บทความ

กำลังแสดงโพสต์ที่มีป้ายกำกับ กุศลกรรมบท

สังสารวัฏนี้ หาที่สุดเบื้องต้น เบื้องปลายไม่ได้

รูปภาพ
สวัสดีครับคุณผู้ชมคุณผู้ฟังทุกท่าน ที่ติดตามรับชมภูริฟิล์ม ธรรมะ ๑ นาที คลิบนี้เสนอตอน สังสารวัฏนี้ หาที่สุดเบื้องต้น เบื้องปลายไม่ได้ พระพุทธเจ้าท่านตรัสว่า... ดูกรภิกษุทั้งหลาย สงสารนี้ กำหนดที่สุดเบื้องต้น เบื้องปลายไม่ได้ เมื่อเหล่าสัตว์ผู้มีอวิชชาเป็นที่กางกั้น มีตัณหาเป็นเครื่องประกอบไว้ ท่องเที่ยวไปมาอยู่ ที่สุดเบื้องต้นย่อมไม่ปรากฏฯ ดูกรภิกษุทั้งหลาย เหมือนอย่างว่า บุรุษตัดทอนหญ้า ไม้กิ่ง ไม้ใบ ไม้ในชมพูทวีปนี้ แล้วจึงรวมกันไว้ ครั้นแล้ว พึงกระทำให้เป็นมัดๆ ละ ๔ นิ้ว วางไว้ สมมติว่า นี้เป็นมารดาของเรา นี้เป็นมารดาของมารดาของเรา โดยลำดับมารดาของมารดาแห่งบุรุษนั้น ไม่พึงสิ้นสุด ส่วนว่า หญ้า ไม้กิ่ง ไม้ใบ ไม้ในชมพูทวีปนี้ พึงถึงการหมดสิ้นไป. พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๖ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๘ สังยุตตนิกาย นิทานวรรค อนมตัคคสังยุตต์ ปฐมวรรคที่ ๑ พึ่งตนพึ่งธรรม นำชีวิตออกจากทุกข์ ขออนุโมทนาบุญกับทุกท่าน ที่มีส่วนร่วมในการจัดทำคลิบนี้ และรับชมคลิบนี้ สาธุครับ

มารผู้ใจบาป กามคุณ ๕

รูปภาพ
สวัสดีครับคุณผู้ชมคุณผู้ฟังทุกท่าน ที่ติดตามรับชมภูริฟิล์ม ธรรมะ ๑ นาที คลิบนี้เสนอตอน กามคุณ 5 มารผู้ใจบาป พระพุทธเจ้าท่านตรัสว่า... ภิกษุท. ! กามคุณเหล่านี้มีห้าอย่าง. ห้าอย่างอะไรกันเล่า? ห้าอย่าง คือ รูปที่เห็นด้วยตา เสียงที่ฟังด้วยหู กลิ่นที่ดมด้วยจมูก รสที่ลิ้มด้วยลิ้น และโผฏฐัพพะ ที่สัมผัสด้วยกาย อันเป็นสิ่งที่น่าปรารถนา น่ารักใคร่ น่าพอใจ ยวนตา ยวนใจให้รัก เป็นที่เข้าไปตั้งไว้ ซึ่งความใคร่ เป็นที่ตั้งแห่งความกำหนัด ย้อมใจ. ภิกษุ ท. ! กามคุณมีห้าอย่างเหล่านี้แล. ภิกษุ ท. ! สมณะหรือพราหมณ์พวกใดพวกหนึ่ง ติดอกติดใจ สยบอยู่ เมาหมกอยู่ ในกามคุณ ห้าอย่างเหล่านี้แล้ว ก็ไม่มองเห็นส่วนที่เป็นโทษ ไม่เป็นผู้รู้แจ่มแจ้ง ในอุบายเป็นเครื่องออกไปจากทุกข์ ทำการบริโภคกามคุณทั้งห้านั้นอยู่ สมณะหรือพราหมณ์พวกนั้น อันคนทั้งหลายพึงเข้าใจเถิดว่า เป็นผู้ถึงความพินาศ ย่อยยับ แล้วแต่ มารผู้ใจบาป ต้องการจะทำตามอำเภอใจอย่างใด ดังนี้. พึ่งตนพึ่งธรรม นำชีวิตออกจากทุกข์ ขออนุโมทนาบุญกับทุกท่าน ที่มีส่วนร่วมในการจัดทำคลิบนี้ และรับชมคลิบนี้ สาธุครับ

บุคคลไม่ควรคำนึงถึงสิ่งที่ล่วงไปแล้ว (ผู้มีราตรีหนึ่งเจริญ)

รูปภาพ
สวัสดีครับคุณผู้ชมคุณผู้ฟังทุกท่าน ที่ติดตามรับชมภูริฟิล์ม ธรรมะ ๑ นาที คลิบนี้เสนอตอน บุคคลไม่ควรคำนึงถึงสิ่งที่ล่วงไปแล้ว หรือ (ผู้มีราตรีหนึ่งเจริญ) พระพุทธเจ้าท่านตรัสว่า... ในโลกนี้ ไม่มีสิ่งใดๆ เลย ที่เมื่อเรายึดถืออยู่ เราจักเป็นผู้หาโทษมิได้ บุคคลไม่ควรคำนึงถึงสิ่งที่ล่วงไปแล้ว ไม่ควรมุ่งหวังสิ่งที่ยังไม่มาถึง สิ่งใดล่วงไปแล้ว สิ่งนั้นก็เป็นอันละไปแล้ว และสิ่งที่ยังไม่มาถึง ก็เป็นอันยังไม่ถึง ก็บุคคล "เห็นแจ้ง" ธรรมปัจจุบัน ไม่ง่อนแง่น ไม่คลอนแคลน ในธรรมนั้น ๆ ได้ บุคคลนั้นพึงเจริญธรรมนั้นเนืองๆ ให้ปรุโปร่งเถิด พึงทำความเพียรเสียในวันนี้แหละ ใครเล่าจะรู้ความตายในวันพรุ่ง เพราะว่า "ความผัดเพี้ยนกับมัจจุราช" ผู้มีเสนาใหญ่นั้น ย่อมไม่มีแก่เราทั้งหลาย พระมุนีผู้สงบ ย่อมเรียกบุคคลผู้มีปรกติอยู่อย่างนี้. มีความเพียร ไม่เกียจคร้านทั้งกลางวันและกลางคืน นั้นแลว่า "ผู้มีราตรีหนึ่งเจริญ" พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๑๔ หน้า ๒๖๗ ข้อ ๕๓๔ พึ่งตนพึ่งธรรม นำชีวิตออกจากทุกข์ ขออนุโมทนาบุญกับทุกท่าน ที่มีส่วนร่วมในการจัดทำคลิบนี้ แล

ผู้ปฏิบัติเพื่อประโยชน์ตน และเพื่อประโยชน์ผู้อื่น

รูปภาพ
สวัสดีครับคุณผู้ชมคุณผู้ฟังทุกท่าน ที่ติดตามรับชมภูริฟิล์ม ธรรมะ ๑ นาที คลิบนี้เสนอตอน ผู้ปฏิบัติเพื่อประโยชน์ตน และเพื่อประโยชน์ผู้อื่นฯ พระพุทธเจ้าท่านตรัสว่า... [๑๑๖] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ สวนมะม่วง ของหมอชีวก ใกล้พระนครราชคฤห์ ครั้งนั้น หมอชีวกโกมารภัจจ์ เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาค ถึงที่ประทับ ถวายบังคม พระผู้มีพระภาคแล้ว นั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้วได้ทูลถาม พระผู้มีพระภาคว่า (คำถามที่ ๑) ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ด้วยเหตุมีประมาณเท่าไรหนอ บุคคลชื่อว่าเป็น อุบาสก พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรชีวก เมื่อใดแล บุคคลถึง พระพุทธเจ้า ถึงพระธรรม ถึงพระสงฆ์ ว่าเป็นสรณะ ด้วยเหตุมีประมาณเท่านี้แล ชื่อว่าเป็น อุบาสกฯ (คำถามที่ ๒) ช. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ด้วยเหตุมีประมาณเท่าไร อุบาสก ชื่อว่า เป็นผู้มีศีลฯ พระผู้มีพระภาคตรัสว่า พ. ดูกรชีวก เมื่อใดแล อุบาสก งดเว้นจากปาณาติบาต งดเว้นจากอทินนาทาน งดเว้นจากกาเมสุมิจฉาจาร งดเว้นจากมุสาวาท งดเว้นจากการดื่มน้ำเมา คือ สุราและเมรัย อันเป็นที่ตั้งแห่งความประมาท ด้วยเหตุมีประมาณเท่าน

ฤทธิเดชของลาภสักการะ

รูปภาพ
สวัสดีครับคุณผู้ชมคุณผู้ฟังทุกท่าน ที่ติดตามรับชมภูริฟิล์ม ธรรมะ ๑ นาที คลิบนี้เสนอตอน ฤทธิเดชของลาภสักการะ พระพุทธเจ้าท่านตรัสว่า... ภิกษุ ท.! ลาภสักการะ และเสียงเยินยอ เป็นอันตรายที่ทารุณแสบเผ็ด หยาบคาย ต่อการบรรลุพระนิพพาน อันเป็นธรรมเกษมจากโยคะ ไม่มีธรรม อื่นยิ่งกว่า. ภิกษุ ท.! สมณพราหณ์พวกใด ไม่รู้จักความยวนใจ ไม่รู้จักโทษ อันตํ่าทราม ไม่รู้จัก อุบายเป็นทางพ้น ในกรณีอันเกี่ยวกับลาภสักการะ และเสียงเยินยอ ตรงตามที่เป็นจริง สมณพราหมณ์พวกนั้น จะกระทำให้แจ้งด้วยปัญญาอันยิ่งเอง แล้วเข้าถึงความสงบอยู่หาได้ไม่. ภิกษุ ท.! สมณพราหมณ์พวกใด ไม่รู้จักมูลฐานเป็นที่ตั้งขึ้น ไม่รู้จักความดับสนิท ไม่รู้จักความยวนใจ ไม่รู้จักโทษอันตํ่าทราม ไม่รู้จักอุบายเป็นทางพ้น ในกรณีอันเกี่ยวกับลาภสักการะ และเสียงเยินยอ ตรงตามที่เป็นจริง สมณพราหมณ์พวกนั้น จะกระทำให้แจ้งด้วยปัญญาอันยิ่งเอง แล้วเข้าถึงความสงบอยู่หาได้ไม่. ภิกษุท.! สมณพราหมณ์พวกใด ไม่รู้จักลาภสักการะและเสียงเยินยอ ไม่รู้จักมูลฐาน เป็นที่ตั้งขึ้น แห่งลาภสักการะและเสียงเยินยอ ไม่รู้จักความดับสนิท แห่งลาภ

พรหม เป็นชื่อของมารดา และบิดา

รูปภาพ
สวัสดีครับคุณผู้ชมคุณผู้ฟังทุกท่าน ที่ติดตามรับชมภูริฟิล์ม ธรรมะ ๑ นาที คลิบนี้เสนอตอน พรหม เป็นชื่อของมารดา และบิดา พระพุทธเจ้าท่านตรัสว่า... ดูกรภิกษุทั้งหลาย สกุลใด บุตรบูชามารดาบิดาในเรือนตน สกุลนั้นมีพรหม สกุลใด บุตรบูชามารดาบิดาในเรือนตน สกุลนั้นมีบุรพาจารย์ สกุลใด บุตรบูชามารดาบิดาในเรือนตน สกุลนั้นมีอาหุไนยบุคคล (อาหุไนยบุคคล หมายถึง ผู้สมควรได้รับสิ่งของ สำหรับบูชา ซึ่งเป็นสิ่งของที่ดี ประณีตบรรจง) ดูกรภิกษุทั้งหลาย คำว่าพรหมนี้ เป็นชื่อของมารดา และบิดา คำว่าบุรพาจารย์นี้ เป็นชื่อของมารดา และบิดา คำว่าอาหุไนยบุคคลนี้ เป็นชื่อของมารดา และบิดา ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะมารดาบิดามีอุปการะมาก บำรุงเลี้ยงแสดงโลกนี้แก่บุตรฯ มารดาบิดา ผู้อนุเคราะห์ บุตรท่าน เรียกว่าพรหม ว่าบุรพาจารย์ และว่าอาหุไนยบุคคล เพราะฉะนั้น บัณฑิตพึงนมัสการ และสักการะมารดาบิดา ด้วยข้าว น้ำ ผ้า ที่นอน การอบกลิ่น การให้ อาบน้ำ และการล้างเท้าทั้งสอง เพราะการปรนนิบัติในมารดาบิดา นั้นแล บัณฑิตย่อมสรรเสริญเขา ในโลกนี้เอง เขาละไปแล้ว ย่อมบันเทิงในสวรรค์ฯ พึ่งตนพึ่งธรรม นำชีวิต

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

ความเข้าใจผิดในเรื่องกรรม มิจฉาทิฏฐิเรื่องกรรม ๔ แบบ

ความหมายของคำว่า "สัตว์" ที่พระพุทธเจ้าท่านเรียกว่า ผู้มีอวิชชา หรือผู้หลง

เต่าตาบอด โอกาสในการเกิดเป็นมนุษย์นั้นยาก

การทำงานของจิต ที่มีรูป เวทนา สัญญา สังขาร เป็นอารมณ์

ฐานะ ๕ ประการ ที่ใครๆ ไม่อาจได้ตามปรารถนา

เจริญสมาธิ ได้ชื่อว่ากำลังโน้มเอียงไปสู่นิพพาน

พระตถาคตเกิดขึ้น แสดงธรรม เพื่อความรำงับ ดับ รู้

รักใครชอบใคร จงสงเคราะห์ด้วยการให้รู้อริยสัจ ๔

ทิ้งเสียนั่นแหละ กลับจะเป็นประโยชน์

ฤกษ์ดี มงคลดี สว่างดี รุ่งดี ขณะดี ยามดี ตามคำสอนพระพุทธเจ้า