สังสารวัฏนี้ หาที่สุดเบื้องต้น เบื้องปลายไม่ได้

รูปภาพ
สวัสดีครับคุณผู้ชมคุณผู้ฟังทุกท่าน ที่ติดตามรับชมภูริฟิล์ม ธรรมะ ๑ นาที คลิบนี้เสนอตอน สังสารวัฏนี้ หาที่สุดเบื้องต้น เบื้องปลายไม่ได้ พระพุทธเจ้าท่านตรัสว่า... ดูกรภิกษุทั้งหลาย สงสารนี้ กำหนดที่สุดเบื้องต้น เบื้องปลายไม่ได้ เมื่อเหล่าสัตว์ผู้มีอวิชชาเป็นที่กางกั้น มีตัณหาเป็นเครื่องประกอบไว้ ท่องเที่ยวไปมาอยู่ ที่สุดเบื้องต้นย่อมไม่ปรากฏฯ ดูกรภิกษุทั้งหลาย เหมือนอย่างว่า บุรุษตัดทอนหญ้า ไม้กิ่ง ไม้ใบ ไม้ในชมพูทวีปนี้ แล้วจึงรวมกันไว้ ครั้นแล้ว พึงกระทำให้เป็นมัดๆ ละ ๔ นิ้ว วางไว้ สมมติว่า นี้เป็นมารดาของเรา นี้เป็นมารดาของมารดาของเรา โดยลำดับมารดาของมารดาแห่งบุรุษนั้น ไม่พึงสิ้นสุด ส่วนว่า หญ้า ไม้กิ่ง ไม้ใบ ไม้ในชมพูทวีปนี้ พึงถึงการหมดสิ้นไป. พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๖ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๘ สังยุตตนิกาย นิทานวรรค อนมตัคคสังยุตต์ ปฐมวรรคที่ ๑ พึ่งตนพึ่งธรรม นำชีวิตออกจากทุกข์ ขออนุโมทนาบุญกับทุกท่าน ที่มีส่วนร่วมในการจัดทำคลิบนี้ และรับชมคลิบนี้ สาธุครับ

สุข ทุกข์ เกิดจากผัสสะ องค์ประกอบของผัสสะ มี ๓ สิ่งเสมอ



สวัสดีครับคุณผู้ชมคุณผู้ฟังทุกท่าน ที่ติดตามรับชมภูริฟิล์ม ธรรมะ ๑ นาที คลิบนี้เสนอตอน สุข ทุกข์ เกิดจากสัมผัสหรือผัสสะ ซึ่งองค์ประกอบของผัสสะ ก็มี ๓ สิ่งเสมอ

พระพุทธเจ้าท่านตรัสว่า ธรรมอันเป็นเหตุ ที่ทำให้เกิดเวทนา หรือองค์ประกอบของผัสสะ มี ๓ สิ่งเสมอ คือ สัมผัส หรือ ผัสสะนั้น มีหกอย่าง คือ

๑. จักขุสัมผัส หมายถึง ความกระทบทางตา คือ ตา + รูป + จักขุวิญญาณ

๒. โสตสัมผัส หมายถึง ความกระทบทางหู คือ หู + เสียง + โสตวิญญาณ

๓. ฆานสัมผัส หมายถึง ความกระทบทางจมูก คือ จมูก + กลิ่น + ฆานวิญญาณ

๔. ชิวหาสัมผัส หมายถึง ความกระทบทางลิ้น คือ ลิ้น + รส + ชิวหาวิญญาณ

๕. กายสัมผัส หมายถึง ความกระทบทางกาย คือ กาย + โผฏฐัพพะ (เช่น ร้อน เย็น อ่อน แข็ง) + กายวิญญาณ

๖. มโนสัมผัส หมายถึง ความกระทบทางใจ คือ ใจ + ธรรมารมณ์ (คือ สิ่งที่ใจนึกคิด) + มโนวิญญาณ ครับ

กลับมาพบกับธรรมะ ๑ นาที ได้ใหม่ในคลิบหน้า สำหรับคลิบนี้อนุโมทนาบุญครับ

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

ความเข้าใจผิดในเรื่องกรรม มิจฉาทิฏฐิเรื่องกรรม ๔ แบบ

ความหมายของคำว่า "สัตว์" ที่พระพุทธเจ้าท่านเรียกว่า ผู้มีอวิชชา หรือผู้หลง

เต่าตาบอด โอกาสในการเกิดเป็นมนุษย์นั้นยาก

การทำงานของจิต ที่มีรูป เวทนา สัญญา สังขาร เป็นอารมณ์

ฐานะ ๕ ประการ ที่ใครๆ ไม่อาจได้ตามปรารถนา

เจริญสมาธิ ได้ชื่อว่ากำลังโน้มเอียงไปสู่นิพพาน

พระตถาคตเกิดขึ้น แสดงธรรม เพื่อความรำงับ ดับ รู้

รักใครชอบใคร จงสงเคราะห์ด้วยการให้รู้อริยสัจ ๔

ทิ้งเสียนั่นแหละ กลับจะเป็นประโยชน์

ฤกษ์ดี มงคลดี สว่างดี รุ่งดี ขณะดี ยามดี ตามคำสอนพระพุทธเจ้า