สังสารวัฏนี้ หาที่สุดเบื้องต้น เบื้องปลายไม่ได้

รูปภาพ
สวัสดีครับคุณผู้ชมคุณผู้ฟังทุกท่าน ที่ติดตามรับชมภูริฟิล์ม ธรรมะ ๑ นาที คลิบนี้เสนอตอน สังสารวัฏนี้ หาที่สุดเบื้องต้น เบื้องปลายไม่ได้ พระพุทธเจ้าท่านตรัสว่า... ดูกรภิกษุทั้งหลาย สงสารนี้ กำหนดที่สุดเบื้องต้น เบื้องปลายไม่ได้ เมื่อเหล่าสัตว์ผู้มีอวิชชาเป็นที่กางกั้น มีตัณหาเป็นเครื่องประกอบไว้ ท่องเที่ยวไปมาอยู่ ที่สุดเบื้องต้นย่อมไม่ปรากฏฯ ดูกรภิกษุทั้งหลาย เหมือนอย่างว่า บุรุษตัดทอนหญ้า ไม้กิ่ง ไม้ใบ ไม้ในชมพูทวีปนี้ แล้วจึงรวมกันไว้ ครั้นแล้ว พึงกระทำให้เป็นมัดๆ ละ ๔ นิ้ว วางไว้ สมมติว่า นี้เป็นมารดาของเรา นี้เป็นมารดาของมารดาของเรา โดยลำดับมารดาของมารดาแห่งบุรุษนั้น ไม่พึงสิ้นสุด ส่วนว่า หญ้า ไม้กิ่ง ไม้ใบ ไม้ในชมพูทวีปนี้ พึงถึงการหมดสิ้นไป. พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๖ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๘ สังยุตตนิกาย นิทานวรรค อนมตัคคสังยุตต์ ปฐมวรรคที่ ๑ พึ่งตนพึ่งธรรม นำชีวิตออกจากทุกข์ ขออนุโมทนาบุญกับทุกท่าน ที่มีส่วนร่วมในการจัดทำคลิบนี้ และรับชมคลิบนี้ สาธุครับ

ขี้ตามช้าง คือ ผู้ที่ติดอกติดในในลาภ ไม่เห็นโทษของลาภ



สวัสดีครับคุณผู้ชมคุณผู้ฟังทุกท่าน ที่ติดตามรับชมภูริฟิล์ม ธรรมะ ๑ นาที คลิบนี้เสนอตอน ขี้ตามช้าง คือ ผู้ที่ติดอกติดใจในลาภ ไม่เห็นโทษของลาภ

พระพุทธเจ้าท่านตรัสว่า...
ภิกษุ ท.! เรื่องนี้เคยมีมาแล้ว : มีสระใหญ่ ในที่ใกล้ป่าแห่งหนึ่ง. ช้างทั้งหลาย ได้อาศัยหากิน ในสระใหญ่แห่งนั้น.
มันลงสู่สระแล้ว ใช้งวงถอนหัวบัวและรากบัวขึ้นมา แล้วแกว่งไป แกว่งมาในนํ้า ทำให้หมดเปือกตม แล้วใส่ปากเคี้ยวให้ดีเสียก่อน จึงกลืน ลงไป.
การกินอย่างนี้ ของช้างเหล่านั้น ย่อมทำให้เนื้อตัวเปล่งปลั่ง มีพละกำลัง และไม่ถึง ซึ่งความตาย หรือได้รับทุกข์ เจียนตาย เพราะข้อที่ช้างนั้น รู้จักกินนั้นเอง เป็นเหตุ.

ภิกษุ ท.! ส่วนพวกลูกช้างเล็กๆ อยากจะเอาอย่างช้างใหญ่ๆ บ้าง มันจึงลงสู่ สระบัวนั้น ใช้งวงถอนหัวบัว และรากบัวขึ้นมาได้ ทั้งๆ ที่ยังไม่ได้แกว่งไปแกว่งมาในนํ้า มีเปือกตมติดอยู่ ก็เอาเข้าใส่ปาก ไม่ได้เคี้ยวให้ดีเสียก่อน กลืนลงไปแล้ว.
การกินอย่างนี้ของพวกลูกช้างเล็กๆ นั้น ย่อมไม่ทำให้เนื้อตัวเปล่งปลั่ง มีพละกำลัง แล้วยังจะถึง ซึ่งความตาย หรือได้รับทุกข์เจียนตาย เพราะข้อที่ลูกช้างเหล่านั้น ไม่รู้จักกินนั้นเอง เป็นเหตุ

ภิกษุ ท.! ฉันใดก็ฉันนั้น : ภิกษุผู้เถระทั้งหลาย ในกรณีนี้ เวลาเช้า ครองจีวร ถือบาตร เข้าไปสู่ย่านหมู่บ้าน หรือนิคม เพื่อบิณฑบาต,
พวกภิกษุผู้เถระเหล่านั้น ย่อมกล่าวธรรมอยู่ในที่นั้นๆ พวกคฤหัสถ์ผู้เลื่อมใสต่อภิกษุ ผู้เถระเหล่านั้น ย่อมทำอาการแห่งผู้เลื่อมใส.

อนึ่ง พวกภิกษุผู้เถระนั้นเล่า ก็ไม่ติดอกติดใจ ไม่สยบ ไม่เมาหมก ในลาภนั้นๆ เป็นผู้มองเห็น ส่วนที่เป็นโทษ เป็นผู้รู้แจ่มแจ้ง ในอุบาย เป็นเครื่องออกไปจากทุกข์แล้ว จึงทำการบริโภคลาภนั้น.
การบริโภคอย่างนี้ ของภิกษุผู้เถระเหล่านั้น ย่อมทำให้มีร่างกายสุกใส มีพละ กำลัง และไม่ถึง ซึ่งความตาย หรือได้รับทุกข์เจียนตาย เพราะข้อที่ท่านเหล่านั้น รู้จักการทำการฉันนั้นเอง เป็นเหตุ.

ภิกษุ ท.! ส่วนพวกภิกษุผู้หย่อนวัย อยากจะเอาอย่าง พวกภิกษุผู้เถระเหล่านั้นบ้าง เวลาเช้า ก็ครองจีวร ถือบาตร เข้าไปสู่ย่านหมู่บ้านหรือนิคม เพื่อบิณฑบาต.
พวกเธอก็กล่าวธรรมอยู่ในที่นั้นๆ พวกคฤหัสถ์ผู้เลื่อมใส ต่อภิกษุผู้หย่อนวัยเหล่านั้น ย่อมทำอาการ แห่งผู้เลื่อมใส.

อนึ่ง พวกภิกษุ ผู้หย่อนวัยนั้นเล่า ก็ติดอกติดใจ สยบอยู่ เมาหมกอยู่ในลาภนั้นๆ, เป็นผู้ไม่มองเห็น ส่วนที่เป็นโทษ ไม่เป็นผู้รู้แจ่มแจ้งในอุบาย เป็นเครื่องออกไปจากทุกข์ ทำการบริโภคลาภ นั้น.
การบริโภคอย่างนี้ ของภิกษุผู้เด็กๆ เหล่านั้น ย่อมไม่ทำให้มีร่างกายสุกใส มีพละกำลัง (เหมือนกับผู้ที่บริโภค เพียงเพื่อเป็นการอนุเคราะห์ แก่การประพฤติพรหมจรรย์)
แต่ได้กลับถึง ซึ่งความตาย หรือได้รับทุกข์เจียนตาย เพราะข้อที่ภิกษุเด็กๆ เหล่านั้น ไม่รู้จักการทำการฉัน นั้นเอง เป็นเหตุ.

ภิกษุ ท.! เพราะฉะนั้นในเรื่องนี้ พวกเธอทั้งหลาย พึงสำเหนียกใจไว้ว่า
“เราทั้งหลาย จักเป็นผู้ไม่ติดอกติดใจ ไม่สยบ ไม่เมาหมก ในปัจจัยลาภ มีปรกติ มองเห็นส่วนที่เป็นโทษ เป็นผู้รู้แจ่มแจ้งในอุบาย เป็นเครื่องออกไปจากทุกข์ ทำการบริโภค ปัจจัยลาภนั้น ๆ” ดังนี้.

ภิกษุ ท.! พวกเธอทั้งหลาย พึงสำเหนียกใจไว้อย่างนี้ แล.

(หน้า 84 หนังสือขุมทรัพย์จากพระโอษฐ์ )

พึ่งตนพึ่งธรรม นำชีวิตออกจากทุกข์ ขออนุโมทนาบุญกับทุกท่าน ที่มีส่วนร่วมในการจัดทำคลิบนี้ และรับชมคลิบนี้ สาธุครับ

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

ความเข้าใจผิดในเรื่องกรรม มิจฉาทิฏฐิเรื่องกรรม ๔ แบบ

ความหมายของคำว่า "สัตว์" ที่พระพุทธเจ้าท่านเรียกว่า ผู้มีอวิชชา หรือผู้หลง

เต่าตาบอด โอกาสในการเกิดเป็นมนุษย์นั้นยาก

การทำงานของจิต ที่มีรูป เวทนา สัญญา สังขาร เป็นอารมณ์

ฐานะ ๕ ประการ ที่ใครๆ ไม่อาจได้ตามปรารถนา

เจริญสมาธิ ได้ชื่อว่ากำลังโน้มเอียงไปสู่นิพพาน

พระตถาคตเกิดขึ้น แสดงธรรม เพื่อความรำงับ ดับ รู้

รักใครชอบใคร จงสงเคราะห์ด้วยการให้รู้อริยสัจ ๔

ทิ้งเสียนั่นแหละ กลับจะเป็นประโยชน์

ฤกษ์ดี มงคลดี สว่างดี รุ่งดี ขณะดี ยามดี ตามคำสอนพระพุทธเจ้า