บทความ

กำลังแสดงโพสต์ที่มีป้ายกำกับ ความทุกข์

สังสารวัฏนี้ หาที่สุดเบื้องต้น เบื้องปลายไม่ได้

รูปภาพ
สวัสดีครับคุณผู้ชมคุณผู้ฟังทุกท่าน ที่ติดตามรับชมภูริฟิล์ม ธรรมะ ๑ นาที คลิบนี้เสนอตอน สังสารวัฏนี้ หาที่สุดเบื้องต้น เบื้องปลายไม่ได้ พระพุทธเจ้าท่านตรัสว่า... ดูกรภิกษุทั้งหลาย สงสารนี้ กำหนดที่สุดเบื้องต้น เบื้องปลายไม่ได้ เมื่อเหล่าสัตว์ผู้มีอวิชชาเป็นที่กางกั้น มีตัณหาเป็นเครื่องประกอบไว้ ท่องเที่ยวไปมาอยู่ ที่สุดเบื้องต้นย่อมไม่ปรากฏฯ ดูกรภิกษุทั้งหลาย เหมือนอย่างว่า บุรุษตัดทอนหญ้า ไม้กิ่ง ไม้ใบ ไม้ในชมพูทวีปนี้ แล้วจึงรวมกันไว้ ครั้นแล้ว พึงกระทำให้เป็นมัดๆ ละ ๔ นิ้ว วางไว้ สมมติว่า นี้เป็นมารดาของเรา นี้เป็นมารดาของมารดาของเรา โดยลำดับมารดาของมารดาแห่งบุรุษนั้น ไม่พึงสิ้นสุด ส่วนว่า หญ้า ไม้กิ่ง ไม้ใบ ไม้ในชมพูทวีปนี้ พึงถึงการหมดสิ้นไป. พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๖ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๘ สังยุตตนิกาย นิทานวรรค อนมตัคคสังยุตต์ ปฐมวรรคที่ ๑ พึ่งตนพึ่งธรรม นำชีวิตออกจากทุกข์ ขออนุโมทนาบุญกับทุกท่าน ที่มีส่วนร่วมในการจัดทำคลิบนี้ และรับชมคลิบนี้ สาธุครับ

เป็นทุกข์ เพราะติดอยู่ในอายตนะ

รูปภาพ
สวัสดีครับคุณผู้ชมคุณผู้ฟังทุกท่าน ที่ติดตามรับชมภูริฟิล์ม ธรรมะ ๑ นาที คลิบนี้เสนอตอน เป็นทุกข์เพราะติดอยู่ในอายตนะ พระพุทธเจ้าท่านตรัสว่า... ภิกษุทั้งหลาย. เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย มีรูปเป็นที่มายินดี ยินดีแล้วในรูป เพลิดเพลินแล้วในรูป. ภิกษุ ท. ! เทวดา และมนุษย์ทั้งหลาย ย่อมอยู่เป็นทุกข์ เพราะความแปรปรวน เสื่อมสลาย และความดับไปของรูป เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย มีเสียงเป็นที่มายินดี ยินดีแล้วในเสียง เพลิดเพลินแล้วในเสียง. ภิกษุ ท. ! เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย ย่อมอยู่เป็นทุกข์ เพราะความแปรปรวน เสื่อมสลาย และความดับไปของเสียง. เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย มีกลิ่นเป็นที่มายินดี ยินดีแล้วในกลิ่น เพลิดเพลินแล้วในกลิ่น. ภิกษุ ท. ! เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย ย่อมอยู่เป็นทุกข์ เพราะความแปรปรวน เสื่อมสลาย และความดับไปของกลิ่น. เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย มีรสเป็นที่มายินดี ยินดีแล้วในรส เพลิดเพลินแล้วในรส. ภิกษุ ท. ! เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย ย่อมอยู่เป็นทุกข์ เพราะความแปรปรวน เสื่อมสลาย และความดับไปของรส. เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย มีโผฏฐัพพะเป็นที่มายินดี ยินดีแล้

เพราะแตกสลาย จึงได้ชื่อว่า “โลก”

รูปภาพ
สวัสดีครับคุณผู้ชมคุณผู้ฟังทุกท่าน ที่ติดตามรับชมภูริฟิล์ม ธรรมะ ๑ นาที คลิบนี้เสนอตอน เพราะแตกสลาย จึงได้ชื่อว่า “โลก” มีผู้ถามพระพุทธเจ้าว่า... ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ที่กล่าวกันว่า โลก โลก ดังนี้ อันว่าโลก มีได้ด้วยเหตุเพียงเท่าไร พระเจ้าข้า พระพุทธเจ้าท่านตรัสว่า... ภิกษุ เพราะจะต้องแตกสลาย เราจึงกล่าวว่าโลก ก็อะไรเล่าจะต้อง แตกสลาย. ภิกษุ จักษุแตกสลาย รูปแตกสลาย จักษุวิญญาณแตกสลาย จักษุสัมผัสแตกสลาย แม้สุขเวทนาก็ดี ทุกขเวทนาก็ดี หรืออะทุกขะมะสุขเวทนา ที่เกิดขึ้น เพราะจักษุ สัมผัส เป็นปัจจัยก็แตกสลาย ภิกษุ โสตะแตกสลาย เสียงแตกสลาย โสตวิญญาณแตกสลาย โสตสัมผัสแตกสลาย แม้สุขเวทนาก็ดี ทุกขเวทนาก็ดี หรืออทุกขมสุขเวทนา ที่เกิดขึ้น เพราะโสตสัมผัส เป็นปัจจัยก็แตกสลาย. ภิกษุ ฆานะแตกสลาย กลิ่นแตกสลาย ฆานวิญญาณแตกสลาย ฆานสัมผัสแตกสลาย แม้สุขเวทนาก็ดี ทุกขเวทนาก็ดี หรืออทุกขมสุขเวทนา ที่เกิดขึ้น เพราะฆานสัมผัสเป็น ปัจจัยก็แตกสลาย. ภิกษุ. ชิวหาแตกสลาย รสแตกสลาย ชิวหาวิญญาณแตกสลาย ชิวหาสัมผัสแตกสลาย แม้สุขเวทนาก็ดี ทุกขเวทนาก็ดี หรืออทุกขมสุขเวทนา

ความเป็นทุกข์ ๓ ประการ

รูปภาพ
สวัสดีครับคุณผู้ชมคุณผู้ฟังทุกท่าน ที่ติดตามรับชมภูริฟิล์ม ธรรมะ ๑ นาที คลิบนี้เสนอตอน ความเป็นทุกข์ ๓ ประการ พระพุทธเจ้าท่านตรัสว่า... [๓๑๙] สาวัตถีนิทาน. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ความเป็นทุกข์ ๓ อย่างนี้ ๓ อย่างเป็นไฉน? คือ ๑. ความเป็นทุกข์ เกิดจาก ความไม่สบายกาย ๑ คือ (ไม่สบายในรูปหรือกาย เช่น ร้อนไป หนาวไป) ๒. ความเป็นทุกข์ เกิดจากสังขาร ๑ คือ (จิตปรุงแต่ง ทุกข์ใจ กลุ้มใจ) ๓. ความเป็นทุกข์ เกิดจากความแปรปรวน ๑ คือ (แปรปรวนของรูป หรือกาย เช่นแก่ลง ผมหงอก เป็นต้น) ดูกรภิกษุทั้งหลาย ความเป็นทุกข์ ๓ อย่างนี้แล. [๓๒๐] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุควรเจริญอริยมรรค อันประกอบด้วยองค์ ๘ เพื่อรู้ยิ่ง เพื่อกำหนดรู้ เพื่อความสิ้นไป เพื่อละความเป็นทุกข์ ๓ อย่างนี้แล ฯลฯ ภิกษุควรเจริญอริยมรรค อันประกอบด้วยองค์ ๘ นี้ ฯลฯ (พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๙ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๑ สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค) พึ่งตนพึ่งธรรม นำชีวิตออกจากทุกข์ ขออนุโมทนาบุญกับทุกท่าน ที่มีส่วนร่วมในการจัดทำคลิบนี้ และรับชมคลิบนี้ สาธุครับ

ความทุกข์ อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา ตามคำสอนพระพุทธเจ้า

รูปภาพ
สวัสดีครับคุณผู้ชมคุณผู้ฟังทุกท่าน ที่ติดตามรับชมภูริฟิล์ม ธรรมะ ๑ นาที คลิบนี้เสนอตอน ความทุกข์ อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา ตามคำสอนพระพุทธเจ้าครับ พระพุทธเจ้าท่านตรัสว่า... สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์ สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นอนัตตา ทุกขเวทนา เวทนาใดๆ เวทนานั้น ถึงการประชุมลงในความทุกข์ ซึ่งเวทนามี ๓ อย่าง คือ ๑. สุขเวทนา สุขก็เดินไปสู่ความทุกข์ และเดินไปสู่ความแตกสลาย แตกดับ ๒. ทุกขเวทนา ก็เดินไปสู่ความทุกข์ และเดินไปสู่ความแตกสลาย แตกดับ ๓. อทุกขมสุข ก็เดินไปสู่ความทุกข์ และเดินไปสู่ความแตกสลาย แตกดับ หรืออุเบกขาก็เป็นทุกข์ และเดินไปสู่ความแตกสลาย แตกดับ ดังนั้น คำว่าทุกข์ หมายถึง การแตกสลาย ทนอยู่สภาพเดิมไม่ได้ ต้องมีการเปลี่ยนแปลง ซึ่งทุกขสัตว์ ในอริยสัจจึงกินความกว้าง สรรพสิ่งใดๆ ที่เป็นรูป และนาม ที่เดินไปสู่การแตกดับ นั่นคือ กองทุกข์ทั้งหมด พระพุทธองค์ท่านจึงบอกว่า ขันธ์ ๕ เป็นทุกข์ ขันธ์ทั้ง ๕ คิอ รูป เวทนา สัญญา สังขาร และวิญญาณ มีการแตกดับ ทั้งหมดจึงเป็นทุกขสัตว์ นี่คือ ทุกข์ในอริยสัจ ๔ และคำว่าทุกข์นี้ ก็มีความหมายซ

ความเกลียดเกิดจากความรัก ว่าด้วยความรัก ๔ แบบ

รูปภาพ
สวัสดีครับคุณผู้ชมคุณผู้ฟังทุกท่าน ที่ติดตามรับชมภูริฟิล์ม ธรรมะ ๑ นาที คลิบนี้เสนอตอน เรื่องความรัก ๔ แบบ ครับ พระพุทธเจ้าท่านได้ตรัส ในเรื่องความรักเอาไว้ ๔ แบบ ซึ่งโดยย่อแล้ว มีใจความว่า... ๑. ความรักเกิดจากความรัก เรารักใคร แล้วมีบุคคลอื่น มากระทำต่อบุคคลนั้น ด้วยความรัก... เราจะรักบุคคลนั้นด้วย ๒. ความเกลียดเกิดจากความรัก เรารักใคร แล้วมีบุคคลอื่น มาแสดงความเกลียดชังต่อบุคคลนั้น... เราจะเกลียดบุคคลนั้น ๓. ความรักเกิดจากความเกลียด เราเกลียดใคร แล้วมีบุคคลอื่น มาแสดงความเกลียดชังต่อบุคคลนั้น.. เราจะรักบุคคลนั้น ๔. ความเกลียดเกิดจากความเกลียด เราเกลียดใคร แล้วมีบุคคลอื่น มาแสดงความรักต่อบุคคลนั้น.. เราจะเกลียดบุคคลนั้น พึ่งตนพึ่งธรรม นำชีวิตออกจากทุกข์ ขออนุโมทนาบุญกับทุกท่าน ที่มีส่วนร่วมในการจัดทำคลิบนี้ และรับชมคลิบนี้ สาธุครับ

สุข ทุกข์ เกิดจากผัสสะ องค์ประกอบของผัสสะ มี ๓ สิ่งเสมอ

รูปภาพ
สวัสดีครับคุณผู้ชมคุณผู้ฟังทุกท่าน ที่ติดตามรับชมภูริฟิล์ม ธรรมะ ๑ นาที คลิบนี้เสนอตอน สุข ทุกข์ เกิดจากสัมผัสหรือผัสสะ ซึ่งองค์ประกอบของผัสสะ ก็มี ๓ สิ่งเสมอ พระพุทธเจ้าท่านตรัสว่า ธรรมอันเป็นเหตุ ที่ทำให้เกิดเวทนา หรือองค์ประกอบของผัสสะ มี ๓ สิ่งเสมอ คือ สัมผัส หรือ ผัสสะนั้น มีหกอย่าง คือ ๑. จักขุสัมผัส หมายถึง ความกระทบทางตา คือ ตา + รูป + จักขุวิญญาณ ๒. โสตสัมผัส หมายถึง ความกระทบทางหู คือ หู + เสียง + โสตวิญญาณ ๓. ฆานสัมผัส หมายถึง ความกระทบทางจมูก คือ จมูก + กลิ่น + ฆานวิญญาณ ๔. ชิวหาสัมผัส หมายถึง ความกระทบทางลิ้น คือ ลิ้น + รส + ชิวหาวิญญาณ ๕. กายสัมผัส หมายถึง ความกระทบทางกาย คือ กาย + โผฏฐัพพะ (เช่น ร้อน เย็น อ่อน แข็ง) + กายวิญญาณ ๖. มโนสัมผัส หมายถึง ความกระทบทางใจ คือ ใจ + ธรรมารมณ์ (คือ สิ่งที่ใจนึกคิด) + มโนวิญญาณ ครับ กลับมาพบกับธรรมะ ๑ นาที ได้ใหม่ในคลิบหน้า สำหรับคลิบนี้อนุโมทนาบุญครับ

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

ความเข้าใจผิดในเรื่องกรรม มิจฉาทิฏฐิเรื่องกรรม ๔ แบบ

ความหมายของคำว่า "สัตว์" ที่พระพุทธเจ้าท่านเรียกว่า ผู้มีอวิชชา หรือผู้หลง

เต่าตาบอด โอกาสในการเกิดเป็นมนุษย์นั้นยาก

การทำงานของจิต ที่มีรูป เวทนา สัญญา สังขาร เป็นอารมณ์

ฐานะ ๕ ประการ ที่ใครๆ ไม่อาจได้ตามปรารถนา

เจริญสมาธิ ได้ชื่อว่ากำลังโน้มเอียงไปสู่นิพพาน

พระตถาคตเกิดขึ้น แสดงธรรม เพื่อความรำงับ ดับ รู้

รักใครชอบใคร จงสงเคราะห์ด้วยการให้รู้อริยสัจ ๔

ทิ้งเสียนั่นแหละ กลับจะเป็นประโยชน์

ฤกษ์ดี มงคลดี สว่างดี รุ่งดี ขณะดี ยามดี ตามคำสอนพระพุทธเจ้า