บทความ

กำลังแสดงโพสต์ที่มีป้ายกำกับ อกุศลกรรมบท

สังสารวัฏนี้ หาที่สุดเบื้องต้น เบื้องปลายไม่ได้

รูปภาพ
สวัสดีครับคุณผู้ชมคุณผู้ฟังทุกท่าน ที่ติดตามรับชมภูริฟิล์ม ธรรมะ ๑ นาที คลิบนี้เสนอตอน สังสารวัฏนี้ หาที่สุดเบื้องต้น เบื้องปลายไม่ได้ พระพุทธเจ้าท่านตรัสว่า... ดูกรภิกษุทั้งหลาย สงสารนี้ กำหนดที่สุดเบื้องต้น เบื้องปลายไม่ได้ เมื่อเหล่าสัตว์ผู้มีอวิชชาเป็นที่กางกั้น มีตัณหาเป็นเครื่องประกอบไว้ ท่องเที่ยวไปมาอยู่ ที่สุดเบื้องต้นย่อมไม่ปรากฏฯ ดูกรภิกษุทั้งหลาย เหมือนอย่างว่า บุรุษตัดทอนหญ้า ไม้กิ่ง ไม้ใบ ไม้ในชมพูทวีปนี้ แล้วจึงรวมกันไว้ ครั้นแล้ว พึงกระทำให้เป็นมัดๆ ละ ๔ นิ้ว วางไว้ สมมติว่า นี้เป็นมารดาของเรา นี้เป็นมารดาของมารดาของเรา โดยลำดับมารดาของมารดาแห่งบุรุษนั้น ไม่พึงสิ้นสุด ส่วนว่า หญ้า ไม้กิ่ง ไม้ใบ ไม้ในชมพูทวีปนี้ พึงถึงการหมดสิ้นไป. พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๖ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๘ สังยุตตนิกาย นิทานวรรค อนมตัคคสังยุตต์ ปฐมวรรคที่ ๑ พึ่งตนพึ่งธรรม นำชีวิตออกจากทุกข์ ขออนุโมทนาบุญกับทุกท่าน ที่มีส่วนร่วมในการจัดทำคลิบนี้ และรับชมคลิบนี้ สาธุครับ

เป็นทุกข์ เพราะติดอยู่ในอายตนะ

รูปภาพ
สวัสดีครับคุณผู้ชมคุณผู้ฟังทุกท่าน ที่ติดตามรับชมภูริฟิล์ม ธรรมะ ๑ นาที คลิบนี้เสนอตอน เป็นทุกข์เพราะติดอยู่ในอายตนะ พระพุทธเจ้าท่านตรัสว่า... ภิกษุทั้งหลาย. เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย มีรูปเป็นที่มายินดี ยินดีแล้วในรูป เพลิดเพลินแล้วในรูป. ภิกษุ ท. ! เทวดา และมนุษย์ทั้งหลาย ย่อมอยู่เป็นทุกข์ เพราะความแปรปรวน เสื่อมสลาย และความดับไปของรูป เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย มีเสียงเป็นที่มายินดี ยินดีแล้วในเสียง เพลิดเพลินแล้วในเสียง. ภิกษุ ท. ! เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย ย่อมอยู่เป็นทุกข์ เพราะความแปรปรวน เสื่อมสลาย และความดับไปของเสียง. เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย มีกลิ่นเป็นที่มายินดี ยินดีแล้วในกลิ่น เพลิดเพลินแล้วในกลิ่น. ภิกษุ ท. ! เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย ย่อมอยู่เป็นทุกข์ เพราะความแปรปรวน เสื่อมสลาย และความดับไปของกลิ่น. เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย มีรสเป็นที่มายินดี ยินดีแล้วในรส เพลิดเพลินแล้วในรส. ภิกษุ ท. ! เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย ย่อมอยู่เป็นทุกข์ เพราะความแปรปรวน เสื่อมสลาย และความดับไปของรส. เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย มีโผฏฐัพพะเป็นที่มายินดี ยินดีแล้

ขี้ตามช้าง คือ ผู้ที่ติดอกติดในในลาภ ไม่เห็นโทษของลาภ

รูปภาพ
สวัสดีครับคุณผู้ชมคุณผู้ฟังทุกท่าน ที่ติดตามรับชมภูริฟิล์ม ธรรมะ ๑ นาที คลิบนี้เสนอตอน ขี้ตามช้าง คือ ผู้ที่ติดอกติดใจในลาภ ไม่เห็นโทษของลาภ พระพุทธเจ้าท่านตรัสว่า... ภิกษุ ท.! เรื่องนี้เคยมีมาแล้ว : มีสระใหญ่ ในที่ใกล้ป่าแห่งหนึ่ง. ช้างทั้งหลาย ได้อาศัยหากิน ในสระใหญ่แห่งนั้น. มันลงสู่สระแล้ว ใช้งวงถอนหัวบัวและรากบัวขึ้นมา แล้วแกว่งไป แกว่งมาในนํ้า ทำให้หมดเปือกตม แล้วใส่ปากเคี้ยวให้ดีเสียก่อน จึงกลืน ลงไป. การกินอย่างนี้ ของช้างเหล่านั้น ย่อมทำให้เนื้อตัวเปล่งปลั่ง มีพละกำลัง และไม่ถึง ซึ่งความตาย หรือได้รับทุกข์ เจียนตาย เพราะข้อที่ช้างนั้น รู้จักกินนั้นเอง เป็นเหตุ. ภิกษุ ท.! ส่วนพวกลูกช้างเล็กๆ อยากจะเอาอย่างช้างใหญ่ๆ บ้าง มันจึงลงสู่ สระบัวนั้น ใช้งวงถอนหัวบัว และรากบัวขึ้นมาได้ ทั้งๆ ที่ยังไม่ได้แกว่งไปแกว่งมาในนํ้า มีเปือกตมติดอยู่ ก็เอาเข้าใส่ปาก ไม่ได้เคี้ยวให้ดีเสียก่อน กลืนลงไปแล้ว. การกินอย่างนี้ของพวกลูกช้างเล็กๆ นั้น ย่อมไม่ทำให้เนื้อตัวเปล่งปลั่ง มีพละกำลัง แล้วยังจะถึง ซึ่งความตาย หรือได้รับทุกข์เจียนตาย เพราะข้อที่ลูกช้างเหล่

ตะปูตรึงใจ ๕ ตัว ที่ได้แต่ความเสื่อมในกุศลธรรม

รูปภาพ
สวัสดีครับคุณผู้ชมคุณผู้ฟังทุกท่าน ที่ติดตามรับชมภูริฟิล์ม ธรรมะ ๑ นาที คลิบนี้เสนอตอน ตะปูตรึงใจ ๕ ตัว ที่ได้แต่ความเสื่อมในกุศลธรรม พระพุทธเจ้าท่านตรัสว่า... ภิกษุ ท.! บรรพชิตรูปใด จะเป็นภิกษุ หรือภิกษุณีก็ตาม ยังละตะปูตรึงใจห้าตัวไม่ได้ คืนวันของบรรพชิตรูปนั้น ย่อมผ่านไป โดยหวังได้แต่ความเสื่อม ในกุศลธรรมทั้งหลายอย่างเดียว หาความเจริญมิได้. ตะปูตรึงใจห้าตัว ที่บรรพชิตรูปนั้นยังละไม่ได้ เป็นอย่างไรเล่า? ๑. ภิกษุ ท.! ภิกษุในกรณีนี้ยังสงสัย เคลือบแคลง ไม่ปลงใจเชื่อ ไม่เลื่อมใส ในพระศาสดา. ภิกษุใด เป็นดังกล่าวนี้ จิตของภิกษุนั้น ย่อมไม่น้อมไป เพื่อความเพียรเผากิเลส เพียรประกอบเนืองๆ เพียรตั้งหลัก ติดต่อเนื่องกัน. จิตของผู้ใด ไม่น้อมไปตามนัยที่กล่าวนี้, นั่นแหละ เป็นตะปูตรึงใจตัวที่หนึ่ง ที่เธอนั้นยังละไม่ได้. ๒. ภิกษุ ท.! อีกอย่างหนึ่ง ภิกษุยังสงสัย ฯลฯ ในธรรม _ _ _ฯลฯ _ _ _ นั่นแหละ เป็นตะปูตรึงใจตัวที่สอง ที่เธอนั้นยังละไม่ได้. ๓. ภิกษุ ท.! อีกอย่างหนึ่ง ภิกษุยังสงสัย ฯลฯ ในพระสงฆ์ _ _ _ฯลฯ _ _ _ นั่นแหละ เป็นตะปูตรึงใจตัวที่สาม ที่เธอนั้น

คนแหวกแนว ผู้ทำมหาชนให้เสื่อมเสีย

รูปภาพ
สวัสดีครับคุณผู้ชมคุณผู้ฟังทุกท่าน ที่ติดตามรับชมภูริฟิล์ม ธรรมะ ๑ นาที คลิบนี้เสนอตอน คนแหวกแนว ผู้ทำมหาชนให้เสื่อมเสีย พระพุทธเจ้าท่านตรัสว่า... ภิกษุ ท.! ภิกษุผู้เป็นที่เชื่อถือของมหาชนทั่วไป เมื่อมีการกระทำ สามอย่างนี้แล้ว จะได้ชื่อว่า เป็นผู้ทำมหาชนให้เสื่อมเสีย ทำมหาชน ให้หมดสุข ทำไปเพื่อความฉิบหายแก่มหาชน ไม่เป็นประโยชน์เกื้อกูล แต่เป็นไปเพื่อความทุกข์ ทั้งแก่เทวดา และมนุษย์ทั้งหลาย. การกระทำสามอย่างอะไรบ้างเล่า? สามอย่าง คือ :- (๑) ทำการชักชวนมหาชน ในกายกรรม ๑ อันผิดแนว แห่งการทำที่สุดทุกข์ ในพระศาสนา. (๒) ทำการชักชวนมหาชน ในวจีกรรม ๒ อันผิดแนว แห่งการทำที่สุดทุกข์ ในพระศาสนา. (๓) ทำการชักชวนมหาชน ในการบำเพ็ญทางจิต ๓ อันผิดแนว แห่งการทำที่สุดทุกข์ ในพระศาสนา. ภิกษุ ท.! ภิกษุผู้เป็นที่เชื่อถือของมหาชนทั่วไป, เมื่อมีการกระทำ สามอย่างเหล่านี้ เข้าแล้ว ได้ชื่อว่า เป็นผู้ทำมหาชนให้เสื่อมเสีย ทำมหาชนให้หมดสุข ทำไปเพื่อความฉิบหาย แก่มหาชน ไม่เป็นประโยชน์เกื้อกูล แต่เป็น ไปเพื่อความทุกข์ ทั้งแก่เทวดา และมนุษย์ ทั้งหลายแล. (หน้า 81 หนังสือขุมทรัพ

ความไม่ผ่องใส ไม่งามสง่ารุ่งเรือง (ราคีของนักบวช)

รูปภาพ
สวัสดีครับคุณผู้ชมคุณผู้ฟังทุกท่าน ที่ติดตามรับชมภูริฟิล์ม ธรรมะ ๑ นาที คลิบนี้เสนอตอน ราคีของนักบวช ความไม่ผ่องใส ไม่งามสง่า รุ่งเรือง พระพุทธเจ้าท่านตรัสว่า... ภิกษุ ท.! เครื่องเศร้าหมองของพระจันทร์ และพระอาทิตย์ มีอยู่สี่อย่าง อันเป็นเหตุให้ พระจันทร์ และพระอาทิตย์ ไม่สุกใส ไม่สว่างไสวรุ่งเรือง. สี่อย่างอะไรบ้าง? สี่อย่างคือ เมฆ หมอก ผงคลี และอสุรินทราหู. ภิกษุ ท.! เครื่องเศร้าหมอง ของพระจันทร์และพระอาทิตย์ อันเป็นเหตุให้พระจันทร์และพระอาทิตย์ ไม่สุกใส ไม่สว่างไสวรุ่งเรือง มีอยู่สี่อย่างนี้ ภิกษุ ท.! ฉันใดก็ฉันนั้น : เครื่องเศร้าหมองของสมณพราหมณ์ ก็มีอยู่สี่อย่าง อันเป็นเหตุ ให้สมณพราหมณ์ ไม่ผ่องใส ไม่งามสง่ารุ่งเรือง. สี่อย่าง อะไรบ้าง? สี่อย่างคือ (๑) สมณพราหมณ์พวกหนึ่ง ดื่มสุราเมรัย ไม่งดเว้นจากการดื่มสุรา เมรัย. (๒) สมณพราหมณ์พวกหนึ่ง ยังมีการกระทำ (อย่างใดอย่างหนึ่ง) อย่างที่คนคู่เขาทำต่อกัน ๑ ไม่งดเว้นจากการกระทำเช่นนั้น. (๓) สมณพราหมณ์พวกหนึ่ง รับทองและเงิน ไม่งดเว้นจากการรับทองและเงิน. (๔) สมณพราหมณ์พวกหนึ่ง สำเร็จการเป็นอยู่ ด้

สุนัขขี้เรื้อน (ลาภสักการะ และเสียงเยินยอ)

รูปภาพ
สวัสดีครับคุณผู้ชมคุณผู้ฟังทุกท่าน ที่ติดตามรับชมภูริฟิล์ม ธรรมะ ๑ นาที คลิบนี้เสนอตอน สุนัขขี้เรื้อน ลาภสักการะและเสียงเยินยอ พระพุทธเจ้าท่านตรัสว่า... ภิกษุ ท.! ลาภสักการะและเสียงเยินยอ เป็นอันตรายที่ทารุณแสบเผ็ด หยาบคาย ต่อการบรรลุพระนิพพาน อันเป็นธรรมเกษมจากโยคะ ไม่มีธรรมอื่นยิ่งกว่า. ภิกษุ ท.! พวกเธอเห็นสุนัขจิ้งจอกตัวที่อาศัยอยู่ เมื่อตอนยํ่ารุ่ง แห่งราตรีนี้ไหม? “เห็น พระเจ้าข้า”. ภิกษุ ท.! สุนัขจิ้งจอกตัวนั้น เป็นโรคหูชัน คือ (โรคเรื้อนสุนัข) ๒ วิ่งไปบนแผ่นดิน ก็ไม่สบาย ไปอยู่ที่โคนไม้ ก็ไม่สบาย ไปอยู่กลางแจ้ง ก็ไม่สบาย. มันไปในที่ใด มันยืนในที่ใด มันนั่งในที่ใด มันนอนในที่ใด ล้วนแต่ได้รับทุกข์ทรมาน ในที่นั้น ๆ. ภิกษุ ท.! ภิกษุบางรูป ในศาสนานี้ก็เหมือนกัน ครั้นถูกลาภสักการะและเสียงเยินยอ ครอบงำเอาแล้ว มีจิตติดแน่นอยู่ในสิ่งนั้นๆ ไปอยู่สุญญาคาร ก็ไม่สบาย ไปอยู่โคนไม้ ก็ไม่สบาย ไปอยู่กลางแจ้ง ก็ไม่สบาย. เธอไปในที่ใด เธอยืนในที่ใด เธอนั่งในที่ใด เธอนอนในที่ใด ล้วนแต่ได้รับทุกข์ทรมาน ในที่นั้นๆ ภิกษุ ท.! ลาภสักการะและเสียงเยินยอ เป

ความเป็นทุกข์ ๓ ประการ

รูปภาพ
สวัสดีครับคุณผู้ชมคุณผู้ฟังทุกท่าน ที่ติดตามรับชมภูริฟิล์ม ธรรมะ ๑ นาที คลิบนี้เสนอตอน ความเป็นทุกข์ ๓ ประการ พระพุทธเจ้าท่านตรัสว่า... [๓๑๙] สาวัตถีนิทาน. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ความเป็นทุกข์ ๓ อย่างนี้ ๓ อย่างเป็นไฉน? คือ ๑. ความเป็นทุกข์ เกิดจาก ความไม่สบายกาย ๑ คือ (ไม่สบายในรูปหรือกาย เช่น ร้อนไป หนาวไป) ๒. ความเป็นทุกข์ เกิดจากสังขาร ๑ คือ (จิตปรุงแต่ง ทุกข์ใจ กลุ้มใจ) ๓. ความเป็นทุกข์ เกิดจากความแปรปรวน ๑ คือ (แปรปรวนของรูป หรือกาย เช่นแก่ลง ผมหงอก เป็นต้น) ดูกรภิกษุทั้งหลาย ความเป็นทุกข์ ๓ อย่างนี้แล. [๓๒๐] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุควรเจริญอริยมรรค อันประกอบด้วยองค์ ๘ เพื่อรู้ยิ่ง เพื่อกำหนดรู้ เพื่อความสิ้นไป เพื่อละความเป็นทุกข์ ๓ อย่างนี้แล ฯลฯ ภิกษุควรเจริญอริยมรรค อันประกอบด้วยองค์ ๘ นี้ ฯลฯ (พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๙ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๑ สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค) พึ่งตนพึ่งธรรม นำชีวิตออกจากทุกข์ ขออนุโมทนาบุญกับทุกท่าน ที่มีส่วนร่วมในการจัดทำคลิบนี้ และรับชมคลิบนี้ สาธุครับ

เครื่องกั้น ขัดขวาง เพื่อไม่ให้บรรลุความดี (นิวรณ์)

รูปภาพ
สวัสดีครับคุณผู้ชมคุณผู้ฟังทุกท่าน ที่ติดตามรับชมภูริฟิล์ม ธรรมะ ๑ นาที คลิบนี้เสนอตอน นิวรณ์ เครื่องกั้น ขัดขวาง เพื่อไม่ให้บรรลุความดี พระพุทธเจ้าท่านตรัสว่า... นิวรณ์ แปลว่า เครื่องกั้น อันหมายถึงธรรม ที่เป็นเครื่องปิดกั้น หรือขัดขวางไม่ให้บรรลุความดี ไม่เปิดโอกาสให้ทำความดี และเป็นเครื่องกั้นความดีไว้ ไม่ให้เข้าถึงจิต เป็นอุปสรรคสำคัญ ที่ทำให้ผู้ปฏิบัติบรรลุธรรมไม่ได้ หรือทำให้เลิกล้มความตั้งใจปฏิบัติไป ซึ่งนิวรณ์ มี 5 อย่าง คือ * 1) กามฉันทะ - ความพอใจ ติดใจ หลงใหลใฝ่ฝัน ในกามโลกีย์ทั้งปวง ดุจคนหลับอยู่ 2) พยาบาท - ความไม่พอใจ จากความไม่ได้สมดังปรารถนา ในโลกียะสมบัติทั้งปวง ดุจคนถูกทัณท์ ทรมานอยู่ 3) ถีนมิทธะ - ความขี้เกียจ ท้อแท้ อ่อนแอ หมดอาลัย ไร้กำลังทั้งกายใจ ไม่ฮึกเหิม 4) อุทธัจจะกุกกุจจะ - ความคิดซัดส่าย ตลอดเวลา ไม่สงบนิ่งอยู่ในความคิดใดๆ 5) วิจิกิจฉา - ความไม่แน่ใจ ลังเลใจ สงสัย กังวล กล้าๆ กลัวๆ ไม่เต็มที่ ไม่มั่นใจ ซึ่งนิวรณ์ 5 ประการนี้เอง ที่เป็นเครื่องปิดกั้น หรือขัดขวางไม่ให้บรรลุความดี ไม่เปิดโอกาสให้ทำความดี และ

นิวรณ์ ๕ เครื่องกางกั้น ที่ทำปัญญาให้ถอยกำลัง

รูปภาพ
สวัสดีครับคุณผู้ชมคุณผู้ฟังทุกท่าน ที่ติดตามรับชมภูริฟิล์ม ธรรมะ ๑ นาที คลิบนี้เสนอตอน นิวรณ์ ๕ เครื่องกางกั้น ที่ทำปัญญาให้ถอยกำลัง ครับ พระพุทธเจ้าท่านตรัสว่า... นิวรณ์เป็นเครื่องกางกั้น ๕ อย่างเหล่านี้ ท่วมทับจิตแล้ว ทำปัญญาให้ถอยกำลัง มีอยู่ห้าอย่าง คือ ๑.กามฉันทะ คือ ความพอใจ ติดใจ หลงใหล ใฝ่ฝัน ในกามโลกีย์ทั้งปวง ดุจคนหลับอยู่ ๒. พยาบาท คือ ความไม่พอใจ ไม่ได้สมปรารถนา ในโลกียะทั้งปวง ดุจคนถูกทัณท์ทรมานอยู่ ๓. ถีนมิทธะ คือ ความขี้เกียจ ท้อแท้ อ่อนแอ หมดอาลัย ไร้กำลังทั้งกายใจ ไม่ฮึกเหิม ๔. อุทธัจจะกุกกุจจะ ความคิดซัดส่าย ตลอดเวลา ไม่สงบนิ่ง อยู่ในความคิดใดๆ ๕. วิจิกิจฉา คือ ความไม่แน่ใจ ลังเลใจ สงสัย กังวล กล้าๆ กลัวๆ ไม่เต็มที่ ไม่มั่นใจ พึ่งตนพึ่งธรรม นำชีวิตออกจากทุกข์ ขออนุโมทนาบุญกับทุกท่าน ที่มีส่วนร่วมในการจัดทำคลิบนี้ และรับชมคลิบนี้ สาธุครับ

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

ความเข้าใจผิดในเรื่องกรรม มิจฉาทิฏฐิเรื่องกรรม ๔ แบบ

ความหมายของคำว่า "สัตว์" ที่พระพุทธเจ้าท่านเรียกว่า ผู้มีอวิชชา หรือผู้หลง

เต่าตาบอด โอกาสในการเกิดเป็นมนุษย์นั้นยาก

การทำงานของจิต ที่มีรูป เวทนา สัญญา สังขาร เป็นอารมณ์

ฐานะ ๕ ประการ ที่ใครๆ ไม่อาจได้ตามปรารถนา

เจริญสมาธิ ได้ชื่อว่ากำลังโน้มเอียงไปสู่นิพพาน

พระตถาคตเกิดขึ้น แสดงธรรม เพื่อความรำงับ ดับ รู้

รักใครชอบใคร จงสงเคราะห์ด้วยการให้รู้อริยสัจ ๔

ทิ้งเสียนั่นแหละ กลับจะเป็นประโยชน์

ฤกษ์ดี มงคลดี สว่างดี รุ่งดี ขณะดี ยามดี ตามคำสอนพระพุทธเจ้า