บทความ

กำลังแสดงโพสต์ที่มีป้ายกำกับ อริยมรรคมีองค์ ๘

สังสารวัฏนี้ หาที่สุดเบื้องต้น เบื้องปลายไม่ได้

รูปภาพ
สวัสดีครับคุณผู้ชมคุณผู้ฟังทุกท่าน ที่ติดตามรับชมภูริฟิล์ม ธรรมะ ๑ นาที คลิบนี้เสนอตอน สังสารวัฏนี้ หาที่สุดเบื้องต้น เบื้องปลายไม่ได้ พระพุทธเจ้าท่านตรัสว่า... ดูกรภิกษุทั้งหลาย สงสารนี้ กำหนดที่สุดเบื้องต้น เบื้องปลายไม่ได้ เมื่อเหล่าสัตว์ผู้มีอวิชชาเป็นที่กางกั้น มีตัณหาเป็นเครื่องประกอบไว้ ท่องเที่ยวไปมาอยู่ ที่สุดเบื้องต้นย่อมไม่ปรากฏฯ ดูกรภิกษุทั้งหลาย เหมือนอย่างว่า บุรุษตัดทอนหญ้า ไม้กิ่ง ไม้ใบ ไม้ในชมพูทวีปนี้ แล้วจึงรวมกันไว้ ครั้นแล้ว พึงกระทำให้เป็นมัดๆ ละ ๔ นิ้ว วางไว้ สมมติว่า นี้เป็นมารดาของเรา นี้เป็นมารดาของมารดาของเรา โดยลำดับมารดาของมารดาแห่งบุรุษนั้น ไม่พึงสิ้นสุด ส่วนว่า หญ้า ไม้กิ่ง ไม้ใบ ไม้ในชมพูทวีปนี้ พึงถึงการหมดสิ้นไป. พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๖ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๘ สังยุตตนิกาย นิทานวรรค อนมตัคคสังยุตต์ ปฐมวรรคที่ ๑ พึ่งตนพึ่งธรรม นำชีวิตออกจากทุกข์ ขออนุโมทนาบุญกับทุกท่าน ที่มีส่วนร่วมในการจัดทำคลิบนี้ และรับชมคลิบนี้ สาธุครับ

เต่าตาบอด โอกาสในการเกิดเป็นมนุษย์นั้นยาก

รูปภาพ
สวัสดีครับคุณผู้ชมคุณผู้ฟังทุกท่าน ที่ติดตามรับชมภูริฟิล์ม ธรรมะ ๑ นาที คลิบนี้เสนอตอน เต่าตาบอด โอกาสในการเกิดเป็นมนุษย์นั้นยาก พระพุทธเจ้าท่านตรัสว่า... ภิกษุทั้งหลาย. เปรียบเหมือนมหาปฐพีอันใหญ่หลวงนี้ มีน้ำท่วมถึงเป็นอันเดียวกันทั้งหมด บุรุษคนหนึ่ง ทิ้งแอก ซึ่งมีรูเจาะเพียงรูเดียวลงไปในน้ำนั้น ลมตะวันออก พัดให้ลอยไปทางทิศตะวันตก ลมตะวันตก พัดให้ลอยไปทาง ทิศตะวันออก ลมเหนือ พัดให้ลอยไปทางทิศใต้ ลมใต้พัดให้ลอยไปทางทิศเหนือ อยู่ดังนี้ ในน้ำนั้น มีเต่าตัวหนึ่งตาบอด ล่วงไปร้อยปีๆ มันจะผุดขึ้นมาสักครั้งหนึ่ง. ภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลาย จะสำคัญความข้อนี้ว่าอย่างไร จะเป็นไปได้ไหม ที่เต่าตาบอด ร้อยปีจึงจะผุดขึ้นสักครั้งหนึ่ง จะพึงยื่นคอเข้าไปในรู ซึ่งมีอยู่เพียงรูเดียว ในแอกนั้น ข้อนี้ยากที่จะเป็นไปได้ พระเจ้าข้า ที่เต่าตาบอดนั้น ร้อยปีผุดขึ้นเพียงครั้งเดียว จะพึงยื่น คอเข้าไปในรู ซึ่งมีอยู่เพียงรูเดียวในแอกนั้น. ภิกษุทั้งหลาย ยากที่จะเป็นไปได้ ฉันเดียวกัน ที่ใครๆ จะพึงได้ความเป็นมนุษย์ ยากที่จะเป็นไปได้ ฉันเดียวกัน ที่ตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธะ จะเกิดขึ

เจริญสมาธิ ได้ชื่อว่ากำลังโน้มเอียงไปสู่นิพพาน

รูปภาพ
สวัสดีครับคุณผู้ชมคุณผู้ฟังทุกท่าน ที่ติดตามรับชมภูริฟิล์ม ธรรมะ ๑ นาที คลิบนี้เสนอตอน เจริญสมาธิ ได้ชื่อว่า กำลังโน้มเอียงไปสู่นิพพาน พระพุทธเจ้าท่านตรัสว่า... ภิกษุทั้งหลาย เปรียบเหมือนแม่น้ำคงคา ไหลไปสู่ทิศปราจีน หลั่งไปสู่ทิศปราจีน บ่าไปสู่ทิศปราจีน ฉันใด ภิกษุเจริญกระทำให้มาก ซึ่งฌานทั้ง ๔ ย่อมเป็นผู้ น้อมไป สู่นิพพาน โน้มไป สู่นิพพาน โอนไป สู่นิพพาน ก็ฉันนั้นเหมือนกัน. ภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุเจริญ กระทำให้มาก ซึ่งฌานทั้ง ๔ อย่างไร ย่อมเป็นผู้ น้อมไปสู่นิพพาน โน้มไปสู่นิพพาน โอนไปสู่นิพพาน. ภิกษุทั้งหลาย. ภิกษุในกรณีนี้ สงัดแล้วจากกาม และจากอกุศลธรรมทั้งหลาย เข้าถึงปฐมฌาน อันมีวิตก วิจาร มีปีติ และสุข อันเกิดจากวิเวกแล้วแลอยู่ เพราะความที่วิตกวิจาร ทั้งสองระงับลง เข้าถึง ทุติยฌาน เป็นเครื่องผ่องใสใจในภายใน ให้สมาธิเป็นธรรมอันเอกผุดมีขึ้น ไม่มีวิตก ไม่มีวิจาร มีแต่ปีติและสุข อันเกิดจากสมาธิ แล้วแลอยู่ เพราะความจางคลายไปแห่งปีติ ย่อมเป็น ผู้อยู่อุเบกขา มีสติและสัมปชัญญะ และย่อมเสวยความสุขด้วยกาย ชนิดที่พระอริยเจ้าทั้งหลาย ย่อมกล่าวสรรเสร

สมาธิ มี ๙ ระดับ ตามเห็นการดับของขันธ์ ๕

รูปภาพ
สวัสดีครับคุณผู้ชมคุณผู้ฟังทุกท่าน ที่ติดตามรับชมภูริฟิล์ม ธรรมะ ๑ นาที คลิบนี้เสนอตอน สมาธิ มี ๙ ระดับ ตามเห็นการดับของขันธ์ ๕ พระพุทธเจ้าท่านตรัสว่า... สมาธิ มี ๙ ระดับ คือ รูปสัญญามี ๔ ระดับ อันได้แก่ ๑. ปฐมฌาน (กามสัญญาดับ) ๒. ทุติยฌาน (วิตกวิจารดับ) ๓. ตติยฌาน (ปีติดับ) ๔. จตุตถฌาน (ลมอัสสาสะ ปัสสาสะดับ (คือ สุขในสมาธิดับ นั่นเอง ส่วนอรูปสัญญามี ๔ ระดับ คือ ๕. อากาสานัญจายตนะ (รูปสัญญาดับ) ๖. วิญญาณัญจายตนะ (อากาสานัญจายตนะดับ) ๗. อากิญจัญญายตนะ (วิญญาณัญจายตนะดับ) ๘. เนวสัญญานาสัญญายตนะ (อากิญจัญญายตนะดับ) และสมาธิระดับ ๙. สัญญาเวทยิตนิโรธ (สัญญาและเวทนาดับ) ซึ่งหากทำสมาธิแล้ว ตามเห็นการดับของขันธ์ ๕ ตายไปจะเป็นเทวดาชั้นอริยบุคคล และจะปรินิพพาน ในภพนั้น แต่ถ้าทำสมาธิ ไม่เห็นการเกิดดับ ตายไปจะเป็นเทวดาชั้นปุถุชน คือ ยังไม่พ้น นรก กำเนิดดิรัจฉาน และเปรตวิสัย พึ่งตนพึ่งธรรม นำชีวิตออกจากทุกข์ ขออนุโมทนาบุญกับทุกท่าน ที่มีส่วนร่วมในการจัดทำคลิบนี้ และรับชมคลิบนี้ สาธุครับ

นิวรณ์ ๕ เครื่องกางกั้น ที่ทำปัญญาให้ถอยกำลัง

รูปภาพ
สวัสดีครับคุณผู้ชมคุณผู้ฟังทุกท่าน ที่ติดตามรับชมภูริฟิล์ม ธรรมะ ๑ นาที คลิบนี้เสนอตอน นิวรณ์ ๕ เครื่องกางกั้น ที่ทำปัญญาให้ถอยกำลัง ครับ พระพุทธเจ้าท่านตรัสว่า... นิวรณ์เป็นเครื่องกางกั้น ๕ อย่างเหล่านี้ ท่วมทับจิตแล้ว ทำปัญญาให้ถอยกำลัง มีอยู่ห้าอย่าง คือ ๑.กามฉันทะ คือ ความพอใจ ติดใจ หลงใหล ใฝ่ฝัน ในกามโลกีย์ทั้งปวง ดุจคนหลับอยู่ ๒. พยาบาท คือ ความไม่พอใจ ไม่ได้สมปรารถนา ในโลกียะทั้งปวง ดุจคนถูกทัณท์ทรมานอยู่ ๓. ถีนมิทธะ คือ ความขี้เกียจ ท้อแท้ อ่อนแอ หมดอาลัย ไร้กำลังทั้งกายใจ ไม่ฮึกเหิม ๔. อุทธัจจะกุกกุจจะ ความคิดซัดส่าย ตลอดเวลา ไม่สงบนิ่ง อยู่ในความคิดใดๆ ๕. วิจิกิจฉา คือ ความไม่แน่ใจ ลังเลใจ สงสัย กังวล กล้าๆ กลัวๆ ไม่เต็มที่ ไม่มั่นใจ พึ่งตนพึ่งธรรม นำชีวิตออกจากทุกข์ ขออนุโมทนาบุญกับทุกท่าน ที่มีส่วนร่วมในการจัดทำคลิบนี้ และรับชมคลิบนี้ สาธุครับ

พระโสดาบันประกอบพร้อมแล้ว ด้วยอริยมรรคมีองค์แปด

รูปภาพ
สวัสดีครับคุณผู้ชมคุณผู้ฟังทุกท่าน ที่ติดตามรับชมภูริฟิล์ม ธรรมะ ๑ นาที คลิบนี้เสนอตอน พระโสดาบันประกอบพร้อมแล้ว ด้วยอริยมรรคมีองค์แปด พระพุทธเจ้าท่านตรัสว่า... สารีบุตร! ที่มักกล่าวกันว่า โสดาบัน โสดาบัน ดังนี้ เป็นอย่างไรเล่า สารีบุตร? “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ! ท่านผู้ใด เป็นผู้ประกอบพร้อมแล้ว ด้วยอริยมรรคมีองค์แปดนี้อยู่ ผู้เช่นนั้นแล ข้าพระองค์เรียกว่า เป็นพระโสดาบัน ผู้มีชื่ออย่างนี้ๆ มีโคตรอย่างนี้ๆ พระเจ้าข้า!” สารีบุตร! ถูกแล้ว ถูกแล้ว ผู้ที่ประกอบพร้อมแล้ว ด้วยอริยมรรคมีองค์แปดนี้อยู่ ถึงเราเองก็เรียกผู้เช่นนั้น ว่าเป็น พระโสดาบัน ผู้มีชื่ออย่างนี้ๆ มีโคตรอย่างนี้ๆ. มหาวาร. สํ. ๑๙/๔๓๕/๑๔๓๒-๑๔๓ พึ่งตนพึ่งธรรม นำชีวิตออกจากทุกข์ ขออนุโมทนาบุญกับทุกท่าน ที่มีส่วนร่วมในการจัดทำคลิบนี้ และรับชมคลิบนี้ สาธุครับ

ไม่ได้ปฎิบัติธรรม ประพฤติพรหมจรรย์ เพื่อให้คนอื่นนับถือ

รูปภาพ
สวัสดีครับคุณผู้ชมคุณผู้ฟังทุกท่าน ที่ติดตามรับชมภูริฟิล์ม ธรรมะ ๑ นาที คลิบนี้เสนอตอน ไม่ได้ปฎิบัติธรรม หรือประพฤติพรหมจรรย์ เพื่อให้คนอื่นนับถือ พระพุทธเจ้าท่านตรัสว่า... ภิกษุทั้งหลาย! พรหมจรรย์นี้เราประพฤติ ๑. มิใช่เพื่อหลอกลวงคนให้นับถือ ๒. มิใช่เพื่อเรียกคนมาเป็นบริวาร ๓. มิใช่เพื่ออานิสงส์เป็นลาภสักการะ และเสียงสรรเสริญ ๔. มิใช่เพื่ออานิสงส์ จะได้เป็นเจ้าลัทธิ หรือเพื่อค้านลัทธิอื่นใดให้ล้มลงไป และ ๕. มิใช่เพื่อให้มหาชนเข้าใจว่า เราได้เป็นผู้วิเศษอย่างนั้นอย่างนี้ ก็หามิได้. ภิกษุทั้งหลาย! ที่แท้พรหมจรรย์นี้ เราประพฤติ เพื่อสำรวม เพื่อละ เพื่อคลายกำหนัด เพื่อดับสนิทซึ่งทุกข์ แล. -บาลี จตุกฺก. อํ. ๒๑/๓๓/๒๕. พึ่งตนพึ่งธรรม นำชีวิตออกจากทุกข์ ขออนุโมทนาบุญกับทุกท่าน ที่มีส่วนร่วมในการจัดทำคลิบนี้ และรับชมคลิบนี้ สาธุครับ

ความทุกข์ อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา ตามคำสอนพระพุทธเจ้า

รูปภาพ
สวัสดีครับคุณผู้ชมคุณผู้ฟังทุกท่าน ที่ติดตามรับชมภูริฟิล์ม ธรรมะ ๑ นาที คลิบนี้เสนอตอน ความทุกข์ อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา ตามคำสอนพระพุทธเจ้าครับ พระพุทธเจ้าท่านตรัสว่า... สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์ สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นอนัตตา ทุกขเวทนา เวทนาใดๆ เวทนานั้น ถึงการประชุมลงในความทุกข์ ซึ่งเวทนามี ๓ อย่าง คือ ๑. สุขเวทนา สุขก็เดินไปสู่ความทุกข์ และเดินไปสู่ความแตกสลาย แตกดับ ๒. ทุกขเวทนา ก็เดินไปสู่ความทุกข์ และเดินไปสู่ความแตกสลาย แตกดับ ๓. อทุกขมสุข ก็เดินไปสู่ความทุกข์ และเดินไปสู่ความแตกสลาย แตกดับ หรืออุเบกขาก็เป็นทุกข์ และเดินไปสู่ความแตกสลาย แตกดับ ดังนั้น คำว่าทุกข์ หมายถึง การแตกสลาย ทนอยู่สภาพเดิมไม่ได้ ต้องมีการเปลี่ยนแปลง ซึ่งทุกขสัตว์ ในอริยสัจจึงกินความกว้าง สรรพสิ่งใดๆ ที่เป็นรูป และนาม ที่เดินไปสู่การแตกดับ นั่นคือ กองทุกข์ทั้งหมด พระพุทธองค์ท่านจึงบอกว่า ขันธ์ ๕ เป็นทุกข์ ขันธ์ทั้ง ๕ คิอ รูป เวทนา สัญญา สังขาร และวิญญาณ มีการแตกดับ ทั้งหมดจึงเป็นทุกขสัตว์ นี่คือ ทุกข์ในอริยสัจ ๔ และคำว่าทุกข์นี้ ก็มีความหมายซ

ความเพียรชอบ (สัมมัปปธาน ๔) หรือ ปธาน ๔

รูปภาพ
สวัสดีครับคุณผู้ชมคุณผู้ฟังทุกท่าน ที่ติดตามรับชมภูริฟิล์ม ธรรมะ ๑ นาที คลิบนี้เสนอตอน ความเพียรชอบ สัมมัปปธาน ๔ หรือ ปธาน ๔ พระพุทธเจ้าท่านตรัสว่า... ความเพียรชอบ สัมมัปปธาน ๔ หรือ ปธาน ๔ นั้น คือ ๑. สังวรปธาน คือ เพียรระวังยับยั้งบาปอกุศลธรรม (คือ นิวรณ์ ๕) ที่ยังไม่เกิด มิให้เกิดขึ้น ดังที่ตรัสว่า.. ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ ยังฉันทะให้เกิดพยายาม ปรารภความเพียร ประคองจิตตั้งใจ เพื่อความไม่เกิดขึ้นแห่งธรรม ที่เป็นบาปอกุศล ที่ยังไม่เกิด ๒. ปหานปธาน คือ เพียรละบาปอกุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้ว ดังที่ตรัสว่า.. ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ ยังฉันทะให้เกิดพยายาม ปรารภความเพียร ประคองจิตตั้งใจ เพื่อละธรรมที่เป็นบาปอกุศล ที่เกิดขึ้นแล้ว ๓. ภาวนาปธาน คือ เพียรทำกุศลธรรม ที่ยังไม่เกิด ให้เกิดมี ดังที่ตรัสว่า.. ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ ยังฉันทะให้เกิด พยายามปรารภความเพียร ประคองจิตตั้งใจ เพื่อความบังเกิดขึ้น แห่งธรรมที่เป็นกุศล ที่ยังไม่เกิด ๔. อนุรักขนาปธาน คือ เพียรรักษากุศลธรรม ที่เกิดขึ้

ฐานที่ตั้งของการระลึกได้ สติปัฎฐาน ๔ (กาย เวทนา จิต ธรรม)

รูปภาพ
สวัสดีครับคุณผู้ชมคุณผู้ฟังทุกท่าน ที่ติดตามรับชมภูริฟิล์ม ธรรมะ ๑ นาที คลิบนี้เสนอตอน สติปัฎฐาน ๔ (กาย เวทนา จิต ธรรม) ฐานที่ตั้งของการระลึกได้ พระพุทธเจ้าท่านตรัสว่า สติปัฎฐาน ๔ ๑. กายานุปัสนาสติปัฏฐาน (อยู่กับกาย) ก้อนกาย (รู้ลม การเคลื่อนไหว การทำงานในปัจจุบัน) ๒. เวทนานุปัสนาสติปัฏฐาน (อยู่กับอุเบกขา) ให้นึกถึงอุเบกขา สุขมา ทุกข์มา ก็ให้ทิ้งไป) ๓. จิตตานุปัสนาสติปัฏฐาน (อยู่กับผู้รู้) ผู้รู้กำลังรู้อะไร อาศัยอานาปานสติ เป็นผู้ตามเห็นจิตอยู่เป็นประจำ ๔. ธรรมมานุปัสนาสติปัฏฐาน (เห็นความไม่เที่ยง จางคลาย เห็นเกิดดับของ รูปนาม) ครับ กลับมาพบกับธรรมะ ๑ นาที ได้ใหม่ในคลิบหน้า สำหรับคลิบนี้อนุโมทนาบุญครับ

รักใครชอบใคร จงสงเคราะห์ด้วยการให้รู้อริยสัจ ๔

รูปภาพ
สวัสดีครับคุณผู้ชมคุณผู้ฟังทุกท่าน ที่ติดตามรับชมภูริฟิล์ม ธรรมะ ๑ นาที คลิบนี้เสนอตอน รักใครชอบใคร จงสงเคราะห์ผู้อื่นด้วยการให้รู้อริยสัจ พระพุทธเจ้าท่านตรัสว่า จงสงเคราะห์ผู้อื่นด้วยการให้รู้อริยสัจ ภิกษุ ทั้งหลาย.! พวกเธอเอ็นดูใคร และใครถือว่าเธอ เป็นผู้ที่เขาควรเชื่อฟัง เขาจะเป็นมิตรก็ตาม อำมาตย์ก็ตาม ญาติหรือสายโลหิตก็ตาม ชนเหล่านั้น อันเธอพึงชักชวนให้เข้าไปตั้งมั่น ในความจริงอันประเสริฐ สี่ประการ ด้วยปัญญา อันรู้ เฉพาะตามที่เป็นจริง ความจริงอันประเสริฐ สี่ประการอะไรเล่า? สี่ประการคือ ๑. ความจริงอันประเสริฐ คือ ทุกข์ ๒. ความจริงอันประเสริฐ คือ เหตุให้เกิดแห่งทุกข์ ๓. ความจริงอันประเสริฐ คือ ความดับไม่เหลือแห่งทุกข์ และ ๔. ความจริงอันประเสริฐคือ ทางดำเนินให้ถึงความดับไม่เหลือแห่งทุกข์. ภิกษุ ทั้งหลาย.! เพราะเหตุนั้นในเรื่องนี้ เธอพึงประกอบโยคกรรม อันเป็นเครื่อง กระทำให้รู้ว่า “ทุกข์ เป็นอย่างนี้ เหตุให้เกิดขึ้นแห่งทุกข์ เป็นอย่างนี้ ความดับไม่เหลือแห่งทุกข์ เป็นอย่างนี้ ทางดำเนินให้ถึงความดับ ไม่เหลือแห่งทุกข์ เป็นอย่างนี้” ดังน

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

ความเข้าใจผิดในเรื่องกรรม มิจฉาทิฏฐิเรื่องกรรม ๔ แบบ

ความหมายของคำว่า "สัตว์" ที่พระพุทธเจ้าท่านเรียกว่า ผู้มีอวิชชา หรือผู้หลง

เต่าตาบอด โอกาสในการเกิดเป็นมนุษย์นั้นยาก

การทำงานของจิต ที่มีรูป เวทนา สัญญา สังขาร เป็นอารมณ์

ฐานะ ๕ ประการ ที่ใครๆ ไม่อาจได้ตามปรารถนา

เจริญสมาธิ ได้ชื่อว่ากำลังโน้มเอียงไปสู่นิพพาน

พระตถาคตเกิดขึ้น แสดงธรรม เพื่อความรำงับ ดับ รู้

รักใครชอบใคร จงสงเคราะห์ด้วยการให้รู้อริยสัจ ๔

ทิ้งเสียนั่นแหละ กลับจะเป็นประโยชน์

ฤกษ์ดี มงคลดี สว่างดี รุ่งดี ขณะดี ยามดี ตามคำสอนพระพุทธเจ้า