บทความ

กำลังแสดงโพสต์ที่มีป้ายกำกับ สมาธิ

สังสารวัฏนี้ หาที่สุดเบื้องต้น เบื้องปลายไม่ได้

รูปภาพ
สวัสดีครับคุณผู้ชมคุณผู้ฟังทุกท่าน ที่ติดตามรับชมภูริฟิล์ม ธรรมะ ๑ นาที คลิบนี้เสนอตอน สังสารวัฏนี้ หาที่สุดเบื้องต้น เบื้องปลายไม่ได้ พระพุทธเจ้าท่านตรัสว่า... ดูกรภิกษุทั้งหลาย สงสารนี้ กำหนดที่สุดเบื้องต้น เบื้องปลายไม่ได้ เมื่อเหล่าสัตว์ผู้มีอวิชชาเป็นที่กางกั้น มีตัณหาเป็นเครื่องประกอบไว้ ท่องเที่ยวไปมาอยู่ ที่สุดเบื้องต้นย่อมไม่ปรากฏฯ ดูกรภิกษุทั้งหลาย เหมือนอย่างว่า บุรุษตัดทอนหญ้า ไม้กิ่ง ไม้ใบ ไม้ในชมพูทวีปนี้ แล้วจึงรวมกันไว้ ครั้นแล้ว พึงกระทำให้เป็นมัดๆ ละ ๔ นิ้ว วางไว้ สมมติว่า นี้เป็นมารดาของเรา นี้เป็นมารดาของมารดาของเรา โดยลำดับมารดาของมารดาแห่งบุรุษนั้น ไม่พึงสิ้นสุด ส่วนว่า หญ้า ไม้กิ่ง ไม้ใบ ไม้ในชมพูทวีปนี้ พึงถึงการหมดสิ้นไป. พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๖ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๘ สังยุตตนิกาย นิทานวรรค อนมตัคคสังยุตต์ ปฐมวรรคที่ ๑ พึ่งตนพึ่งธรรม นำชีวิตออกจากทุกข์ ขออนุโมทนาบุญกับทุกท่าน ที่มีส่วนร่วมในการจัดทำคลิบนี้ และรับชมคลิบนี้ สาธุครับ

เจริญสมาธิ ได้ชื่อว่ากำลังโน้มเอียงไปสู่นิพพาน

รูปภาพ
สวัสดีครับคุณผู้ชมคุณผู้ฟังทุกท่าน ที่ติดตามรับชมภูริฟิล์ม ธรรมะ ๑ นาที คลิบนี้เสนอตอน เจริญสมาธิ ได้ชื่อว่า กำลังโน้มเอียงไปสู่นิพพาน พระพุทธเจ้าท่านตรัสว่า... ภิกษุทั้งหลาย เปรียบเหมือนแม่น้ำคงคา ไหลไปสู่ทิศปราจีน หลั่งไปสู่ทิศปราจีน บ่าไปสู่ทิศปราจีน ฉันใด ภิกษุเจริญกระทำให้มาก ซึ่งฌานทั้ง ๔ ย่อมเป็นผู้ น้อมไป สู่นิพพาน โน้มไป สู่นิพพาน โอนไป สู่นิพพาน ก็ฉันนั้นเหมือนกัน. ภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุเจริญ กระทำให้มาก ซึ่งฌานทั้ง ๔ อย่างไร ย่อมเป็นผู้ น้อมไปสู่นิพพาน โน้มไปสู่นิพพาน โอนไปสู่นิพพาน. ภิกษุทั้งหลาย. ภิกษุในกรณีนี้ สงัดแล้วจากกาม และจากอกุศลธรรมทั้งหลาย เข้าถึงปฐมฌาน อันมีวิตก วิจาร มีปีติ และสุข อันเกิดจากวิเวกแล้วแลอยู่ เพราะความที่วิตกวิจาร ทั้งสองระงับลง เข้าถึง ทุติยฌาน เป็นเครื่องผ่องใสใจในภายใน ให้สมาธิเป็นธรรมอันเอกผุดมีขึ้น ไม่มีวิตก ไม่มีวิจาร มีแต่ปีติและสุข อันเกิดจากสมาธิ แล้วแลอยู่ เพราะความจางคลายไปแห่งปีติ ย่อมเป็น ผู้อยู่อุเบกขา มีสติและสัมปชัญญะ และย่อมเสวยความสุขด้วยกาย ชนิดที่พระอริยเจ้าทั้งหลาย ย่อมกล่าวสรรเสร

สติ กับสัมปชัญญะ

รูปภาพ
สวัสดีครับคุณผู้ชมคุณผู้ฟังทุกท่าน ที่ติดตามรับชมภูริฟิล์ม ธรรมะ ๑ นาที คลิบนี้เสนอตอน สติ กับสัมปชัญญะ จงเป็นผู้มีสติ คู่กันไปกับ สัมปชัญญะ ครับ พระพุทธเจ้าท่านตรัสว่า... ภิกษุทั้งหลาย! ภิกษุ พึงเป็นผู้มีสติอยู่อย่างมีสัมปชัญญะ : นี้เป็นอนุสาสนีของเรา แก่พวกเธอทั้งหลาย. ภิกษุทั้งหลาย! ภิกษุเป็นผู้มีสติ เป็นอย่างไรเล่า? ภิกษุทั้งหลาย! ภิกษุในกรณีนี้ เป็นผู้เห็นกายในกายอยู่เป็นประจำ มีความเพียร เผากิเลส มีสัมปชัญญะ มีสติ นำออกเสียได้ ซึ่งอภิชฌาและโทมนัสในโลก เป็นผู้เห็นเวทนาในเวทนาอยู่เป็นประจำ มีความเพียรเผากิเลส มีสัมปชัญญะ มีสติ นำออกเสียได้ ซึ่งอภิชฌาและโทมนัสในโลก เป็นผู้เห็นจิตในจิตอยู่เป็นประจำ มีความเพียรเผากิเลส มีสัมปชัญญะ มีสติ นำออกเสียได้ ซึ่งอภิชฌา และโทมนัสในโลก เป็นผู้เห็นธรรมในธรรมทั้งหลายอยู่เป็นประจำ มีความเพียรเผากิเลส มีสัมปชัญญะ มีสติ นำออกเสียได้ ซึ่งอภิชฌา และโทมนัสในโลก. ภิกษุทั้งหลาย! อย่างนี้แล เรียกว่า ภิกษุเป็นผู้มีสติ. ภิกษุทั้งหลาย! ภิกษุเป็นผู้มีสัมปชัญญะ เป็นอย่างไรเล่า? ภิกษุทั้งหลาย! ภิกษุในกรณีนี้ เป็นผู้รู้

สมาธิ มี ๙ ระดับ ตามเห็นการดับของขันธ์ ๕

รูปภาพ
สวัสดีครับคุณผู้ชมคุณผู้ฟังทุกท่าน ที่ติดตามรับชมภูริฟิล์ม ธรรมะ ๑ นาที คลิบนี้เสนอตอน สมาธิ มี ๙ ระดับ ตามเห็นการดับของขันธ์ ๕ พระพุทธเจ้าท่านตรัสว่า... สมาธิ มี ๙ ระดับ คือ รูปสัญญามี ๔ ระดับ อันได้แก่ ๑. ปฐมฌาน (กามสัญญาดับ) ๒. ทุติยฌาน (วิตกวิจารดับ) ๓. ตติยฌาน (ปีติดับ) ๔. จตุตถฌาน (ลมอัสสาสะ ปัสสาสะดับ (คือ สุขในสมาธิดับ นั่นเอง ส่วนอรูปสัญญามี ๔ ระดับ คือ ๕. อากาสานัญจายตนะ (รูปสัญญาดับ) ๖. วิญญาณัญจายตนะ (อากาสานัญจายตนะดับ) ๗. อากิญจัญญายตนะ (วิญญาณัญจายตนะดับ) ๘. เนวสัญญานาสัญญายตนะ (อากิญจัญญายตนะดับ) และสมาธิระดับ ๙. สัญญาเวทยิตนิโรธ (สัญญาและเวทนาดับ) ซึ่งหากทำสมาธิแล้ว ตามเห็นการดับของขันธ์ ๕ ตายไปจะเป็นเทวดาชั้นอริยบุคคล และจะปรินิพพาน ในภพนั้น แต่ถ้าทำสมาธิ ไม่เห็นการเกิดดับ ตายไปจะเป็นเทวดาชั้นปุถุชน คือ ยังไม่พ้น นรก กำเนิดดิรัจฉาน และเปรตวิสัย พึ่งตนพึ่งธรรม นำชีวิตออกจากทุกข์ ขออนุโมทนาบุญกับทุกท่าน ที่มีส่วนร่วมในการจัดทำคลิบนี้ และรับชมคลิบนี้ สาธุครับ

นิพพาน (นามรูปดับสนิท เพราะการดับสนิทของวิญญาณ)

รูปภาพ
สวัสดีครับคุณผู้ชมคุณผู้ฟังทุกท่าน ที่ติดตามรับชมภูริฟิล์ม ธรรมะ ๑ นาที คลิบนี้เสนอตอน นิพพาน พระพุทธเจ้าท่านตรัสว่า “สิ่ง” สิ่งหนึ่ง ซึ่งบุคคลพึงรู้แจ้ง เป็นสิ่งที่ไม่มีปรากฏการณ์ ไม่มีที่สุด แต่มีทางปฏิบัติ เข้ามาถึงได้ โดยรอบนั้นมีอยู่ ใน “สิ่ง”นั้นแหละ ดิน น้ำ ไฟ ลม ไม่หยั่งลงได้ ใน “สิ่ง” นั้นแหละ ความยาว ความสั้น ความเล็ก ความใหญ่ ความงาม ความไม่งาม ไม่หยั่งลงได้ ใน “สิ่ง” นั้นแหละ นามรูปย่อมดับสนิท ไม่มีเศษเหลือ นามรูปดับสนิท ใน “สิ่ง” นี้ เพราะการดับสนิทของวิญญาณ, ดังนี้” กลับมาพบกับธรรมะ ๑ นาที ได้ใหม่ในคลิบหน้า สำหรับคลิบนี้อนุโมทนาบุญครับ

สมาธิ 9 ระดับ รูปสัญญา อรูปสัญญา สัญญาเวทยิตนิโรธ

รูปภาพ
สวัสดีครับคุณผู้ชมคุณผู้ฟังทุกท่านที่ติดตามรับชมภูริฟิล์ม ธรรมะ ๑ นาที คลิบนี้เสนอตอน สมาธิ ๙ ระดับ ซึ่งสมาธิทั้ง ๙ ระดับนี้นะครับ พระพุทธเจ้าท่านตรัสว่า รูปสัญญา มี ๔ ระดับ คือ ปฐมฌาน ทุติยฌาน ตติยฌาน และจตุตถฌาน หรือที่เรียกว่า ฌาน ๑ ๒ ๓ ๔ นั่นเองครับ ส่วนอรูปสัญญา มี ๔ ระดับ คือ อากาสานัญจายตนะ วิญญาณัญจายตนะ อากิญจัญญายตนะ และเนวสัญญานาสัญญายตนะ ส่วนสมาธิ ระดับที่ ๙ คือ สัญญาเวทยิตนิโรธ ซึ่งสัญญาเวทยิตนิโรธนี้นะครับ ก็เป็นชื่อของสมาธิด้วย และเป็นอาการของสมาธิด้วย ครับ

ศีล (กู้หนี้) สมาธิ (ใช้หนี้)

รูปภาพ
สวัสดีครับคุณผู้ชมคุณผู้ฟังทุกท่าน ที่ติดตามรับชมภูริฟิล์ม ธรรมะ ๑ นาที คลิบนี้เสนอตอน ศีล กับ สมาธิ (หรือการกู้หนี้ กับ การใช้หนี้) พระพุทธเจ้าท่านตรัสว่า การทำผิดศีล เท่ากับ กู้หนี้ และความกังวลใจ ในขณะนั่งสมาธิ เท่ากับใช้หนี้ ซึ่งความกังวล ก็คือ เพื่อนสอง หรือที่เรียกว่า (วิปัติศาน บริโภชกังวล) ดังนั้น ก ารรักษาศีล จึงมีความจำเป็น ทำให้ไม่มีความกังวลใจ ในขณะนั่งสมาธิ ไม่ว่าจะอยู่ป่า หรือวิเวก และถ้าทำศีลให้บริสุทธิ์ ไม่กังวล ปิติก็จะเกิดง่าย ความสุขก็เกิดง่าย กลับมาพบกับธรรมะ ๑ นาที ได้ใหม่ในคลิบหน้า สำหรับคลิบนี้อนุโมทนาบุญครับ

รักใครชอบใคร จงสงเคราะห์ด้วยการให้รู้อริยสัจ ๔

รูปภาพ
สวัสดีครับคุณผู้ชมคุณผู้ฟังทุกท่าน ที่ติดตามรับชมภูริฟิล์ม ธรรมะ ๑ นาที คลิบนี้เสนอตอน รักใครชอบใคร จงสงเคราะห์ผู้อื่นด้วยการให้รู้อริยสัจ พระพุทธเจ้าท่านตรัสว่า จงสงเคราะห์ผู้อื่นด้วยการให้รู้อริยสัจ ภิกษุ ทั้งหลาย.! พวกเธอเอ็นดูใคร และใครถือว่าเธอ เป็นผู้ที่เขาควรเชื่อฟัง เขาจะเป็นมิตรก็ตาม อำมาตย์ก็ตาม ญาติหรือสายโลหิตก็ตาม ชนเหล่านั้น อันเธอพึงชักชวนให้เข้าไปตั้งมั่น ในความจริงอันประเสริฐ สี่ประการ ด้วยปัญญา อันรู้ เฉพาะตามที่เป็นจริง ความจริงอันประเสริฐ สี่ประการอะไรเล่า? สี่ประการคือ ๑. ความจริงอันประเสริฐ คือ ทุกข์ ๒. ความจริงอันประเสริฐ คือ เหตุให้เกิดแห่งทุกข์ ๓. ความจริงอันประเสริฐ คือ ความดับไม่เหลือแห่งทุกข์ และ ๔. ความจริงอันประเสริฐคือ ทางดำเนินให้ถึงความดับไม่เหลือแห่งทุกข์. ภิกษุ ทั้งหลาย.! เพราะเหตุนั้นในเรื่องนี้ เธอพึงประกอบโยคกรรม อันเป็นเครื่อง กระทำให้รู้ว่า “ทุกข์ เป็นอย่างนี้ เหตุให้เกิดขึ้นแห่งทุกข์ เป็นอย่างนี้ ความดับไม่เหลือแห่งทุกข์ เป็นอย่างนี้ ทางดำเนินให้ถึงความดับ ไม่เหลือแห่งทุกข์ เป็นอย่างนี้” ดังน

การทำงานของจิต ที่มีรูป เวทนา สัญญา สังขาร เป็นอารมณ์

รูปภาพ
สวัสดีครับคุณผู้ชมคุณผู้ฟังทุกท่าน ที่ติดตามรับชมภูริฟิล์ม ธรรมะ ๑ นาที คลิบนี้เสนอตอน การทำงานของจิต ที่มี รูป เวทนา สัญญา สังขาร เป็นอารมณ์ พระพุทธเจ้าท่านตรัสว่า วิญญาณจะไปตั้งอาศัยอยู่ใน ๔ ธาตุ ซึ่งตัว ๔ ธาตุนี้ พระพุทธเจ้าจะเรียกว่า "อารมณ์" คือ ๑. วิญญาณอาศัย "รูป" ตั้งอยู่ ก็ตั้งอยู่ได้ เป็นวิญญาณที่มี "รูป" เป็นอารมณ์ มี "รูป" เข้าไปตั้งอาศัย มีนันทิเข้าไปซ่องเสพ ก็ถึงความเจริญงอกงาม ไพบูลย์ได้ ๒. วิญญาณอาศัย "เวทนา" ตั้งอยู่ ก็ตั้งอยู่ได้ เป็นวิญญาณที่มี "เวทนา" เป็นอารมณ์ มี "เวทนา" เข้าไปตั้งอาศัย มีนันทิเข้าไปซ่องเสพ ก็ถึงความเจริญ งอกงามไพบูลย์ได้ ๓. วิญญาณอาศัย "สัญญา" ตั้งอยู่ ก็ตั้งอยู่ได้ เป็นวิญญาณที่มี "สัญญา" เป็นอารมณ์ มี "สัญญา" เข้าไปตั้งอาศัย มีนันทิเข้าไปซ่องเสพ ก็ถึงความเจริญ งอกงามไพบูลย์ได้ ๔. วิญญาณอาศัย "สังขาร" ตั้งอยู่ ก็ตั้งอยู่ได้ เป็นวิญญาณที่มี "สังขาร" เป็นอารมณ์ มี "สังขาร" เข้าไปตั้งอาศ

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

ความเข้าใจผิดในเรื่องกรรม มิจฉาทิฏฐิเรื่องกรรม ๔ แบบ

ความหมายของคำว่า "สัตว์" ที่พระพุทธเจ้าท่านเรียกว่า ผู้มีอวิชชา หรือผู้หลง

เต่าตาบอด โอกาสในการเกิดเป็นมนุษย์นั้นยาก

การทำงานของจิต ที่มีรูป เวทนา สัญญา สังขาร เป็นอารมณ์

ฐานะ ๕ ประการ ที่ใครๆ ไม่อาจได้ตามปรารถนา

เจริญสมาธิ ได้ชื่อว่ากำลังโน้มเอียงไปสู่นิพพาน

พระตถาคตเกิดขึ้น แสดงธรรม เพื่อความรำงับ ดับ รู้

รักใครชอบใคร จงสงเคราะห์ด้วยการให้รู้อริยสัจ ๔

ทิ้งเสียนั่นแหละ กลับจะเป็นประโยชน์

ฤกษ์ดี มงคลดี สว่างดี รุ่งดี ขณะดี ยามดี ตามคำสอนพระพุทธเจ้า