บทความ

สังสารวัฏนี้ หาที่สุดเบื้องต้น เบื้องปลายไม่ได้

รูปภาพ
สวัสดีครับคุณผู้ชมคุณผู้ฟังทุกท่าน ที่ติดตามรับชมภูริฟิล์ม ธรรมะ ๑ นาที คลิบนี้เสนอตอน สังสารวัฏนี้ หาที่สุดเบื้องต้น เบื้องปลายไม่ได้ พระพุทธเจ้าท่านตรัสว่า... ดูกรภิกษุทั้งหลาย สงสารนี้ กำหนดที่สุดเบื้องต้น เบื้องปลายไม่ได้ เมื่อเหล่าสัตว์ผู้มีอวิชชาเป็นที่กางกั้น มีตัณหาเป็นเครื่องประกอบไว้ ท่องเที่ยวไปมาอยู่ ที่สุดเบื้องต้นย่อมไม่ปรากฏฯ ดูกรภิกษุทั้งหลาย เหมือนอย่างว่า บุรุษตัดทอนหญ้า ไม้กิ่ง ไม้ใบ ไม้ในชมพูทวีปนี้ แล้วจึงรวมกันไว้ ครั้นแล้ว พึงกระทำให้เป็นมัดๆ ละ ๔ นิ้ว วางไว้ สมมติว่า นี้เป็นมารดาของเรา นี้เป็นมารดาของมารดาของเรา โดยลำดับมารดาของมารดาแห่งบุรุษนั้น ไม่พึงสิ้นสุด ส่วนว่า หญ้า ไม้กิ่ง ไม้ใบ ไม้ในชมพูทวีปนี้ พึงถึงการหมดสิ้นไป. พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๖ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๘ สังยุตตนิกาย นิทานวรรค อนมตัคคสังยุตต์ ปฐมวรรคที่ ๑ พึ่งตนพึ่งธรรม นำชีวิตออกจากทุกข์ ขออนุโมทนาบุญกับทุกท่าน ที่มีส่วนร่วมในการจัดทำคลิบนี้ และรับชมคลิบนี้ สาธุครับ

น้ำตาที่เคยไหล น้ำนมที่เคยดื่ม เลือดที่เคยสูญเสีย มากกว่าน้ำในมหาสมุทรทั้ง ๔

รูปภาพ
สวัสดีครับคุณผู้ชมคุณผู้ฟังทุกท่าน ที่ติดตามรับชมภูริฟิล์ม ธรรมะ ๑ นาที คลิบนี้เสนอตอน น้ำตาที่เคยไหล น้ำนมที่เคยดื่ม เลือดที่เคยสูญเสีย มากกว่าน้ำในมหาสมุทรทั้ง ๔ พระพุทธเจ้าท่านตรัสว่า... น้ำตาที่เราเคยหลั่งไหล น้ำนมที่เราเคยดึ่ม เลือดที่เคยสูญเสีย เปรียบกับน้ำในมหาสมุทรทั้ง ๔ แล้ว ไม่มากกว่าเลย ด้วยเหตุว่า สังสารวัฏนั้น กำหนดที่สุด เบื้องต้นไม่ได้ เบื้องปลายไม่ได้ เมื่อเหล่าสัตว์ผู้มีอวิชชาเป็นเครื่องกั้น มีตัณหาเป็นเครื่องผูก ท่องเที่ยวไปมาอยู่เพียงพอหรือยัง ที่เราทั้งหลายจะบอกตนเองว่า ด้วยเหตุเพียงเท่านั้น ก็พอแล้ว เพื่อจะเบื่อหน่ายในสังขารทั้งหลาย พอแล้วที่จะคลายกำหนัด พอแล้วเพื่อจะหลุดพ้น จากสังขารทั้งปวงนี้ พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๖ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๘ สังยุตตนิกาย นิทานวรรค อนมตัคคสังยุตต์ ปฐมวรรคที่ ๑ พึ่งตนพึ่งธรรม นำชีวิตออกจากทุกข์ ขออนุโมทนาบุญกับทุกท่าน ที่มีส่วนร่วมในการจัดทำคลิบนี้ และรับชมคลิบนี้ สาธุครับ

ทิ้งเสียนั่นแหละ กลับจะเป็นประโยชน์

รูปภาพ
สวัสดีครับคุณผู้ชมคุณผู้ฟังทุกท่าน ที่ติดตามรับชมภูริฟิล์ม ธรรมะ ๑ นาที คลิบนี้เสนอตอน ทิ้งเสียนั่นแหละ กลับจะเป็นประโยชน์ พ ระพุทธเจ้าท่านตรัสว่า... ภิกษุทั้งหลาย. สิ่งใดไม่ใช่ของพวกเธอ พวกเธอจงละสิ่งนั้นเสีย. สิ่งนั้นอันพวกเธอละได้แล้ว จักเป็นไปเพื่อประโยชน์เกื้อกูล เพื่อความสุขแก่เธอ ภิกษุทั้งหลาย. อะไรเล่าไม่ใช่ของพวกเธอ ภิกษุทั้งหลาย. ตาไม่ใช่ของพวกเธอ พวกเธอจงละมันเสีย สิ่งนั้นอันพวกเธอละได้แล้ว จักเป็นไปเพื่อประโยชน์เกื้อกูล เพื่อความสุขแก่เธอ ภิกษุทั้งหลาย หูไม่ใช่ของพวกเธอ พวกเธอจงละมันเสีย. สิ่งนั้นอันพวกเธอละได้แล้ว จักเป็นไปเพื่อประโยชน์เกื้อกูล เพื่อความสุขแก่เธอ. ภิกษุทั้งหลาย. จมูกไม่ใช่ของพวกเธอ พวกเธอจงละมันเสีย. สิ่งนั้นอันพวกเธอละได้แล้ว จักเป็นไปเพื่อประโยชน์เกื้อกูล เพื่อความสุขแก่เธอ. ภิกษุทั้งหลาย. ลิ้นไม่ใช่ของพวกเธอ พวกเธอจงละมันเสีย. สิ่งนั้นอันพวกเธอละได้แล้ว จักเป็นไปเพื่อประโยชน์เกื้อกูล เพื่อความสุขแก่เธอ. ภิกษุทั้งหลาย. กายไม่ใช่ของพวกเธอ พวกเธอจงละมันเสีย. สิ่งนั้นอันพวกเธอละได้แล้ว จักเป็นไปเพื่อประโยชน

เป็นทุกข์ เพราะติดอยู่ในอายตนะ

รูปภาพ
สวัสดีครับคุณผู้ชมคุณผู้ฟังทุกท่าน ที่ติดตามรับชมภูริฟิล์ม ธรรมะ ๑ นาที คลิบนี้เสนอตอน เป็นทุกข์เพราะติดอยู่ในอายตนะ พระพุทธเจ้าท่านตรัสว่า... ภิกษุทั้งหลาย. เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย มีรูปเป็นที่มายินดี ยินดีแล้วในรูป เพลิดเพลินแล้วในรูป. ภิกษุ ท. ! เทวดา และมนุษย์ทั้งหลาย ย่อมอยู่เป็นทุกข์ เพราะความแปรปรวน เสื่อมสลาย และความดับไปของรูป เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย มีเสียงเป็นที่มายินดี ยินดีแล้วในเสียง เพลิดเพลินแล้วในเสียง. ภิกษุ ท. ! เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย ย่อมอยู่เป็นทุกข์ เพราะความแปรปรวน เสื่อมสลาย และความดับไปของเสียง. เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย มีกลิ่นเป็นที่มายินดี ยินดีแล้วในกลิ่น เพลิดเพลินแล้วในกลิ่น. ภิกษุ ท. ! เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย ย่อมอยู่เป็นทุกข์ เพราะความแปรปรวน เสื่อมสลาย และความดับไปของกลิ่น. เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย มีรสเป็นที่มายินดี ยินดีแล้วในรส เพลิดเพลินแล้วในรส. ภิกษุ ท. ! เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย ย่อมอยู่เป็นทุกข์ เพราะความแปรปรวน เสื่อมสลาย และความดับไปของรส. เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย มีโผฏฐัพพะเป็นที่มายินดี ยินดีแล้

เพราะแตกสลาย จึงได้ชื่อว่า “โลก”

รูปภาพ
สวัสดีครับคุณผู้ชมคุณผู้ฟังทุกท่าน ที่ติดตามรับชมภูริฟิล์ม ธรรมะ ๑ นาที คลิบนี้เสนอตอน เพราะแตกสลาย จึงได้ชื่อว่า “โลก” มีผู้ถามพระพุทธเจ้าว่า... ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ที่กล่าวกันว่า โลก โลก ดังนี้ อันว่าโลก มีได้ด้วยเหตุเพียงเท่าไร พระเจ้าข้า พระพุทธเจ้าท่านตรัสว่า... ภิกษุ เพราะจะต้องแตกสลาย เราจึงกล่าวว่าโลก ก็อะไรเล่าจะต้อง แตกสลาย. ภิกษุ จักษุแตกสลาย รูปแตกสลาย จักษุวิญญาณแตกสลาย จักษุสัมผัสแตกสลาย แม้สุขเวทนาก็ดี ทุกขเวทนาก็ดี หรืออะทุกขะมะสุขเวทนา ที่เกิดขึ้น เพราะจักษุ สัมผัส เป็นปัจจัยก็แตกสลาย ภิกษุ โสตะแตกสลาย เสียงแตกสลาย โสตวิญญาณแตกสลาย โสตสัมผัสแตกสลาย แม้สุขเวทนาก็ดี ทุกขเวทนาก็ดี หรืออทุกขมสุขเวทนา ที่เกิดขึ้น เพราะโสตสัมผัส เป็นปัจจัยก็แตกสลาย. ภิกษุ ฆานะแตกสลาย กลิ่นแตกสลาย ฆานวิญญาณแตกสลาย ฆานสัมผัสแตกสลาย แม้สุขเวทนาก็ดี ทุกขเวทนาก็ดี หรืออทุกขมสุขเวทนา ที่เกิดขึ้น เพราะฆานสัมผัสเป็น ปัจจัยก็แตกสลาย. ภิกษุ. ชิวหาแตกสลาย รสแตกสลาย ชิวหาวิญญาณแตกสลาย ชิวหาสัมผัสแตกสลาย แม้สุขเวทนาก็ดี ทุกขเวทนาก็ดี หรืออทุกขมสุขเวทนา

เต่าตาบอด โอกาสในการเกิดเป็นมนุษย์นั้นยาก

รูปภาพ
สวัสดีครับคุณผู้ชมคุณผู้ฟังทุกท่าน ที่ติดตามรับชมภูริฟิล์ม ธรรมะ ๑ นาที คลิบนี้เสนอตอน เต่าตาบอด โอกาสในการเกิดเป็นมนุษย์นั้นยาก พระพุทธเจ้าท่านตรัสว่า... ภิกษุทั้งหลาย. เปรียบเหมือนมหาปฐพีอันใหญ่หลวงนี้ มีน้ำท่วมถึงเป็นอันเดียวกันทั้งหมด บุรุษคนหนึ่ง ทิ้งแอก ซึ่งมีรูเจาะเพียงรูเดียวลงไปในน้ำนั้น ลมตะวันออก พัดให้ลอยไปทางทิศตะวันตก ลมตะวันตก พัดให้ลอยไปทาง ทิศตะวันออก ลมเหนือ พัดให้ลอยไปทางทิศใต้ ลมใต้พัดให้ลอยไปทางทิศเหนือ อยู่ดังนี้ ในน้ำนั้น มีเต่าตัวหนึ่งตาบอด ล่วงไปร้อยปีๆ มันจะผุดขึ้นมาสักครั้งหนึ่ง. ภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลาย จะสำคัญความข้อนี้ว่าอย่างไร จะเป็นไปได้ไหม ที่เต่าตาบอด ร้อยปีจึงจะผุดขึ้นสักครั้งหนึ่ง จะพึงยื่นคอเข้าไปในรู ซึ่งมีอยู่เพียงรูเดียว ในแอกนั้น ข้อนี้ยากที่จะเป็นไปได้ พระเจ้าข้า ที่เต่าตาบอดนั้น ร้อยปีผุดขึ้นเพียงครั้งเดียว จะพึงยื่น คอเข้าไปในรู ซึ่งมีอยู่เพียงรูเดียวในแอกนั้น. ภิกษุทั้งหลาย ยากที่จะเป็นไปได้ ฉันเดียวกัน ที่ใครๆ จะพึงได้ความเป็นมนุษย์ ยากที่จะเป็นไปได้ ฉันเดียวกัน ที่ตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธะ จะเกิดขึ

เจริญสมาธิ ได้ชื่อว่ากำลังโน้มเอียงไปสู่นิพพาน

รูปภาพ
สวัสดีครับคุณผู้ชมคุณผู้ฟังทุกท่าน ที่ติดตามรับชมภูริฟิล์ม ธรรมะ ๑ นาที คลิบนี้เสนอตอน เจริญสมาธิ ได้ชื่อว่า กำลังโน้มเอียงไปสู่นิพพาน พระพุทธเจ้าท่านตรัสว่า... ภิกษุทั้งหลาย เปรียบเหมือนแม่น้ำคงคา ไหลไปสู่ทิศปราจีน หลั่งไปสู่ทิศปราจีน บ่าไปสู่ทิศปราจีน ฉันใด ภิกษุเจริญกระทำให้มาก ซึ่งฌานทั้ง ๔ ย่อมเป็นผู้ น้อมไป สู่นิพพาน โน้มไป สู่นิพพาน โอนไป สู่นิพพาน ก็ฉันนั้นเหมือนกัน. ภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุเจริญ กระทำให้มาก ซึ่งฌานทั้ง ๔ อย่างไร ย่อมเป็นผู้ น้อมไปสู่นิพพาน โน้มไปสู่นิพพาน โอนไปสู่นิพพาน. ภิกษุทั้งหลาย. ภิกษุในกรณีนี้ สงัดแล้วจากกาม และจากอกุศลธรรมทั้งหลาย เข้าถึงปฐมฌาน อันมีวิตก วิจาร มีปีติ และสุข อันเกิดจากวิเวกแล้วแลอยู่ เพราะความที่วิตกวิจาร ทั้งสองระงับลง เข้าถึง ทุติยฌาน เป็นเครื่องผ่องใสใจในภายใน ให้สมาธิเป็นธรรมอันเอกผุดมีขึ้น ไม่มีวิตก ไม่มีวิจาร มีแต่ปีติและสุข อันเกิดจากสมาธิ แล้วแลอยู่ เพราะความจางคลายไปแห่งปีติ ย่อมเป็น ผู้อยู่อุเบกขา มีสติและสัมปชัญญะ และย่อมเสวยความสุขด้วยกาย ชนิดที่พระอริยเจ้าทั้งหลาย ย่อมกล่าวสรรเสร

มารผู้ใจบาป กามคุณ ๕

รูปภาพ
สวัสดีครับคุณผู้ชมคุณผู้ฟังทุกท่าน ที่ติดตามรับชมภูริฟิล์ม ธรรมะ ๑ นาที คลิบนี้เสนอตอน กามคุณ 5 มารผู้ใจบาป พระพุทธเจ้าท่านตรัสว่า... ภิกษุท. ! กามคุณเหล่านี้มีห้าอย่าง. ห้าอย่างอะไรกันเล่า? ห้าอย่าง คือ รูปที่เห็นด้วยตา เสียงที่ฟังด้วยหู กลิ่นที่ดมด้วยจมูก รสที่ลิ้มด้วยลิ้น และโผฏฐัพพะ ที่สัมผัสด้วยกาย อันเป็นสิ่งที่น่าปรารถนา น่ารักใคร่ น่าพอใจ ยวนตา ยวนใจให้รัก เป็นที่เข้าไปตั้งไว้ ซึ่งความใคร่ เป็นที่ตั้งแห่งความกำหนัด ย้อมใจ. ภิกษุ ท. ! กามคุณมีห้าอย่างเหล่านี้แล. ภิกษุ ท. ! สมณะหรือพราหมณ์พวกใดพวกหนึ่ง ติดอกติดใจ สยบอยู่ เมาหมกอยู่ ในกามคุณ ห้าอย่างเหล่านี้แล้ว ก็ไม่มองเห็นส่วนที่เป็นโทษ ไม่เป็นผู้รู้แจ่มแจ้ง ในอุบายเป็นเครื่องออกไปจากทุกข์ ทำการบริโภคกามคุณทั้งห้านั้นอยู่ สมณะหรือพราหมณ์พวกนั้น อันคนทั้งหลายพึงเข้าใจเถิดว่า เป็นผู้ถึงความพินาศ ย่อยยับ แล้วแต่ มารผู้ใจบาป ต้องการจะทำตามอำเภอใจอย่างใด ดังนี้. พึ่งตนพึ่งธรรม นำชีวิตออกจากทุกข์ ขออนุโมทนาบุญกับทุกท่าน ที่มีส่วนร่วมในการจัดทำคลิบนี้ และรับชมคลิบนี้ สาธุครับ

๓ สิ่งนี้ เปิดเผยไม่เจริญ ปิดบังไว้จึงเจริญ

รูปภาพ
สวัสดีครับคุณผู้ชมคุณผู้ฟังทุกท่าน ที่ติดตามรับชมภูริฟิล์ม ธรรมะ ๑ นาที คลิบนี้เสนอตอน สิ่ง ๓ นี้ ปิดบังไว้จึงเจริญ เปิดเผยไม่เจริญ พระพุทธเจ้าท่านตรัสว่า... [๕๗๑] ดูกรภิกษุทั้งหลาย สิ่ง ๓ อย่างนี้ ปิดบังไว้จึงเจริญ เปิดเผยไม่เจริญ ๓ อย่างเป็นไฉน คือ ๑. มาตุคาม ( คือ สตรี) ปิดบังเอาไว้จึงจะงดงาม เปิดเผยไม่งดงาม ๒. มนต์ของพราหมณ์ ปิดบังเข้าไว้จึงรุ่งเรือง เปิดเผยไม่รุ่งเรือง ๓. มิจฉาทิฐิ ปิดบังไว้จึงเจริญ เปิดเผยไม่เจริญ ดูกรภิกษุทั้งหลาย สิ่ง ๓ อย่าง นี้แล ปิดบังไว้จึงเจริญ เปิดเผยไม่เจริญ ดูกรภิกษุทั้งหลาย สิ่ง ๓ อย่างนี้ เปิดเผยจึงรุ่งเรือง ปิดบังไม่รุ่งเรือง ๓ อย่างเป็นไฉน คือ ๑. ดวงจันทร์ เปิดเผยจึงรุ่งเรือง ปิดบังไม่รุ่งเรือง ๒. ดวงอาทิตย์ เปิดเผยจึงรุ่งเรือง ปิดบังไม่รุ่งเรือง ๓. ธรรมวินัย ที่พระตถาคตประกาศไว้แล้ว เปิดเผยจึงรุ่งเรือง ปิดบังไม่รุ่งเรือง ดูกรภิกษุทั้งหลาย สิ่ง ๓ อย่างนี้แล เปิดเผยจึงรุ่งเรือง ปิดบังไม่รุ่งเรืองฯ "ปฏิจฉันนสูตร" ฉบับหลวง เล่มที่ ๒๐ สุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย เอก-ทุก-ติกนิบาต หน้าที่ ๒๗๐ ข้

ขี้ตามช้าง คือ ผู้ที่ติดอกติดในในลาภ ไม่เห็นโทษของลาภ

รูปภาพ
สวัสดีครับคุณผู้ชมคุณผู้ฟังทุกท่าน ที่ติดตามรับชมภูริฟิล์ม ธรรมะ ๑ นาที คลิบนี้เสนอตอน ขี้ตามช้าง คือ ผู้ที่ติดอกติดใจในลาภ ไม่เห็นโทษของลาภ พระพุทธเจ้าท่านตรัสว่า... ภิกษุ ท.! เรื่องนี้เคยมีมาแล้ว : มีสระใหญ่ ในที่ใกล้ป่าแห่งหนึ่ง. ช้างทั้งหลาย ได้อาศัยหากิน ในสระใหญ่แห่งนั้น. มันลงสู่สระแล้ว ใช้งวงถอนหัวบัวและรากบัวขึ้นมา แล้วแกว่งไป แกว่งมาในนํ้า ทำให้หมดเปือกตม แล้วใส่ปากเคี้ยวให้ดีเสียก่อน จึงกลืน ลงไป. การกินอย่างนี้ ของช้างเหล่านั้น ย่อมทำให้เนื้อตัวเปล่งปลั่ง มีพละกำลัง และไม่ถึง ซึ่งความตาย หรือได้รับทุกข์ เจียนตาย เพราะข้อที่ช้างนั้น รู้จักกินนั้นเอง เป็นเหตุ. ภิกษุ ท.! ส่วนพวกลูกช้างเล็กๆ อยากจะเอาอย่างช้างใหญ่ๆ บ้าง มันจึงลงสู่ สระบัวนั้น ใช้งวงถอนหัวบัว และรากบัวขึ้นมาได้ ทั้งๆ ที่ยังไม่ได้แกว่งไปแกว่งมาในนํ้า มีเปือกตมติดอยู่ ก็เอาเข้าใส่ปาก ไม่ได้เคี้ยวให้ดีเสียก่อน กลืนลงไปแล้ว. การกินอย่างนี้ของพวกลูกช้างเล็กๆ นั้น ย่อมไม่ทำให้เนื้อตัวเปล่งปลั่ง มีพละกำลัง แล้วยังจะถึง ซึ่งความตาย หรือได้รับทุกข์เจียนตาย เพราะข้อที่ลูกช้างเหล่

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

ความเข้าใจผิดในเรื่องกรรม มิจฉาทิฏฐิเรื่องกรรม ๔ แบบ

ฐานะ ๕ ประการ ที่ใครๆ ไม่อาจได้ตามปรารถนา

ความหมายของคำว่า "สัตว์" ที่พระพุทธเจ้าท่านเรียกว่า ผู้มีอวิชชา หรือผู้หลง

การทำงานของจิต ที่มีรูป เวทนา สัญญา สังขาร เป็นอารมณ์

มารผู้ใจบาป กามคุณ ๕

ขี้ตามช้าง คือ ผู้ที่ติดอกติดในในลาภ ไม่เห็นโทษของลาภ

อินทรีย์ ๕ เครื่องวัดในการบรรลุธรรม ความช้า เร็ว ของมนุษย์

ธรรมที่มัดสัตว์ไว้กับทุกข์ หรือกิเลส สังโยชน์ ๑๐

เต่าตาบอด โอกาสในการเกิดเป็นมนุษย์นั้นยาก

ความเพียรชอบ (สัมมัปปธาน ๔) หรือ ปธาน ๔