร้อยปีจึงจะผุดขึ้นสักครั้งหนึ่ง จะพึงยื่นคอเข้าไปในรู ซึ่งมีอยู่เพียงรูเดียว ในแอกนั้น ข้อนี้ยากที่จะเป็นไปได้ พระเจ้าข้า ที่เต่าตาบอดนั้น ร้อยปีผุดขึ้นเพียงครั้งเดียว จะพึงยื่น คอเข้าไปในรู ซึ่งมีอยู่เพียงรูเดียวในแอกนั้น. ภิกษุทั้งหลาย ยากที่จะเป็นไปได้ ฉันเดียวกัน ที่ใครๆ จะพึงได้ความเป็นมนุษย์ ยากที่จะเป็นไปได้ ฉันเดียวกัน ที่ตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธะ จะเกิดขึ

เจริญสมาธิ ได้ชื่อว่ากำลังโน้มเอียงไปสู่นิพพาน

รูปภาพ
สวัสดีครับคุณผู้ชมคุณผู้ฟังทุกท่าน ที่ติดตามรับชมภูริฟิล์ม ธรรมะ ๑ นาที คลิบนี้เสนอตอน เจริญสมาธิ ได้ชื่อว่า กำลังโน้มเอียงไปสู่นิพพาน พระพุทธเจ้าท่านตรัสว่า... ภิกษุทั้งหลาย เปรียบเหมือนแม่น้ำคงคา ไหลไปสู่ทิศปราจีน หลั่งไปสู่ทิศปราจีน บ่าไปสู่ทิศปราจีน ฉันใด ภิกษุเจริญกระทำให้มาก ซึ่งฌานทั้ง ๔ ย่อมเป็นผู้ น้อมไป สู่นิพพาน โน้มไป สู่นิพพาน โอนไป สู่นิพพาน ก็ฉันนั้นเหมือนกัน. ภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุเจริญ กระทำให้มาก ซึ่งฌานทั้ง ๔ อย่างไร ย่อมเป็นผู้ น้อมไปสู่นิพพาน โน้มไปสู่นิพพาน โอนไปสู่นิพพาน. ภิกษุทั้งหลาย. ภิกษุในกรณีนี้ สงัดแล้วจากกาม และจากอกุศลธรรมทั้งหลาย เข้าถึงปฐมฌาน อันมีวิตก วิจาร มีปีติ และสุข อันเกิดจากวิเวกแล้วแลอยู่ เพราะความที่วิตกวิจาร ทั้งสองระงับลง เข้าถึง ทุติยฌาน เป็นเครื่องผ่องใสใจในภายใน ให้สมาธิเป็นธรรมอันเอกผุดมีขึ้น ไม่มีวิตก ไม่มีวิจาร มีแต่ปีติและสุข อันเกิดจากสมาธิ แล้วแลอยู่ เพราะความจางคลายไปแห่งปีติ ย่อมเป็น ผู้อยู่อุเบกขา มีสติและสัมปชัญญะ และย่อมเสวยความสุขด้วยกาย ชนิดที่พระอริยเจ้าทั้งหลาย ย่อมกล่าวสรรเสร

มารผู้ใจบาป กามคุณ ๕

รูปภาพ
สวัสดีครับคุณผู้ชมคุณผู้ฟังทุกท่าน ที่ติดตามรับชมภูริฟิล์ม ธรรมะ ๑ นาที คลิบนี้เสนอตอน กามคุณ 5 มารผู้ใจบาป พระพุทธเจ้าท่านตรัสว่า... ภิกษุท. ! กามคุณเหล่านี้มีห้าอย่าง. ห้าอย่างอะไรกันเล่า? ห้าอย่าง คือ รูปที่เห็นด้วยตา เสียงที่ฟังด้วยหู กลิ่นที่ดมด้วยจมูก รสที่ลิ้มด้วยลิ้น และโผฏฐัพพะ ที่สัมผัสด้วยกาย อันเป็นสิ่งที่น่าปรารถนา น่ารักใคร่ น่าพอใจ ยวนตา ยวนใจให้รัก เป็นที่เข้าไปตั้งไว้ ซึ่งความใคร่ เป็นที่ตั้งแห่งความกำหนัด ย้อมใจ. ภิกษุ ท. ! กามคุณมีห้าอย่างเหล่านี้แล. ภิกษุ ท. ! สมณะหรือพราหมณ์พวกใดพวกหนึ่ง ติดอกติดใจ สยบอยู่ เมาหมกอยู่ ในกามคุณ ห้าอย่างเหล่านี้แล้ว ก็ไม่มองเห็นส่วนที่เป็นโทษ ไม่เป็นผู้รู้แจ่มแจ้ง ในอุบายเป็นเครื่องออกไปจากทุกข์ ทำการบริโภคกามคุณทั้งห้านั้นอยู่ สมณะหรือพราหมณ์พวกนั้น อันคนทั้งหลายพึงเข้าใจเถิดว่า เป็นผู้ถึงความพินาศ ย่อยยับ แล้วแต่ มารผู้ใจบาป ต้องการจะทำตามอำเภอใจอย่างใด ดังนี้. พึ่งตนพึ่งธรรม นำชีวิตออกจากทุกข์ ขออนุโมทนาบุญกับทุกท่าน ที่มีส่วนร่วมในการจัดทำคลิบนี้ และรับชมคลิบนี้ สาธุครับ

๓ สิ่งนี้ เปิดเผยไม่เจริญ ปิดบังไว้จึงเจริญ

รูปภาพ
สวัสดีครับคุณผู้ชมคุณผู้ฟังทุกท่าน ที่ติดตามรับชมภูริฟิล์ม ธรรมะ ๑ นาที คลิบนี้เสนอตอน สิ่ง ๓ นี้ ปิดบังไว้จึงเจริญ เปิดเผยไม่เจริญ พระพุทธเจ้าท่านตรัสว่า... [๕๗๑] ดูกรภิกษุทั้งหลาย สิ่ง ๓ อย่างนี้ ปิดบังไว้จึงเจริญ เปิดเผยไม่เจริญ ๓ อย่างเป็นไฉน คือ ๑. มาตุคาม ( คือ สตรี) ปิดบังเอาไว้จึงจะงดงาม เปิดเผยไม่งดงาม ๒. มนต์ของพราหมณ์ ปิดบังเข้าไว้จึงรุ่งเรือง เปิดเผยไม่รุ่งเรือง ๓. มิจฉาทิฐิ ปิดบังไว้จึงเจริญ เปิดเผยไม่เจริญ ดูกรภิกษุทั้งหลาย สิ่ง ๓ อย่าง นี้แล ปิดบังไว้จึงเจริญ เปิดเผยไม่เจริญ ดูกรภิกษุทั้งหลาย สิ่ง ๓ อย่างนี้ เปิดเผยจึงรุ่งเรือง ปิดบังไม่รุ่งเรือง ๓ อย่างเป็นไฉน คือ ๑. ดวงจันทร์ เปิดเผยจึงรุ่งเรือง ปิดบังไม่รุ่งเรือง ๒. ดวงอาทิตย์ เปิดเผยจึงรุ่งเรือง ปิดบังไม่รุ่งเรือง ๓. ธรรมวินัย ที่พระตถาคตประกาศไว้แล้ว เปิดเผยจึงรุ่งเรือง ปิดบังไม่รุ่งเรือง ดูกรภิกษุทั้งหลาย สิ่ง ๓ อย่างนี้แล เปิดเผยจึงรุ่งเรือง ปิดบังไม่รุ่งเรืองฯ "ปฏิจฉันนสูตร" ฉบับหลวง เล่มที่ ๒๐ สุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย เอก-ทุก-ติกนิบาต หน้าที่ ๒๗๐ ข้

ขี้ตามช้าง คือ ผู้ที่ติดอกติดในในลาภ ไม่เห็นโทษของลาภ

รูปภาพ
สวัสดีครับคุณผู้ชมคุณผู้ฟังทุกท่าน ที่ติดตามรับชมภูริฟิล์ม ธรรมะ ๑ นาที คลิบนี้เสนอตอน ขี้ตามช้าง คือ ผู้ที่ติดอกติดใจในลาภ ไม่เห็นโทษของลาภ พระพุทธเจ้าท่านตรัสว่า... ภิกษุ ท.! เรื่องนี้เคยมีมาแล้ว : มีสระใหญ่ ในที่ใกล้ป่าแห่งหนึ่ง. ช้างทั้งหลาย ได้อาศัยหากิน ในสระใหญ่แห่งนั้น. มันลงสู่สระแล้ว ใช้งวงถอนหัวบัวและรากบัวขึ้นมา แล้วแกว่งไป แกว่งมาในนํ้า ทำให้หมดเปือกตม แล้วใส่ปากเคี้ยวให้ดีเสียก่อน จึงกลืน ลงไป. การกินอย่างนี้ ของช้างเหล่านั้น ย่อมทำให้เนื้อตัวเปล่งปลั่ง มีพละกำลัง และไม่ถึง ซึ่งความตาย หรือได้รับทุกข์ เจียนตาย เพราะข้อที่ช้างนั้น รู้จักกินนั้นเอง เป็นเหตุ. ภิกษุ ท.! ส่วนพวกลูกช้างเล็กๆ อยากจะเอาอย่างช้างใหญ่ๆ บ้าง มันจึงลงสู่ สระบัวนั้น ใช้งวงถอนหัวบัว และรากบัวขึ้นมาได้ ทั้งๆ ที่ยังไม่ได้แกว่งไปแกว่งมาในนํ้า มีเปือกตมติดอยู่ ก็เอาเข้าใส่ปาก ไม่ได้เคี้ยวให้ดีเสียก่อน กลืนลงไปแล้ว. การกินอย่างนี้ของพวกลูกช้างเล็กๆ นั้น ย่อมไม่ทำให้เนื้อตัวเปล่งปลั่ง มีพละกำลัง แล้วยังจะถึง ซึ่งความตาย หรือได้รับทุกข์เจียนตาย เพราะข้อที่ลูกช้างเหล่

ตะปูตรึงใจ ๕ ตัว ที่ได้แต่ความเสื่อมในกุศลธรรม

รูปภาพ
สวัสดีครับคุณผู้ชมคุณผู้ฟังทุกท่าน ที่ติดตามรับชมภูริฟิล์ม ธรรมะ ๑ นาที คลิบนี้เสนอตอน ตะปูตรึงใจ ๕ ตัว ที่ได้แต่ความเสื่อมในกุศลธรรม พระพุทธเจ้าท่านตรัสว่า... ภิกษุ ท.! บรรพชิตรูปใด จะเป็นภิกษุ หรือภิกษุณีก็ตาม ยังละตะปูตรึงใจห้าตัวไม่ได้ คืนวันของบรรพชิตรูปนั้น ย่อมผ่านไป โดยหวังได้แต่ความเสื่อม ในกุศลธรรมทั้งหลายอย่างเดียว หาความเจริญมิได้. ตะปูตรึงใจห้าตัว ที่บรรพชิตรูปนั้นยังละไม่ได้ เป็นอย่างไรเล่า? ๑. ภิกษุ ท.! ภิกษุในกรณีนี้ยังสงสัย เคลือบแคลง ไม่ปลงใจเชื่อ ไม่เลื่อมใส ในพระศาสดา. ภิกษุใด เป็นดังกล่าวนี้ จิตของภิกษุนั้น ย่อมไม่น้อมไป เพื่อความเพียรเผากิเลส เพียรประกอบเนืองๆ เพียรตั้งหลัก ติดต่อเนื่องกัน. จิตของผู้ใด ไม่น้อมไปตามนัยที่กล่าวนี้, นั่นแหละ เป็นตะปูตรึงใจตัวที่หนึ่ง ที่เธอนั้นยังละไม่ได้. ๒. ภิกษุ ท.! อีกอย่างหนึ่ง ภิกษุยังสงสัย ฯลฯ ในธรรม _ _ _ฯลฯ _ _ _ นั่นแหละ เป็นตะปูตรึงใจตัวที่สอง ที่เธอนั้นยังละไม่ได้. ๓. ภิกษุ ท.! อีกอย่างหนึ่ง ภิกษุยังสงสัย ฯลฯ ในพระสงฆ์ _ _ _ฯลฯ _ _ _ นั่นแหละ เป็นตะปูตรึงใจตัวที่สาม ที่เธอนั้น

คนแหวกแนว ผู้ทำมหาชนให้เสื่อมเสีย

รูปภาพ
สวัสดีครับคุณผู้ชมคุณผู้ฟังทุกท่าน ที่ติดตามรับชมภูริฟิล์ม ธรรมะ ๑ นาที คลิบนี้เสนอตอน คนแหวกแนว ผู้ทำมหาชนให้เสื่อมเสีย พระพุทธเจ้าท่านตรัสว่า... ภิกษุ ท.! ภิกษุผู้เป็นที่เชื่อถือของมหาชนทั่วไป เมื่อมีการกระทำ สามอย่างนี้แล้ว จะได้ชื่อว่า เป็นผู้ทำมหาชนให้เสื่อมเสีย ทำมหาชน ให้หมดสุข ทำไปเพื่อความฉิบหายแก่มหาชน ไม่เป็นประโยชน์เกื้อกูล แต่เป็นไปเพื่อความทุกข์ ทั้งแก่เทวดา และมนุษย์ทั้งหลาย. การกระทำสามอย่างอะไรบ้างเล่า? สามอย่าง คือ :- (๑) ทำการชักชวนมหาชน ในกายกรรม ๑ อันผิดแนว แห่งการทำที่สุดทุกข์ ในพระศาสนา. (๒) ทำการชักชวนมหาชน ในวจีกรรม ๒ อันผิดแนว แห่งการทำที่สุดทุกข์ ในพระศาสนา. (๓) ทำการชักชวนมหาชน ในการบำเพ็ญทางจิต ๓ อันผิดแนว แห่งการทำที่สุดทุกข์ ในพระศาสนา. ภิกษุ ท.! ภิกษุผู้เป็นที่เชื่อถือของมหาชนทั่วไป, เมื่อมีการกระทำ สามอย่างเหล่านี้ เข้าแล้ว ได้ชื่อว่า เป็นผู้ทำมหาชนให้เสื่อมเสีย ทำมหาชนให้หมดสุข ทำไปเพื่อความฉิบหาย แก่มหาชน ไม่เป็นประโยชน์เกื้อกูล แต่เป็น ไปเพื่อความทุกข์ ทั้งแก่เทวดา และมนุษย์ ทั้งหลายแล. (หน้า 81 หนังสือขุมทรัพ

ความไม่ผ่องใส ไม่งามสง่ารุ่งเรือง (ราคีของนักบวช)

รูปภาพ
สวัสดีครับคุณผู้ชมคุณผู้ฟังทุกท่าน ที่ติดตามรับชมภูริฟิล์ม ธรรมะ ๑ นาที คลิบนี้เสนอตอน ราคีของนักบวช ความไม่ผ่องใส ไม่งามสง่า รุ่งเรือง พระพุทธเจ้าท่านตรัสว่า... ภิกษุ ท.! เครื่องเศร้าหมองของพระจันทร์ และพระอาทิตย์ มีอยู่สี่อย่าง อันเป็นเหตุให้ พระจันทร์ และพระอาทิตย์ ไม่สุกใส ไม่สว่างไสวรุ่งเรือง. สี่อย่างอะไรบ้าง? สี่อย่างคือ เมฆ หมอก ผงคลี และอสุรินทราหู. ภิกษุ ท.! เครื่องเศร้าหมอง ของพระจันทร์และพระอาทิตย์ อันเป็นเหตุให้พระจันทร์และพระอาทิตย์ ไม่สุกใส ไม่สว่างไสวรุ่งเรือง มีอยู่สี่อย่างนี้ ภิกษุ ท.! ฉันใดก็ฉันนั้น : เครื่องเศร้าหมองของสมณพราหมณ์ ก็มีอยู่สี่อย่าง อันเป็นเหตุ ให้สมณพราหมณ์ ไม่ผ่องใส ไม่งามสง่ารุ่งเรือง. สี่อย่าง อะไรบ้าง? สี่อย่างคือ (๑) สมณพราหมณ์พวกหนึ่ง ดื่มสุราเมรัย ไม่งดเว้นจากการดื่มสุรา เมรัย. (๒) สมณพราหมณ์พวกหนึ่ง ยังมีการกระทำ (อย่างใดอย่างหนึ่ง) อย่างที่คนคู่เขาทำต่อกัน ๑ ไม่งดเว้นจากการกระทำเช่นนั้น. (๓) สมณพราหมณ์พวกหนึ่ง รับทองและเงิน ไม่งดเว้นจากการรับทองและเงิน. (๔) สมณพราหมณ์พวกหนึ่ง สำเร็จการเป็นอยู่ ด้

ทรงเห็นสัตว์ดุจดอกบัว ๓ เหล่า

รูปภาพ
สวัสดีครับคุณผู้ชมคุณผู้ฟังทุกท่าน ที่ติดตามรับชมภูริฟิล์ม ธรรมะ ๑ นาที คลิบนี้เสนอตอน ทรงเห็นสัตว์ดุจดอกบัว ๓ เหล่า พระพุทธเจ้าท่านตรัสว่า... ราชกุมาร! ครั้งนั้น เรารู้แจ้งคำเชื้อเชิญ ของสหัมบดีพรหมแล้ว และเพราะอาศัยความกรุณาในสัตว์ทั้งหลาย เราตรวจดูโลกด้วยพุทธจักขุแล้ว. เมื่อเราตรวจดูโลก ด้วยพุทธจักขุอยู่ เราได้เห็นสัตว์ทั้งหลาย ผู้มีธุลีในดวงตา เล็กน้อยบ้าง มีมากบ้าง ผู้มีอินทรีย์แก่กล้าบ้าง อ่อนบ้าง มีอาการดีบ้าง เลวบ้าง อาจสอนให้รู้ ได้ง่ายบ้าง ยากบ้าง และบางพวกเห็นโทษในปรโลก โดยความเป็นภัยอยู่ก็มี เปรียบเหมือนในหนอง บัวอุบล บัวปทุม บัวบุณฑริก ดอกบัวบางเหล่า เกิดแล้วในน้ำ เจริญในน้ำ อันน้ำพยุงไว้ ยังจมอยู่ในน้ำ บางเหล่า เกิดแล้วในน้ำ เจริญในน้ำ อันน้ำพยุงไว้ ตั้งอยู่เสมอพื้นน้ำ บางเหล่า เกิดแล้วในน้ำ เจริญในน้ำ อันน้ำพยุงไว้ โผล่ขึ้นพ้นน้ำ อันน้ำไม่ถูกแล้ว มีฉันใด ราชกุมาร! เราได้เห็นสัตว์ทั้งหลาย เป็นต่างๆ กัน ฉันนั้น. ราชกุมาร! ครั้งนั้น เราได้รับรองกะสหัมบดีพรหมด้วยคำ (ที่ผูกเป็นกาพย์) ว่า “ประตูแห่งนิพพานอันเป็นอมตะ เราเปิดไว้แล

สุนัขขี้เรื้อน (ลาภสักการะ และเสียงเยินยอ)

รูปภาพ
สวัสดีครับคุณผู้ชมคุณผู้ฟังทุกท่าน ที่ติดตามรับชมภูริฟิล์ม ธรรมะ ๑ นาที คลิบนี้เสนอตอน สุนัขขี้เรื้อน ลาภสักการะและเสียงเยินยอ พระพุทธเจ้าท่านตรัสว่า... ภิกษุ ท.! ลาภสักการะและเสียงเยินยอ เป็นอันตรายที่ทารุณแสบเผ็ด หยาบคาย ต่อการบรรลุพระนิพพาน อันเป็นธรรมเกษมจากโยคะ ไม่มีธรรมอื่นยิ่งกว่า. ภิกษุ ท.! พวกเธอเห็นสุนัขจิ้งจอกตัวที่อาศัยอยู่ เมื่อตอนยํ่ารุ่ง แห่งราตรีนี้ไหม? “เห็น พระเจ้าข้า”. ภิกษุ ท.! สุนัขจิ้งจอกตัวนั้น เป็นโรคหูชัน คือ (โรคเรื้อนสุนัข) ๒ วิ่งไปบนแผ่นดิน ก็ไม่สบาย ไปอยู่ที่โคนไม้ ก็ไม่สบาย ไปอยู่กลางแจ้ง ก็ไม่สบาย. มันไปในที่ใด มันยืนในที่ใด มันนั่งในที่ใด มันนอนในที่ใด ล้วนแต่ได้รับทุกข์ทรมาน ในที่นั้น ๆ. ภิกษุ ท.! ภิกษุบางรูป ในศาสนานี้ก็เหมือนกัน ครั้นถูกลาภสักการะและเสียงเยินยอ ครอบงำเอาแล้ว มีจิตติดแน่นอยู่ในสิ่งนั้นๆ ไปอยู่สุญญาคาร ก็ไม่สบาย ไปอยู่โคนไม้ ก็ไม่สบาย ไปอยู่กลางแจ้ง ก็ไม่สบาย. เธอไปในที่ใด เธอยืนในที่ใด เธอนั่งในที่ใด เธอนอนในที่ใด ล้วนแต่ได้รับทุกข์ทรมาน ในที่นั้นๆ ภิกษุ ท.! ลาภสักการะและเสียงเยินยอ เป

สติ กับสัมปชัญญะ

รูปภาพ
สวัสดีครับคุณผู้ชมคุณผู้ฟังทุกท่าน ที่ติดตามรับชมภูริฟิล์ม ธรรมะ ๑ นาที คลิบนี้เสนอตอน สติ กับสัมปชัญญะ จงเป็นผู้มีสติ คู่กันไปกับ สัมปชัญญะ ครับ พระพุทธเจ้าท่านตรัสว่า... ภิกษุทั้งหลาย! ภิกษุ พึงเป็นผู้มีสติอยู่อย่างมีสัมปชัญญะ : นี้เป็นอนุสาสนีของเรา แก่พวกเธอทั้งหลาย. ภิกษุทั้งหลาย! ภิกษุเป็นผู้มีสติ เป็นอย่างไรเล่า? ภิกษุทั้งหลาย! ภิกษุในกรณีนี้ เป็นผู้เห็นกายในกายอยู่เป็นประจำ มีความเพียร เผากิเลส มีสัมปชัญญะ มีสติ นำออกเสียได้ ซึ่งอภิชฌาและโทมนัสในโลก เป็นผู้เห็นเวทนาในเวทนาอยู่เป็นประจำ มีความเพียรเผากิเลส มีสัมปชัญญะ มีสติ นำออกเสียได้ ซึ่งอภิชฌาและโทมนัสในโลก เป็นผู้เห็นจิตในจิตอยู่เป็นประจำ มีความเพียรเผากิเลส มีสัมปชัญญะ มีสติ นำออกเสียได้ ซึ่งอภิชฌา และโทมนัสในโลก เป็นผู้เห็นธรรมในธรรมทั้งหลายอยู่เป็นประจำ มีความเพียรเผากิเลส มีสัมปชัญญะ มีสติ นำออกเสียได้ ซึ่งอภิชฌา และโทมนัสในโลก. ภิกษุทั้งหลาย! อย่างนี้แล เรียกว่า ภิกษุเป็นผู้มีสติ. ภิกษุทั้งหลาย! ภิกษุเป็นผู้มีสัมปชัญญะ เป็นอย่างไรเล่า? ภิกษุทั้งหลาย! ภิกษุในกรณีนี้ เป็นผู้รู้

บุคคลไม่ควรคำนึงถึงสิ่งที่ล่วงไปแล้ว (ผู้มีราตรีหนึ่งเจริญ)

รูปภาพ
สวัสดีครับคุณผู้ชมคุณผู้ฟังทุกท่าน ที่ติดตามรับชมภูริฟิล์ม ธรรมะ ๑ นาที คลิบนี้เสนอตอน บุคคลไม่ควรคำนึงถึงสิ่งที่ล่วงไปแล้ว หรือ (ผู้มีราตรีหนึ่งเจริญ) พระพุทธเจ้าท่านตรัสว่า... ในโลกนี้ ไม่มีสิ่งใดๆ เลย ที่เมื่อเรายึดถืออยู่ เราจักเป็นผู้หาโทษมิได้ บุคคลไม่ควรคำนึงถึงสิ่งที่ล่วงไปแล้ว ไม่ควรมุ่งหวังสิ่งที่ยังไม่มาถึง สิ่งใดล่วงไปแล้ว สิ่งนั้นก็เป็นอันละไปแล้ว และสิ่งที่ยังไม่มาถึง ก็เป็นอันยังไม่ถึง ก็บุคคล "เห็นแจ้ง" ธรรมปัจจุบัน ไม่ง่อนแง่น ไม่คลอนแคลน ในธรรมนั้น ๆ ได้ บุคคลนั้นพึงเจริญธรรมนั้นเนืองๆ ให้ปรุโปร่งเถิด พึงทำความเพียรเสียในวันนี้แหละ ใครเล่าจะรู้ความตายในวันพรุ่ง เพราะว่า "ความผัดเพี้ยนกับมัจจุราช" ผู้มีเสนาใหญ่นั้น ย่อมไม่มีแก่เราทั้งหลาย พระมุนีผู้สงบ ย่อมเรียกบุคคลผู้มีปรกติอยู่อย่างนี้. มีความเพียร ไม่เกียจคร้านทั้งกลางวันและกลางคืน นั้นแลว่า "ผู้มีราตรีหนึ่งเจริญ" พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๑๔ หน้า ๒๖๗ ข้อ ๕๓๔ พึ่งตนพึ่งธรรม นำชีวิตออกจากทุกข์ ขออนุโมทนาบุญกับทุกท่าน ที่มีส่วนร่วมในการจัดทำคลิบนี้ แล

บทอธิษฐานจิต เพื่อทำความเพียร

รูปภาพ
สวัสดีครับคุณผู้ชมคุณผู้ฟังทุกท่าน ที่ติดตามรับชมภูริฟิล์ม ธรรมะ ๑ นาที คลิบนี้เสนอตอน บทอธิษฐานจิต เพื่อทำความเพียร พระพุทธเจ้าท่านตรัสว่า... ภิกษุ ทั้งหลาย.! เรายังรู้สึกได้อยู่ซึ่งธรรม ๒ อย่าง คือ ความไม่รู้จักอิ่มจักพอ (สันโดษ) ในกุศลธรรมทั้งหลาย และความเป็นผู้ไม่ถอยกลับ (อัปปฏิวานี) ในการทำความเพียร. ภิกษุ ทั้งหลาย.! เราย่อมตั้งไว้ซึ่งความเพียรอันไม่ถอยกลับ (คือ ด้วยการอธิษฐานจิต) ว่า “หนัง เอ็น กระดูก จักเหลืออยู่ เนื้อและเลือดในสรีระ จักเหือดแห้งไปก็ตามที ประโยชน์ใด อันบุคคลจะบรรลุได้ด้วยกำลัง ด้วยความเพียร ด้วยความบากบั่น ของบุรุษ ถ้ายังไม่บรรลุประโยชน์นั้นแล้ว จักหยุดความเพียรเสีย เป็นไม่มี ” ดังนี้. ภิกษุ ทั้งหลาย.! การตรัสรู้เป็นสิ่งที่เราถึงทับแล้ว ด้วยความไม่ประมาท อนุตตรโยคักเขมธรรม ก็เป็นสิ่งที่เรา ถึงทับแล้วด้วยความไม่ประมาท. ภิกษุ ทั้งหลาย.! ถ้าแม้ พวกเธอ พึงตั้งไว้ ซึ่งความเพียรอันไม่ถอยกลับ (คือ ด้วยการอธิษฐานจิต) ว่า “หนัง เอ็น กระดูก จักเหลืออยู่ เนื้อและเลือดในสรีระจักเหือดแห้งไปก็ตามที ประโยชน์ใด อันบุคคลจะบรรลุได้ด้วยกำลัง ด้ว

ผู้ปฏิบัติเพื่อประโยชน์ตน และเพื่อประโยชน์ผู้อื่น

รูปภาพ
สวัสดีครับคุณผู้ชมคุณผู้ฟังทุกท่าน ที่ติดตามรับชมภูริฟิล์ม ธรรมะ ๑ นาที คลิบนี้เสนอตอน ผู้ปฏิบัติเพื่อประโยชน์ตน และเพื่อประโยชน์ผู้อื่นฯ พระพุทธเจ้าท่านตรัสว่า... [๑๑๖] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ สวนมะม่วง ของหมอชีวก ใกล้พระนครราชคฤห์ ครั้งนั้น หมอชีวกโกมารภัจจ์ เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาค ถึงที่ประทับ ถวายบังคม พระผู้มีพระภาคแล้ว นั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้วได้ทูลถาม พระผู้มีพระภาคว่า (คำถามที่ ๑) ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ด้วยเหตุมีประมาณเท่าไรหนอ บุคคลชื่อว่าเป็น อุบาสก พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรชีวก เมื่อใดแล บุคคลถึง พระพุทธเจ้า ถึงพระธรรม ถึงพระสงฆ์ ว่าเป็นสรณะ ด้วยเหตุมีประมาณเท่านี้แล ชื่อว่าเป็น อุบาสกฯ (คำถามที่ ๒) ช. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ด้วยเหตุมีประมาณเท่าไร อุบาสก ชื่อว่า เป็นผู้มีศีลฯ พระผู้มีพระภาคตรัสว่า พ. ดูกรชีวก เมื่อใดแล อุบาสก งดเว้นจากปาณาติบาต งดเว้นจากอทินนาทาน งดเว้นจากกาเมสุมิจฉาจาร งดเว้นจากมุสาวาท งดเว้นจากการดื่มน้ำเมา คือ สุราและเมรัย อันเป็นที่ตั้งแห่งความประมาท ด้วยเหตุมีประมาณเท่าน

ฤทธิเดชของลาภสักการะ

รูปภาพ
สวัสดีครับคุณผู้ชมคุณผู้ฟังทุกท่าน ที่ติดตามรับชมภูริฟิล์ม ธรรมะ ๑ นาที คลิบนี้เสนอตอน ฤทธิเดชของลาภสักการะ พระพุทธเจ้าท่านตรัสว่า... ภิกษุ ท.! ลาภสักการะ และเสียงเยินยอ เป็นอันตรายที่ทารุณแสบเผ็ด หยาบคาย ต่อการบรรลุพระนิพพาน อันเป็นธรรมเกษมจากโยคะ ไม่มีธรรม อื่นยิ่งกว่า. ภิกษุ ท.! สมณพราหณ์พวกใด ไม่รู้จักความยวนใจ ไม่รู้จักโทษ อันตํ่าทราม ไม่รู้จัก อุบายเป็นทางพ้น ในกรณีอันเกี่ยวกับลาภสักการะ และเสียงเยินยอ ตรงตามที่เป็นจริง สมณพราหมณ์พวกนั้น จะกระทำให้แจ้งด้วยปัญญาอันยิ่งเอง แล้วเข้าถึงความสงบอยู่หาได้ไม่. ภิกษุ ท.! สมณพราหมณ์พวกใด ไม่รู้จักมูลฐานเป็นที่ตั้งขึ้น ไม่รู้จักความดับสนิท ไม่รู้จักความยวนใจ ไม่รู้จักโทษอันตํ่าทราม ไม่รู้จักอุบายเป็นทางพ้น ในกรณีอันเกี่ยวกับลาภสักการะ และเสียงเยินยอ ตรงตามที่เป็นจริง สมณพราหมณ์พวกนั้น จะกระทำให้แจ้งด้วยปัญญาอันยิ่งเอง แล้วเข้าถึงความสงบอยู่หาได้ไม่. ภิกษุท.! สมณพราหมณ์พวกใด ไม่รู้จักลาภสักการะและเสียงเยินยอ ไม่รู้จักมูลฐาน เป็นที่ตั้งขึ้น แห่งลาภสักการะและเสียงเยินยอ ไม่รู้จักความดับสนิท แห่งลาภ

ความเป็นทุกข์ ๓ ประการ

รูปภาพ
สวัสดีครับคุณผู้ชมคุณผู้ฟังทุกท่าน ที่ติดตามรับชมภูริฟิล์ม ธรรมะ ๑ นาที คลิบนี้เสนอตอน ความเป็นทุกข์ ๓ ประการ พระพุทธเจ้าท่านตรัสว่า... [๓๑๙] สาวัตถีนิทาน. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ความเป็นทุกข์ ๓ อย่างนี้ ๓ อย่างเป็นไฉน? คือ ๑. ความเป็นทุกข์ เกิดจาก ความไม่สบายกาย ๑ คือ (ไม่สบายในรูปหรือกาย เช่น ร้อนไป หนาวไป) ๒. ความเป็นทุกข์ เกิดจากสังขาร ๑ คือ (จิตปรุงแต่ง ทุกข์ใจ กลุ้มใจ) ๓. ความเป็นทุกข์ เกิดจากความแปรปรวน ๑ คือ (แปรปรวนของรูป หรือกาย เช่นแก่ลง ผมหงอก เป็นต้น) ดูกรภิกษุทั้งหลาย ความเป็นทุกข์ ๓ อย่างนี้แล. [๓๒๐] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุควรเจริญอริยมรรค อันประกอบด้วยองค์ ๘ เพื่อรู้ยิ่ง เพื่อกำหนดรู้ เพื่อความสิ้นไป เพื่อละความเป็นทุกข์ ๓ อย่างนี้แล ฯลฯ ภิกษุควรเจริญอริยมรรค อันประกอบด้วยองค์ ๘ นี้ ฯลฯ (พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๙ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๑ สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค) พึ่งตนพึ่งธรรม นำชีวิตออกจากทุกข์ ขออนุโมทนาบุญกับทุกท่าน ที่มีส่วนร่วมในการจัดทำคลิบนี้ และรับชมคลิบนี้ สาธุครับ

เครื่องกั้น ขัดขวาง เพื่อไม่ให้บรรลุความดี (นิวรณ์)

รูปภาพ
สวัสดีครับคุณผู้ชมคุณผู้ฟังทุกท่าน ที่ติดตามรับชมภูริฟิล์ม ธรรมะ ๑ นาที คลิบนี้เสนอตอน นิวรณ์ เครื่องกั้น ขัดขวาง เพื่อไม่ให้บรรลุความดี พระพุทธเจ้าท่านตรัสว่า... นิวรณ์ แปลว่า เครื่องกั้น อันหมายถึงธรรม ที่เป็นเครื่องปิดกั้น หรือขัดขวางไม่ให้บรรลุความดี ไม่เปิดโอกาสให้ทำความดี และเป็นเครื่องกั้นความดีไว้ ไม่ให้เข้าถึงจิต เป็นอุปสรรคสำคัญ ที่ทำให้ผู้ปฏิบัติบรรลุธรรมไม่ได้ หรือทำให้เลิกล้มความตั้งใจปฏิบัติไป ซึ่งนิวรณ์ มี 5 อย่าง คือ * 1) กามฉันทะ - ความพอใจ ติดใจ หลงใหลใฝ่ฝัน ในกามโลกีย์ทั้งปวง ดุจคนหลับอยู่ 2) พยาบาท - ความไม่พอใจ จากความไม่ได้สมดังปรารถนา ในโลกียะสมบัติทั้งปวง ดุจคนถูกทัณท์ ทรมานอยู่ 3) ถีนมิทธะ - ความขี้เกียจ ท้อแท้ อ่อนแอ หมดอาลัย ไร้กำลังทั้งกายใจ ไม่ฮึกเหิม 4) อุทธัจจะกุกกุจจะ - ความคิดซัดส่าย ตลอดเวลา ไม่สงบนิ่งอยู่ในความคิดใดๆ 5) วิจิกิจฉา - ความไม่แน่ใจ ลังเลใจ สงสัย กังวล กล้าๆ กลัวๆ ไม่เต็มที่ ไม่มั่นใจ ซึ่งนิวรณ์ 5 ประการนี้เอง ที่เป็นเครื่องปิดกั้น หรือขัดขวางไม่ให้บรรลุความดี ไม่เปิดโอกาสให้ทำความดี และ

สิ่งที่ควรทำ และไม่ควรทำ (กุศลกรรมบถ ๑๐, อกุศลกรรมบถ ๑๐)

รูปภาพ
สวัสดีครับคุณผู้ชมคุณผู้ฟังทุกท่าน ที่ติดตามรับชมภูริฟิล์ม ธรรมะ ๑ นาที คลิบนี้เสนอตอน กุศลกรรมบถ ๑๐ และอกุศลกรรมบถ ๑๐ พระพุทธเจ้าท่านตรัสว่า... กุศลกรรมบถ ๑๐ เป็นเหตุให้ เทวดาปรากฏ เป็นเหตุให้ มนุษย์ปรากฏ สุคติใดๆ แม้อื่นอีก ย่อมมี ซึ่งแบ่งออกเป็น กายกรรม ๓ ประการ คือ ๑. ไม่ฆ่า หรือทำลายชีวิตผู้อื่น ๒. ไม่ลักขโมย ไม่เอาทรัพย์ของผู้อื่น มาเป็นของตน ๓. ไม่ประพฤติผิดในกาม ส่วนวจีกรรม(หรือสัมมาวาจา) มี ๔ ประการ คือ ๔. ไม่พูดเท็จ ๕. ไม่พูดส่อเสียด ๖. ไม่พูดคำหยาบคาย ๗. ไม่พูดเพ้อเจ้อ ส่วนมโนกรรม ๓ ประการ คือ ๘. ไม่โลภอยากได้ของคนอื่น ๙. ไม่คิดพยาบาทปองร้ายผู้อื่น ๑๐. เห็นชอบตามคลองธรรม ส่วนอกุศลกรรมบถ ๑๐ เป็นเหตให้นรกปรากฏ กำเนิดเดรัจฉานย่อมปรากฏ เปรตวิสัยย่อมปรากฏ ทุคติใดๆ แม้อื่นอีก ย่อมมี ซึ่งกายกรรมมี ๓ ประการ คือ ๑. ฆ่า หรือทำลายชีวิตผู้อื่น ๒. ลักขโมย เอาทรัพย์ของผู้อื่นมาเป็นของตน ๓. ประพฤติผิดในกาม ส่วนวจีกรรมมี ๔ ประการ (หรือมิจฉาวาจา) คือ ๔. พูดเท็จ ๕. พูดส่อเสียด ๖. พูดคำหยาบคาย ๗. พูดเพ้อเจ้

คุณและโทษของวิญญาณ

รูปภาพ
สวัสดีครับคุณผู้ชมคุณผู้ฟังทุกท่าน ที่ติดตามรับชมภูริฟิล์ม ธรรมะ ๑ นาที คลิบนี้เสนอตอน คุณและโทษของวิญญาณ พระพุทธเจ้าท่านตรัสว่า... ภิกษุทั้งหลาย สุขโสมนัสใดๆ อาศัยวิญญาณเกิดขึ้น นี้เป็นคุณแห่งวิญญาณ (อัสสาทะ) วิญญาณไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา นี้เป็นโทษแห่งวิญญาณ (อาทีนวะ) การกำจัดฉันทราคะ การละฉันทราคะในวิญญาณ นี้เป็นอุบายเครื่องสลัดออก แห่งวิญญาณ (นิสสรณะ). พึ่งตนพึ่งธรรม นำชีวิตออกจากทุกข์ ขออนุโมทนาบุญกับทุกท่าน ที่มีส่วนร่วมในการจัดทำคลิบนี้ และรับชมคลิบนี้ สาธุครับ

สมาธิ มี ๙ ระดับ ตามเห็นการดับของขันธ์ ๕

รูปภาพ
สวัสดีครับคุณผู้ชมคุณผู้ฟังทุกท่าน ที่ติดตามรับชมภูริฟิล์ม ธรรมะ ๑ นาที คลิบนี้เสนอตอน สมาธิ มี ๙ ระดับ ตามเห็นการดับของขันธ์ ๕ พระพุทธเจ้าท่านตรัสว่า... สมาธิ มี ๙ ระดับ คือ รูปสัญญามี ๔ ระดับ อันได้แก่ ๑. ปฐมฌาน (กามสัญญาดับ) ๒. ทุติยฌาน (วิตกวิจารดับ) ๓. ตติยฌาน (ปีติดับ) ๔. จตุตถฌาน (ลมอัสสาสะ ปัสสาสะดับ (คือ สุขในสมาธิดับ นั่นเอง ส่วนอรูปสัญญามี ๔ ระดับ คือ ๕. อากาสานัญจายตนะ (รูปสัญญาดับ) ๖. วิญญาณัญจายตนะ (อากาสานัญจายตนะดับ) ๗. อากิญจัญญายตนะ (วิญญาณัญจายตนะดับ) ๘. เนวสัญญานาสัญญายตนะ (อากิญจัญญายตนะดับ) และสมาธิระดับ ๙. สัญญาเวทยิตนิโรธ (สัญญาและเวทนาดับ) ซึ่งหากทำสมาธิแล้ว ตามเห็นการดับของขันธ์ ๕ ตายไปจะเป็นเทวดาชั้นอริยบุคคล และจะปรินิพพาน ในภพนั้น แต่ถ้าทำสมาธิ ไม่เห็นการเกิดดับ ตายไปจะเป็นเทวดาชั้นปุถุชน คือ ยังไม่พ้น นรก กำเนิดดิรัจฉาน และเปรตวิสัย พึ่งตนพึ่งธรรม นำชีวิตออกจากทุกข์ ขออนุโมทนาบุญกับทุกท่าน ที่มีส่วนร่วมในการจัดทำคลิบนี้ และรับชมคลิบนี้ สาธุครับ

ผู้เชื่อฟังพระตถาคต จะได้รับประโยชน์สุข สิ้นกาลนาน

รูปภาพ
สวัสดีครับคุณผู้ชมคุณผู้ฟังทุกท่าน ที่ติดตามรับชมภูริฟิล์ม ธรรมะ ๑ นาที คลิบนี้เสนอตอน ผู้เชื่อฟังพระตถาคต จะได้รับประโยชน์สุข สิ้นกาลนาน พระพุทธเจ้าท่านตรัสว่า... ภิกษุ ท.! เราแล เป็นผู้ฉลาดในเรื่องโลกนี้ ฉลาดในเรื่องโลกอื่น เป็นผู้ฉลาดต่อวัฎฎะ อันเป็นที่อยู่ของมาร ฉลาดต่อวิวัฎฎะ อันไม่เป็นที่อยู่ของมาร เป็นผู้ฉลาดต่อวัฎฎะ อันเป็นที่อยู่ของมฤตยู ฉลาดต่อวิวัฎฎะ อันไม่เป็นทีอยู่ของมฤตยู. ชนเหล่าใด ถือว่าเรื่องนี้ ควรฟัง ควรเชื่อ ข้อนั้น จักเป็นไปเพื่อประโยชน์เกื้อกูล เพื่อความสุข แก่ชนทั้งหลายเหล่านั้น สิ้นกาลนาน (ครั้นพระผู้มีพระภาคได้ตรัสคํานี้แล้ว พระสุคตได้ตรัสคําอื่น อีกดังนี้ว่า) ทั้งโลกนี้ แลโลกอื่น ตถาคตผู้ทราบดีอยู่ ได้ประกาศไว้ชัดแจ้งแล้ว. ทั้งที่ที่มาร ไปไม่ถึง และที่ที่มฤตยูไปไม่ถึง ตถาคตผู้รู้ชัด เข้าใจชัด ได้ประกาศไว้ชัดแจ้งแล้ว เพราะความรู้โลกทั้งปวง. ประตูนคร แห่งความไม่ตาย ตถาคตเปิดโล่งไว้แล้ว เพื่อสัตว์ทั้งหลาย เข้าถึงถิ่นอันเกษม กระแสแห่งมารผู้มีบาป ตถาคตปิดกั้นเสียแล้ว กำจัดเสียแล้ว ทำให้หมด พิษสงแล้ว พึ่งตนพึ

พระตถาคตเกิดขึ้น แสดงธรรม เพื่อความรำงับ ดับ รู้

รูปภาพ
สวัสดีครับคุณผู้ชมคุณผู้ฟังทุกท่าน ที่ติดตามรับชมภูริฟิล์ม ธรรมะ ๑ นาที คลิบนี้เสนอตอน พระตถาคตเกิดขึ้นนี้ แสดงธรรม เพื่อความรำงับ ดับ รู้. พระพุทธเจ้าท่านตรัสว่า... ภิกษุ ท.! ตถาคตเกิดขึ้นแล้วในโลกนี้ เป็นพระอรหันต์ ผู้ตรัสรู้ชอบด้วยตนเอง  สมบูรณ์ด้วยวิชชา และจรณะ ดำเนินไปดี รู้แจ้งโลก เป็นสารถี ฝึกคนควรฝึก ไม่มีใครยิ่งกว่า เป็นครูของเทวดาและมนุษย์ เป็นผู้เบิกบาน แล้วจำแนกธรรมออกสั่งสอนสัตว์. ธรรมที่ตถาคตแสดงนั้น เป็นธรรม ที่เป็นไปเพื่อ ความสงบ รำงับ เป็นธรรม ที่เป็นไปเพื่อ ความดับ เย็นสนิท เป็นธรรม ที่เป็นไปเพื่อ ความรู้ ครบถ้วน เป็นธรรม ที่ประกาศไว้ โดยพระสุคต. พึ่งตนพึ่งธรรม นำชีวิตออกจากทุกข์ ขออนุโมทนาบุญกับทุกท่าน ที่มีส่วนร่วมในการจัดทำคลิบนี้ และรับชมคลิบนี้ สาธุครับ

บุคคล ๙ จำพวก ที่ควรคำนับ ควรทำบุญ เป็นผู้ควรกระทำอัญชลี เป็นนาบุญของโลก

รูปภาพ
สวัสดีครับคุณผู้ชมคุณผู้ฟังทุกท่าน ที่ติดตามรับชมภูริฟิล์ม ธรรมะ ๑ นาที คลิบนี้เสนอตอน บุคคล ๙ จำพวก ที่ควรคำนับ ควรทำบุญ เป็นผู้ควรกระทำอัญชลี เป็นนาบุญของโลก พระพุทธเจ้าท่านตรัสว่า... [๒๑๔] ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคล ๙ จำพวกนี้ เป็นผู้ควรของคำนับ เป็นผู้ควรของต้อนรับ เป็นผู้ควรของทำบุญ เป็นผู้ควรกระทำอัญชลี เป็นนาบุญของโลก ไม่มีนาบุญอื่น ยิ่งกว่า ๙ จำพวกเป็นไฉน คือ พระอรหันต์ ๑ ท่านผู้ปฏิบัติ เพื่อความเป็นพระอรหันต์ ๑ พระอนาคามี ๑ ท่านผู้ปฏิบัติ เพื่อกระทำให้แจ้ง ซึ่งอนาคามิผล ๑ พระสกทาคามี ๑ ท่านผู้ปฏิบัติ เพื่อกระทำให้แจ้ง ซึ่งสกทาคามิผล ๑ พระโสดาบัน ๑ ท่านผู้ปฏิบัติ เพื่อกระทำให้แจ้ง ซึ่งโสดาปัตติผล ๑ และ คตรภูบุคคล ๑ (ซึ่งโคตรภูบุคคล ก็คือ ผู้กำลังก้าวล่วงพ้น ความเป็นปุถุชน และกำลังเข้าสู่ ความเป็นอริยะบุคคล) ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคล ๙ จำพวกเหล่านี้แล เป็นผู้ควรของคำนับ ฯลฯ เป็นผู้ควรของต้อนรับ เป็นผู้ควรของทำบุญ เป็นผู้ควรกระทำอัญชลี เป็นนาบุญของโลก ไม่มีนาบุญอื่นยิ่งกว่า จบสูตรที่ ๑๐ พระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๓

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

ความเข้าใจผิดในเรื่องกรรม มิจฉาทิฏฐิเรื่องกรรม ๔ แบบ

ความหมายของคำว่า "สัตว์" ที่พระพุทธเจ้าท่านเรียกว่า ผู้มีอวิชชา หรือผู้หลง

เต่าตาบอด โอกาสในการเกิดเป็นมนุษย์นั้นยาก

การทำงานของจิต ที่มีรูป เวทนา สัญญา สังขาร เป็นอารมณ์

ฐานะ ๕ ประการ ที่ใครๆ ไม่อาจได้ตามปรารถนา

เจริญสมาธิ ได้ชื่อว่ากำลังโน้มเอียงไปสู่นิพพาน

พระตถาคตเกิดขึ้น แสดงธรรม เพื่อความรำงับ ดับ รู้

รักใครชอบใคร จงสงเคราะห์ด้วยการให้รู้อริยสัจ ๔

ทิ้งเสียนั่นแหละ กลับจะเป็นประโยชน์

ฤกษ์ดี มงคลดี สว่างดี รุ่งดี ขณะดี ยามดี ตามคำสอนพระพุทธเจ้า