บทความ

กำลังแสดงโพสต์ที่มีป้ายกำกับ ศีล

สังสารวัฏนี้ หาที่สุดเบื้องต้น เบื้องปลายไม่ได้

รูปภาพ
สวัสดีครับคุณผู้ชมคุณผู้ฟังทุกท่าน ที่ติดตามรับชมภูริฟิล์ม ธรรมะ ๑ นาที คลิบนี้เสนอตอน สังสารวัฏนี้ หาที่สุดเบื้องต้น เบื้องปลายไม่ได้ พระพุทธเจ้าท่านตรัสว่า... ดูกรภิกษุทั้งหลาย สงสารนี้ กำหนดที่สุดเบื้องต้น เบื้องปลายไม่ได้ เมื่อเหล่าสัตว์ผู้มีอวิชชาเป็นที่กางกั้น มีตัณหาเป็นเครื่องประกอบไว้ ท่องเที่ยวไปมาอยู่ ที่สุดเบื้องต้นย่อมไม่ปรากฏฯ ดูกรภิกษุทั้งหลาย เหมือนอย่างว่า บุรุษตัดทอนหญ้า ไม้กิ่ง ไม้ใบ ไม้ในชมพูทวีปนี้ แล้วจึงรวมกันไว้ ครั้นแล้ว พึงกระทำให้เป็นมัดๆ ละ ๔ นิ้ว วางไว้ สมมติว่า นี้เป็นมารดาของเรา นี้เป็นมารดาของมารดาของเรา โดยลำดับมารดาของมารดาแห่งบุรุษนั้น ไม่พึงสิ้นสุด ส่วนว่า หญ้า ไม้กิ่ง ไม้ใบ ไม้ในชมพูทวีปนี้ พึงถึงการหมดสิ้นไป. พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๖ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๘ สังยุตตนิกาย นิทานวรรค อนมตัคคสังยุตต์ ปฐมวรรคที่ ๑ พึ่งตนพึ่งธรรม นำชีวิตออกจากทุกข์ ขออนุโมทนาบุญกับทุกท่าน ที่มีส่วนร่วมในการจัดทำคลิบนี้ และรับชมคลิบนี้ สาธุครับ

สิ่งที่ควรทำ และไม่ควรทำ (กุศลกรรมบถ ๑๐, อกุศลกรรมบถ ๑๐)

รูปภาพ
สวัสดีครับคุณผู้ชมคุณผู้ฟังทุกท่าน ที่ติดตามรับชมภูริฟิล์ม ธรรมะ ๑ นาที คลิบนี้เสนอตอน กุศลกรรมบถ ๑๐ และอกุศลกรรมบถ ๑๐ พระพุทธเจ้าท่านตรัสว่า... กุศลกรรมบถ ๑๐ เป็นเหตุให้ เทวดาปรากฏ เป็นเหตุให้ มนุษย์ปรากฏ สุคติใดๆ แม้อื่นอีก ย่อมมี ซึ่งแบ่งออกเป็น กายกรรม ๓ ประการ คือ ๑. ไม่ฆ่า หรือทำลายชีวิตผู้อื่น ๒. ไม่ลักขโมย ไม่เอาทรัพย์ของผู้อื่น มาเป็นของตน ๓. ไม่ประพฤติผิดในกาม ส่วนวจีกรรม(หรือสัมมาวาจา) มี ๔ ประการ คือ ๔. ไม่พูดเท็จ ๕. ไม่พูดส่อเสียด ๖. ไม่พูดคำหยาบคาย ๗. ไม่พูดเพ้อเจ้อ ส่วนมโนกรรม ๓ ประการ คือ ๘. ไม่โลภอยากได้ของคนอื่น ๙. ไม่คิดพยาบาทปองร้ายผู้อื่น ๑๐. เห็นชอบตามคลองธรรม ส่วนอกุศลกรรมบถ ๑๐ เป็นเหตให้นรกปรากฏ กำเนิดเดรัจฉานย่อมปรากฏ เปรตวิสัยย่อมปรากฏ ทุคติใดๆ แม้อื่นอีก ย่อมมี ซึ่งกายกรรมมี ๓ ประการ คือ ๑. ฆ่า หรือทำลายชีวิตผู้อื่น ๒. ลักขโมย เอาทรัพย์ของผู้อื่นมาเป็นของตน ๓. ประพฤติผิดในกาม ส่วนวจีกรรมมี ๔ ประการ (หรือมิจฉาวาจา) คือ ๔. พูดเท็จ ๕. พูดส่อเสียด ๖. พูดคำหยาบคาย ๗. พูดเพ้อเจ้

อานิสงส์ของผู้มีกายสุจริต วจีสุจริต มโนสุจริต

รูปภาพ
สวัสดีครับคุณผู้ชมคุณผู้ฟังทุกท่าน ที่ติดตามรับชมภูริฟิล์ม ธรรมะ ๑ นาที คลิบนี้เสนอตอน อานิสงส์ของผู้มีกายสุจริต วจีสุจริต และมโนสุจริต พระพุทธเจ้าท่านตรัสว่า... พ. ดูกรอานนท์ เมื่อบุคคลทำกายสุจริต วจีสุจริต มโนสุจริต ที่เรากล่าวว่า เป็นกิจควรทำโดยส่วนเดียว อานิสงส์อย่างนี้ อันผู้นั้นพึงหวังได้ คือ ๑. แม้ตน ก็ติเตียนตนเองไม่ได้ ๒. ผู้รู้ ใคร่ครวญแล้ว ย่อมสรรเสริญ ๓. กิตติศัพท์อันดี ย่อมกระฉ่อนไป ๔. ไม่เป็นคนหลงทำกาละ ๕. เมื่อแตกกาย ตายไป ย่อมเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์ฯ ดูกรอานนท์ เมื่อบุคคลทำกายสุจริต วจีสุจริต มโนสุจริต ที่เรากล่าวว่าเป็นกิจควรทำโดยส่วนเดียว อานิสงส์อย่างนี้ อันผู้นั้นพึงหวังได้ฯ - ฉบับหลวง ๒๐/๕๕/๒๖๔ พึ่งตนพึ่งธรรม นำชีวิตออกจากทุกข์ ขออนุโมทนาบุญกับทุกท่าน ที่มีส่วนร่วมในการจัดทำคลิบนี้ และรับชมคลิบนี้ สาธุครับ

ศีล (กู้หนี้) สมาธิ (ใช้หนี้)

รูปภาพ
สวัสดีครับคุณผู้ชมคุณผู้ฟังทุกท่าน ที่ติดตามรับชมภูริฟิล์ม ธรรมะ ๑ นาที คลิบนี้เสนอตอน ศีล กับ สมาธิ (หรือการกู้หนี้ กับ การใช้หนี้) พระพุทธเจ้าท่านตรัสว่า การทำผิดศีล เท่ากับ กู้หนี้ และความกังวลใจ ในขณะนั่งสมาธิ เท่ากับใช้หนี้ ซึ่งความกังวล ก็คือ เพื่อนสอง หรือที่เรียกว่า (วิปัติศาน บริโภชกังวล) ดังนั้น ก ารรักษาศีล จึงมีความจำเป็น ทำให้ไม่มีความกังวลใจ ในขณะนั่งสมาธิ ไม่ว่าจะอยู่ป่า หรือวิเวก และถ้าทำศีลให้บริสุทธิ์ ไม่กังวล ปิติก็จะเกิดง่าย ความสุขก็เกิดง่าย กลับมาพบกับธรรมะ ๑ นาที ได้ใหม่ในคลิบหน้า สำหรับคลิบนี้อนุโมทนาบุญครับ

รักใครชอบใคร จงสงเคราะห์ด้วยการให้รู้อริยสัจ ๔

รูปภาพ
สวัสดีครับคุณผู้ชมคุณผู้ฟังทุกท่าน ที่ติดตามรับชมภูริฟิล์ม ธรรมะ ๑ นาที คลิบนี้เสนอตอน รักใครชอบใคร จงสงเคราะห์ผู้อื่นด้วยการให้รู้อริยสัจ พระพุทธเจ้าท่านตรัสว่า จงสงเคราะห์ผู้อื่นด้วยการให้รู้อริยสัจ ภิกษุ ทั้งหลาย.! พวกเธอเอ็นดูใคร และใครถือว่าเธอ เป็นผู้ที่เขาควรเชื่อฟัง เขาจะเป็นมิตรก็ตาม อำมาตย์ก็ตาม ญาติหรือสายโลหิตก็ตาม ชนเหล่านั้น อันเธอพึงชักชวนให้เข้าไปตั้งมั่น ในความจริงอันประเสริฐ สี่ประการ ด้วยปัญญา อันรู้ เฉพาะตามที่เป็นจริง ความจริงอันประเสริฐ สี่ประการอะไรเล่า? สี่ประการคือ ๑. ความจริงอันประเสริฐ คือ ทุกข์ ๒. ความจริงอันประเสริฐ คือ เหตุให้เกิดแห่งทุกข์ ๓. ความจริงอันประเสริฐ คือ ความดับไม่เหลือแห่งทุกข์ และ ๔. ความจริงอันประเสริฐคือ ทางดำเนินให้ถึงความดับไม่เหลือแห่งทุกข์. ภิกษุ ทั้งหลาย.! เพราะเหตุนั้นในเรื่องนี้ เธอพึงประกอบโยคกรรม อันเป็นเครื่อง กระทำให้รู้ว่า “ทุกข์ เป็นอย่างนี้ เหตุให้เกิดขึ้นแห่งทุกข์ เป็นอย่างนี้ ความดับไม่เหลือแห่งทุกข์ เป็นอย่างนี้ ทางดำเนินให้ถึงความดับ ไม่เหลือแห่งทุกข์ เป็นอย่างนี้” ดังน

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

ความเข้าใจผิดในเรื่องกรรม มิจฉาทิฏฐิเรื่องกรรม ๔ แบบ

ความหมายของคำว่า "สัตว์" ที่พระพุทธเจ้าท่านเรียกว่า ผู้มีอวิชชา หรือผู้หลง

เต่าตาบอด โอกาสในการเกิดเป็นมนุษย์นั้นยาก

การทำงานของจิต ที่มีรูป เวทนา สัญญา สังขาร เป็นอารมณ์

ฐานะ ๕ ประการ ที่ใครๆ ไม่อาจได้ตามปรารถนา

เจริญสมาธิ ได้ชื่อว่ากำลังโน้มเอียงไปสู่นิพพาน

พระตถาคตเกิดขึ้น แสดงธรรม เพื่อความรำงับ ดับ รู้

รักใครชอบใคร จงสงเคราะห์ด้วยการให้รู้อริยสัจ ๔

ทิ้งเสียนั่นแหละ กลับจะเป็นประโยชน์

ฤกษ์ดี มงคลดี สว่างดี รุ่งดี ขณะดี ยามดี ตามคำสอนพระพุทธเจ้า