สังสารวัฏนี้ หาที่สุดเบื้องต้น เบื้องปลายไม่ได้

รูปภาพ
สวัสดีครับคุณผู้ชมคุณผู้ฟังทุกท่าน ที่ติดตามรับชมภูริฟิล์ม ธรรมะ ๑ นาที คลิบนี้เสนอตอน สังสารวัฏนี้ หาที่สุดเบื้องต้น เบื้องปลายไม่ได้ พระพุทธเจ้าท่านตรัสว่า... ดูกรภิกษุทั้งหลาย สงสารนี้ กำหนดที่สุดเบื้องต้น เบื้องปลายไม่ได้ เมื่อเหล่าสัตว์ผู้มีอวิชชาเป็นที่กางกั้น มีตัณหาเป็นเครื่องประกอบไว้ ท่องเที่ยวไปมาอยู่ ที่สุดเบื้องต้นย่อมไม่ปรากฏฯ ดูกรภิกษุทั้งหลาย เหมือนอย่างว่า บุรุษตัดทอนหญ้า ไม้กิ่ง ไม้ใบ ไม้ในชมพูทวีปนี้ แล้วจึงรวมกันไว้ ครั้นแล้ว พึงกระทำให้เป็นมัดๆ ละ ๔ นิ้ว วางไว้ สมมติว่า นี้เป็นมารดาของเรา นี้เป็นมารดาของมารดาของเรา โดยลำดับมารดาของมารดาแห่งบุรุษนั้น ไม่พึงสิ้นสุด ส่วนว่า หญ้า ไม้กิ่ง ไม้ใบ ไม้ในชมพูทวีปนี้ พึงถึงการหมดสิ้นไป. พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๖ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๘ สังยุตตนิกาย นิทานวรรค อนมตัคคสังยุตต์ ปฐมวรรคที่ ๑ พึ่งตนพึ่งธรรม นำชีวิตออกจากทุกข์ ขออนุโมทนาบุญกับทุกท่าน ที่มีส่วนร่วมในการจัดทำคลิบนี้ และรับชมคลิบนี้ สาธุครับ

ธรรม ๖ ประการ ที่ต้องละ เพื่อกระทำให้แจ้งซึ่งอรหัต



สวัสดีครับคุณผู้ชมคุณผู้ฟังทุกท่าน ที่ติดตามรับชมภูริฟิล์ม ธรรมะ ๑ นาที คลิบนี้เสนอตอน ธรรม ๖ ประการ ที่ต้องละ เพื่อกระทำให้แจ้งซึ่งอรหัต

พระพุทธเจ้าท่านตรัสว่า... ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไม่ละธรรม ๖ ประการ ย่อมเป็นผู้ไม่ควร เพื่อทำให้แจ้งซึ่งอรหัต
ธรรม ๖ ประการเป็นไฉน คือ
๑. มานะ (ความถือตัว)
๒. โอมานะ (ความสำคัญว่าเลวกว่าเขา) ๓. อติมานะ (ความเย่อหยิ่ง)
๔. อธิมานะ (ความเข้าใจผิด)
๕. ถัมภะ (ความหัวดื้อ)
๖. อตินิปาตะ (ความดูหมิ่นตนเองว่าเป็นคนเลว)

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไม่ละธรรม ๖ ประการ นี้แล ย่อมเป็นผู้ไม่ควร เพื่อกระทำให้แจ้งซึ่งอรหัตฯ

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุละธรรม ๖ ประการ ย่อมเป็นผู้ควร เพื่อกระทำให้แจ้งซึ่งอรหัต

ธรรม ๖ ประการเป็นไฉน คือ
๑. ความถือตัว
๒. ความสำคัญว่าเลวกว่าเขา
๓. ความเย่อหยิ่ง
๔. ความเข้าใจผิด
๕. ความหัวดื้อ
๖. ความดูหมิ่นตัวเอง ว่าเป็นคนเลว

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุละธรรม ๖ ประการนี้แล ย่อมเป็นผู้ควร เพื่อกระทำให้แจ้งซึ่งอรหัต

พึ่งตนพึ่งธรรม นำชีวิตออกจากทุกข์ ขออนุโมทนาบุญกับทุกท่าน ที่มีส่วนร่วมในการจัดทำคลิบนี้ และรับชมคลิบนี้ สาธุครับ

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

ความเข้าใจผิดในเรื่องกรรม มิจฉาทิฏฐิเรื่องกรรม ๔ แบบ

ความหมายของคำว่า "สัตว์" ที่พระพุทธเจ้าท่านเรียกว่า ผู้มีอวิชชา หรือผู้หลง

เต่าตาบอด โอกาสในการเกิดเป็นมนุษย์นั้นยาก

การทำงานของจิต ที่มีรูป เวทนา สัญญา สังขาร เป็นอารมณ์

ฐานะ ๕ ประการ ที่ใครๆ ไม่อาจได้ตามปรารถนา

เจริญสมาธิ ได้ชื่อว่ากำลังโน้มเอียงไปสู่นิพพาน

พระตถาคตเกิดขึ้น แสดงธรรม เพื่อความรำงับ ดับ รู้

รักใครชอบใคร จงสงเคราะห์ด้วยการให้รู้อริยสัจ ๔

ทิ้งเสียนั่นแหละ กลับจะเป็นประโยชน์

ฤกษ์ดี มงคลดี สว่างดี รุ่งดี ขณะดี ยามดี ตามคำสอนพระพุทธเจ้า