บทความ

กำลังแสดงโพสต์ที่มีป้ายกำกับ โพธิปักขิยธรรม

สังสารวัฏนี้ หาที่สุดเบื้องต้น เบื้องปลายไม่ได้

รูปภาพ
สวัสดีครับคุณผู้ชมคุณผู้ฟังทุกท่าน ที่ติดตามรับชมภูริฟิล์ม ธรรมะ ๑ นาที คลิบนี้เสนอตอน สังสารวัฏนี้ หาที่สุดเบื้องต้น เบื้องปลายไม่ได้ พระพุทธเจ้าท่านตรัสว่า... ดูกรภิกษุทั้งหลาย สงสารนี้ กำหนดที่สุดเบื้องต้น เบื้องปลายไม่ได้ เมื่อเหล่าสัตว์ผู้มีอวิชชาเป็นที่กางกั้น มีตัณหาเป็นเครื่องประกอบไว้ ท่องเที่ยวไปมาอยู่ ที่สุดเบื้องต้นย่อมไม่ปรากฏฯ ดูกรภิกษุทั้งหลาย เหมือนอย่างว่า บุรุษตัดทอนหญ้า ไม้กิ่ง ไม้ใบ ไม้ในชมพูทวีปนี้ แล้วจึงรวมกันไว้ ครั้นแล้ว พึงกระทำให้เป็นมัดๆ ละ ๔ นิ้ว วางไว้ สมมติว่า นี้เป็นมารดาของเรา นี้เป็นมารดาของมารดาของเรา โดยลำดับมารดาของมารดาแห่งบุรุษนั้น ไม่พึงสิ้นสุด ส่วนว่า หญ้า ไม้กิ่ง ไม้ใบ ไม้ในชมพูทวีปนี้ พึงถึงการหมดสิ้นไป. พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๖ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๘ สังยุตตนิกาย นิทานวรรค อนมตัคคสังยุตต์ ปฐมวรรคที่ ๑ พึ่งตนพึ่งธรรม นำชีวิตออกจากทุกข์ ขออนุโมทนาบุญกับทุกท่าน ที่มีส่วนร่วมในการจัดทำคลิบนี้ และรับชมคลิบนี้ สาธุครับ

ความเพียรชอบ (สัมมัปปธาน ๔) หรือ ปธาน ๔

รูปภาพ
สวัสดีครับคุณผู้ชมคุณผู้ฟังทุกท่าน ที่ติดตามรับชมภูริฟิล์ม ธรรมะ ๑ นาที คลิบนี้เสนอตอน ความเพียรชอบ สัมมัปปธาน ๔ หรือ ปธาน ๔ พระพุทธเจ้าท่านตรัสว่า... ความเพียรชอบ สัมมัปปธาน ๔ หรือ ปธาน ๔ นั้น คือ ๑. สังวรปธาน คือ เพียรระวังยับยั้งบาปอกุศลธรรม (คือ นิวรณ์ ๕) ที่ยังไม่เกิด มิให้เกิดขึ้น ดังที่ตรัสว่า.. ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ ยังฉันทะให้เกิดพยายาม ปรารภความเพียร ประคองจิตตั้งใจ เพื่อความไม่เกิดขึ้นแห่งธรรม ที่เป็นบาปอกุศล ที่ยังไม่เกิด ๒. ปหานปธาน คือ เพียรละบาปอกุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้ว ดังที่ตรัสว่า.. ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ ยังฉันทะให้เกิดพยายาม ปรารภความเพียร ประคองจิตตั้งใจ เพื่อละธรรมที่เป็นบาปอกุศล ที่เกิดขึ้นแล้ว ๓. ภาวนาปธาน คือ เพียรทำกุศลธรรม ที่ยังไม่เกิด ให้เกิดมี ดังที่ตรัสว่า.. ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ ยังฉันทะให้เกิด พยายามปรารภความเพียร ประคองจิตตั้งใจ เพื่อความบังเกิดขึ้น แห่งธรรมที่เป็นกุศล ที่ยังไม่เกิด ๔. อนุรักขนาปธาน คือ เพียรรักษากุศลธรรม ที่เกิดขึ้

ฐานที่ตั้งของการระลึกได้ สติปัฎฐาน ๔ (กาย เวทนา จิต ธรรม)

รูปภาพ
สวัสดีครับคุณผู้ชมคุณผู้ฟังทุกท่าน ที่ติดตามรับชมภูริฟิล์ม ธรรมะ ๑ นาที คลิบนี้เสนอตอน สติปัฎฐาน ๔ (กาย เวทนา จิต ธรรม) ฐานที่ตั้งของการระลึกได้ พระพุทธเจ้าท่านตรัสว่า สติปัฎฐาน ๔ ๑. กายานุปัสนาสติปัฏฐาน (อยู่กับกาย) ก้อนกาย (รู้ลม การเคลื่อนไหว การทำงานในปัจจุบัน) ๒. เวทนานุปัสนาสติปัฏฐาน (อยู่กับอุเบกขา) ให้นึกถึงอุเบกขา สุขมา ทุกข์มา ก็ให้ทิ้งไป) ๓. จิตตานุปัสนาสติปัฏฐาน (อยู่กับผู้รู้) ผู้รู้กำลังรู้อะไร อาศัยอานาปานสติ เป็นผู้ตามเห็นจิตอยู่เป็นประจำ ๔. ธรรมมานุปัสนาสติปัฏฐาน (เห็นความไม่เที่ยง จางคลาย เห็นเกิดดับของ รูปนาม) ครับ กลับมาพบกับธรรมะ ๑ นาที ได้ใหม่ในคลิบหน้า สำหรับคลิบนี้อนุโมทนาบุญครับ

อินทรีย์ ๕ เครื่องวัดในการบรรลุธรรม ความช้า เร็ว ของมนุษย์

รูปภาพ
สวัสดีครับคุณผู้ชมคุณผู้ฟังทุกท่าน ที่ติดตามรับชมภูริฟิล์ม ธรรมะ ๑ นาที คลิบนี้เสนอตอน อินทรีย์ ๕ เครื่องวัดในการบรรลุธรรม ความช้า เร็ว ของมนุษย์ (หรือของสัตว์) พระพุทธเจ้าท่านตรัสว่า เครื่องวัดในการบรรลุธรรม ความช้า เร็ว ของสัตว์ คือ ๑. ศรัทธา (คือ มีศรัทธาในตถาคต) ๒. วิริยะ (ความเพียร) คือ สร้างอุปนิสัยในฝั่งดี เช่น การฟังธรรม เป็นต้น ๓. สติ คือ การระลึกได้ ๔. สมาธิ คือ อานาปานสติ เอาใจมาอยู่กับรูป อยู่กับลมหายใจ ๕. ปัญญา คือ เห็นการทำงานของขันธ์ ๕ รู้จิตเกิดดับ ซึ่งพระพุทธเจ้าท่านตรัสว่า สัมมัตตนิยาม ระบบแห่งความถูกต้อง สัปปบุรุษ ก้าวพ้นปุถุชน หากเข้าใจตามนี้ ไม่อาจที่จะกระทำกรรม ที่ทำแล้วเข้าถึงนรก กำเนิดเดรัจฉาน และเปรตวิสัยได้ กลับมาพบกับธรรมะ ๑ นาที ได้ใหม่ในคลิบหน้า สำหรับคลิบนี้อนุโมทนาบุญครับ

ธรรมที่มัดสัตว์ไว้กับทุกข์ หรือกิเลส สังโยชน์ ๑๐

รูปภาพ
สวัสดีครับคุณผู้ชมคุณผู้ฟังทุกท่าน ที่ติดตามรับชมภูริฟิล์ม ธรรมะ ๑ นาที คลิบนี้เสนอตอน สังโยชน์ ๑๐ ธรรมที่มัดสัตว์ไว้กับทุกข์ หรือกิเลส พระพุทธเจ้าท่านตรัสว่า สังโยชน์ คือ กิเลสที่ผูกมัดใจสัตว์, ธรรมที่มัดสัตว์ไว้กับทุกข์ หรือกิเลส เครื่องร้อยรัดจิตใจ ให้จมในวัฏฏะ มี ๑๐ อย่าง คือ ก. โอรัมภาคิยสังโยชน์ สังโยชน์เบื้องต่ำมี ๕ ได้แก่ ๑. สักกายทิฏฐิ มีความเห็นว่าร่างกายนี้เป็นของเรา มีความยึดมั่นถือมั่นในระดับหนึ่ง ๒. วิจิกิจฉา มีความสงสัยในคุณของพระรัตนตรัย คือพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ ๓. สีลัพพตปรามาส ความถือมั่นศีลพรต โดยสักว่าทำตามๆ กันไปอย่างงมงาย ๔. กามราคะ มีความติดใจในกามคุณ (คือ ราคะ) ๕. ปฏิฆะ มีความกระทบกระทั่งในใจ ( คือโทสะ โมหะ) ส่วน ข. อุทะธัมภาคิยะสังโยชน์ สังโยชน์เบื้องสูงมี ๕ ได้แก่ ๖. รูปราคะ มีความติดใจในวัตถุหรือรูปฌาน ๗. อรูปราคะ มีความติดใจในอรูปฌาน หรือความพอใจ ในนามธรรมทั้งหลาย ๘. มานะ มีความยึดมั่นถือมั่นในตัวตน หรือคุณสมบัติของตน ๙. อุทธัจจะ มีความฟุ้งซ่าน และ ๑๐. อวิชชา มีความไม่รู้จริง ซึ่งพระพุทธเจ้าท่านตรัสว่า ๑

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

ความเข้าใจผิดในเรื่องกรรม มิจฉาทิฏฐิเรื่องกรรม ๔ แบบ

ความหมายของคำว่า "สัตว์" ที่พระพุทธเจ้าท่านเรียกว่า ผู้มีอวิชชา หรือผู้หลง

เต่าตาบอด โอกาสในการเกิดเป็นมนุษย์นั้นยาก

การทำงานของจิต ที่มีรูป เวทนา สัญญา สังขาร เป็นอารมณ์

ฐานะ ๕ ประการ ที่ใครๆ ไม่อาจได้ตามปรารถนา

เจริญสมาธิ ได้ชื่อว่ากำลังโน้มเอียงไปสู่นิพพาน

พระตถาคตเกิดขึ้น แสดงธรรม เพื่อความรำงับ ดับ รู้

รักใครชอบใคร จงสงเคราะห์ด้วยการให้รู้อริยสัจ ๔

ทิ้งเสียนั่นแหละ กลับจะเป็นประโยชน์

ฤกษ์ดี มงคลดี สว่างดี รุ่งดี ขณะดี ยามดี ตามคำสอนพระพุทธเจ้า