บทความ

กำลังแสดงโพสต์ที่มีป้ายกำกับ สัชฌายะ

สังสารวัฏนี้ หาที่สุดเบื้องต้น เบื้องปลายไม่ได้

รูปภาพ
สวัสดีครับคุณผู้ชมคุณผู้ฟังทุกท่าน ที่ติดตามรับชมภูริฟิล์ม ธรรมะ ๑ นาที คลิบนี้เสนอตอน สังสารวัฏนี้ หาที่สุดเบื้องต้น เบื้องปลายไม่ได้ พระพุทธเจ้าท่านตรัสว่า... ดูกรภิกษุทั้งหลาย สงสารนี้ กำหนดที่สุดเบื้องต้น เบื้องปลายไม่ได้ เมื่อเหล่าสัตว์ผู้มีอวิชชาเป็นที่กางกั้น มีตัณหาเป็นเครื่องประกอบไว้ ท่องเที่ยวไปมาอยู่ ที่สุดเบื้องต้นย่อมไม่ปรากฏฯ ดูกรภิกษุทั้งหลาย เหมือนอย่างว่า บุรุษตัดทอนหญ้า ไม้กิ่ง ไม้ใบ ไม้ในชมพูทวีปนี้ แล้วจึงรวมกันไว้ ครั้นแล้ว พึงกระทำให้เป็นมัดๆ ละ ๔ นิ้ว วางไว้ สมมติว่า นี้เป็นมารดาของเรา นี้เป็นมารดาของมารดาของเรา โดยลำดับมารดาของมารดาแห่งบุรุษนั้น ไม่พึงสิ้นสุด ส่วนว่า หญ้า ไม้กิ่ง ไม้ใบ ไม้ในชมพูทวีปนี้ พึงถึงการหมดสิ้นไป. พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๖ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๘ สังยุตตนิกาย นิทานวรรค อนมตัคคสังยุตต์ ปฐมวรรคที่ ๑ พึ่งตนพึ่งธรรม นำชีวิตออกจากทุกข์ ขออนุโมทนาบุญกับทุกท่าน ที่มีส่วนร่วมในการจัดทำคลิบนี้ และรับชมคลิบนี้ สาธุครับ

บทอธิษฐานจิต เพื่อทำความเพียร

รูปภาพ
สวัสดีครับคุณผู้ชมคุณผู้ฟังทุกท่าน ที่ติดตามรับชมภูริฟิล์ม ธรรมะ ๑ นาที คลิบนี้เสนอตอน บทอธิษฐานจิต เพื่อทำความเพียร พระพุทธเจ้าท่านตรัสว่า... ภิกษุ ทั้งหลาย.! เรายังรู้สึกได้อยู่ซึ่งธรรม ๒ อย่าง คือ ความไม่รู้จักอิ่มจักพอ (สันโดษ) ในกุศลธรรมทั้งหลาย และความเป็นผู้ไม่ถอยกลับ (อัปปฏิวานี) ในการทำความเพียร. ภิกษุ ทั้งหลาย.! เราย่อมตั้งไว้ซึ่งความเพียรอันไม่ถอยกลับ (คือ ด้วยการอธิษฐานจิต) ว่า “หนัง เอ็น กระดูก จักเหลืออยู่ เนื้อและเลือดในสรีระ จักเหือดแห้งไปก็ตามที ประโยชน์ใด อันบุคคลจะบรรลุได้ด้วยกำลัง ด้วยความเพียร ด้วยความบากบั่น ของบุรุษ ถ้ายังไม่บรรลุประโยชน์นั้นแล้ว จักหยุดความเพียรเสีย เป็นไม่มี ” ดังนี้. ภิกษุ ทั้งหลาย.! การตรัสรู้เป็นสิ่งที่เราถึงทับแล้ว ด้วยความไม่ประมาท อนุตตรโยคักเขมธรรม ก็เป็นสิ่งที่เรา ถึงทับแล้วด้วยความไม่ประมาท. ภิกษุ ทั้งหลาย.! ถ้าแม้ พวกเธอ พึงตั้งไว้ ซึ่งความเพียรอันไม่ถอยกลับ (คือ ด้วยการอธิษฐานจิต) ว่า “หนัง เอ็น กระดูก จักเหลืออยู่ เนื้อและเลือดในสรีระจักเหือดแห้งไปก็ตามที ประโยชน์ใด อันบุคคลจะบรรลุได้ด้วยกำลัง ด้ว

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

ความเข้าใจผิดในเรื่องกรรม มิจฉาทิฏฐิเรื่องกรรม ๔ แบบ

ความหมายของคำว่า "สัตว์" ที่พระพุทธเจ้าท่านเรียกว่า ผู้มีอวิชชา หรือผู้หลง

เต่าตาบอด โอกาสในการเกิดเป็นมนุษย์นั้นยาก

การทำงานของจิต ที่มีรูป เวทนา สัญญา สังขาร เป็นอารมณ์

ฐานะ ๕ ประการ ที่ใครๆ ไม่อาจได้ตามปรารถนา

เจริญสมาธิ ได้ชื่อว่ากำลังโน้มเอียงไปสู่นิพพาน

พระตถาคตเกิดขึ้น แสดงธรรม เพื่อความรำงับ ดับ รู้

รักใครชอบใคร จงสงเคราะห์ด้วยการให้รู้อริยสัจ ๔

ทิ้งเสียนั่นแหละ กลับจะเป็นประโยชน์

ฤกษ์ดี มงคลดี สว่างดี รุ่งดี ขณะดี ยามดี ตามคำสอนพระพุทธเจ้า