บทความ

กำลังแสดงโพสต์ที่มีป้ายกำกับ ธรรมะ 1 นาที

สังสารวัฏนี้ หาที่สุดเบื้องต้น เบื้องปลายไม่ได้

รูปภาพ
สวัสดีครับคุณผู้ชมคุณผู้ฟังทุกท่าน ที่ติดตามรับชมภูริฟิล์ม ธรรมะ ๑ นาที คลิบนี้เสนอตอน สังสารวัฏนี้ หาที่สุดเบื้องต้น เบื้องปลายไม่ได้ พระพุทธเจ้าท่านตรัสว่า... ดูกรภิกษุทั้งหลาย สงสารนี้ กำหนดที่สุดเบื้องต้น เบื้องปลายไม่ได้ เมื่อเหล่าสัตว์ผู้มีอวิชชาเป็นที่กางกั้น มีตัณหาเป็นเครื่องประกอบไว้ ท่องเที่ยวไปมาอยู่ ที่สุดเบื้องต้นย่อมไม่ปรากฏฯ ดูกรภิกษุทั้งหลาย เหมือนอย่างว่า บุรุษตัดทอนหญ้า ไม้กิ่ง ไม้ใบ ไม้ในชมพูทวีปนี้ แล้วจึงรวมกันไว้ ครั้นแล้ว พึงกระทำให้เป็นมัดๆ ละ ๔ นิ้ว วางไว้ สมมติว่า นี้เป็นมารดาของเรา นี้เป็นมารดาของมารดาของเรา โดยลำดับมารดาของมารดาแห่งบุรุษนั้น ไม่พึงสิ้นสุด ส่วนว่า หญ้า ไม้กิ่ง ไม้ใบ ไม้ในชมพูทวีปนี้ พึงถึงการหมดสิ้นไป. พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๖ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๘ สังยุตตนิกาย นิทานวรรค อนมตัคคสังยุตต์ ปฐมวรรคที่ ๑ พึ่งตนพึ่งธรรม นำชีวิตออกจากทุกข์ ขออนุโมทนาบุญกับทุกท่าน ที่มีส่วนร่วมในการจัดทำคลิบนี้ และรับชมคลิบนี้ สาธุครับ

ความเป็นทุกข์ ๓ ประการ

รูปภาพ
สวัสดีครับคุณผู้ชมคุณผู้ฟังทุกท่าน ที่ติดตามรับชมภูริฟิล์ม ธรรมะ ๑ นาที คลิบนี้เสนอตอน ความเป็นทุกข์ ๓ ประการ พระพุทธเจ้าท่านตรัสว่า... [๓๑๙] สาวัตถีนิทาน. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ความเป็นทุกข์ ๓ อย่างนี้ ๓ อย่างเป็นไฉน? คือ ๑. ความเป็นทุกข์ เกิดจาก ความไม่สบายกาย ๑ คือ (ไม่สบายในรูปหรือกาย เช่น ร้อนไป หนาวไป) ๒. ความเป็นทุกข์ เกิดจากสังขาร ๑ คือ (จิตปรุงแต่ง ทุกข์ใจ กลุ้มใจ) ๓. ความเป็นทุกข์ เกิดจากความแปรปรวน ๑ คือ (แปรปรวนของรูป หรือกาย เช่นแก่ลง ผมหงอก เป็นต้น) ดูกรภิกษุทั้งหลาย ความเป็นทุกข์ ๓ อย่างนี้แล. [๓๒๐] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุควรเจริญอริยมรรค อันประกอบด้วยองค์ ๘ เพื่อรู้ยิ่ง เพื่อกำหนดรู้ เพื่อความสิ้นไป เพื่อละความเป็นทุกข์ ๓ อย่างนี้แล ฯลฯ ภิกษุควรเจริญอริยมรรค อันประกอบด้วยองค์ ๘ นี้ ฯลฯ (พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๙ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๑ สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค) พึ่งตนพึ่งธรรม นำชีวิตออกจากทุกข์ ขออนุโมทนาบุญกับทุกท่าน ที่มีส่วนร่วมในการจัดทำคลิบนี้ และรับชมคลิบนี้ สาธุครับ

เครื่องกั้น ขัดขวาง เพื่อไม่ให้บรรลุความดี (นิวรณ์)

รูปภาพ
สวัสดีครับคุณผู้ชมคุณผู้ฟังทุกท่าน ที่ติดตามรับชมภูริฟิล์ม ธรรมะ ๑ นาที คลิบนี้เสนอตอน นิวรณ์ เครื่องกั้น ขัดขวาง เพื่อไม่ให้บรรลุความดี พระพุทธเจ้าท่านตรัสว่า... นิวรณ์ แปลว่า เครื่องกั้น อันหมายถึงธรรม ที่เป็นเครื่องปิดกั้น หรือขัดขวางไม่ให้บรรลุความดี ไม่เปิดโอกาสให้ทำความดี และเป็นเครื่องกั้นความดีไว้ ไม่ให้เข้าถึงจิต เป็นอุปสรรคสำคัญ ที่ทำให้ผู้ปฏิบัติบรรลุธรรมไม่ได้ หรือทำให้เลิกล้มความตั้งใจปฏิบัติไป ซึ่งนิวรณ์ มี 5 อย่าง คือ * 1) กามฉันทะ - ความพอใจ ติดใจ หลงใหลใฝ่ฝัน ในกามโลกีย์ทั้งปวง ดุจคนหลับอยู่ 2) พยาบาท - ความไม่พอใจ จากความไม่ได้สมดังปรารถนา ในโลกียะสมบัติทั้งปวง ดุจคนถูกทัณท์ ทรมานอยู่ 3) ถีนมิทธะ - ความขี้เกียจ ท้อแท้ อ่อนแอ หมดอาลัย ไร้กำลังทั้งกายใจ ไม่ฮึกเหิม 4) อุทธัจจะกุกกุจจะ - ความคิดซัดส่าย ตลอดเวลา ไม่สงบนิ่งอยู่ในความคิดใดๆ 5) วิจิกิจฉา - ความไม่แน่ใจ ลังเลใจ สงสัย กังวล กล้าๆ กลัวๆ ไม่เต็มที่ ไม่มั่นใจ ซึ่งนิวรณ์ 5 ประการนี้เอง ที่เป็นเครื่องปิดกั้น หรือขัดขวางไม่ให้บรรลุความดี ไม่เปิดโอกาสให้ทำความดี และ

สิ่งที่ควรทำ และไม่ควรทำ (กุศลกรรมบถ ๑๐, อกุศลกรรมบถ ๑๐)

รูปภาพ
สวัสดีครับคุณผู้ชมคุณผู้ฟังทุกท่าน ที่ติดตามรับชมภูริฟิล์ม ธรรมะ ๑ นาที คลิบนี้เสนอตอน กุศลกรรมบถ ๑๐ และอกุศลกรรมบถ ๑๐ พระพุทธเจ้าท่านตรัสว่า... กุศลกรรมบถ ๑๐ เป็นเหตุให้ เทวดาปรากฏ เป็นเหตุให้ มนุษย์ปรากฏ สุคติใดๆ แม้อื่นอีก ย่อมมี ซึ่งแบ่งออกเป็น กายกรรม ๓ ประการ คือ ๑. ไม่ฆ่า หรือทำลายชีวิตผู้อื่น ๒. ไม่ลักขโมย ไม่เอาทรัพย์ของผู้อื่น มาเป็นของตน ๓. ไม่ประพฤติผิดในกาม ส่วนวจีกรรม(หรือสัมมาวาจา) มี ๔ ประการ คือ ๔. ไม่พูดเท็จ ๕. ไม่พูดส่อเสียด ๖. ไม่พูดคำหยาบคาย ๗. ไม่พูดเพ้อเจ้อ ส่วนมโนกรรม ๓ ประการ คือ ๘. ไม่โลภอยากได้ของคนอื่น ๙. ไม่คิดพยาบาทปองร้ายผู้อื่น ๑๐. เห็นชอบตามคลองธรรม ส่วนอกุศลกรรมบถ ๑๐ เป็นเหตให้นรกปรากฏ กำเนิดเดรัจฉานย่อมปรากฏ เปรตวิสัยย่อมปรากฏ ทุคติใดๆ แม้อื่นอีก ย่อมมี ซึ่งกายกรรมมี ๓ ประการ คือ ๑. ฆ่า หรือทำลายชีวิตผู้อื่น ๒. ลักขโมย เอาทรัพย์ของผู้อื่นมาเป็นของตน ๓. ประพฤติผิดในกาม ส่วนวจีกรรมมี ๔ ประการ (หรือมิจฉาวาจา) คือ ๔. พูดเท็จ ๕. พูดส่อเสียด ๖. พูดคำหยาบคาย ๗. พูดเพ้อเจ้

คุณและโทษของวิญญาณ

รูปภาพ
สวัสดีครับคุณผู้ชมคุณผู้ฟังทุกท่าน ที่ติดตามรับชมภูริฟิล์ม ธรรมะ ๑ นาที คลิบนี้เสนอตอน คุณและโทษของวิญญาณ พระพุทธเจ้าท่านตรัสว่า... ภิกษุทั้งหลาย สุขโสมนัสใดๆ อาศัยวิญญาณเกิดขึ้น นี้เป็นคุณแห่งวิญญาณ (อัสสาทะ) วิญญาณไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา นี้เป็นโทษแห่งวิญญาณ (อาทีนวะ) การกำจัดฉันทราคะ การละฉันทราคะในวิญญาณ นี้เป็นอุบายเครื่องสลัดออก แห่งวิญญาณ (นิสสรณะ). พึ่งตนพึ่งธรรม นำชีวิตออกจากทุกข์ ขออนุโมทนาบุญกับทุกท่าน ที่มีส่วนร่วมในการจัดทำคลิบนี้ และรับชมคลิบนี้ สาธุครับ

สมาธิ มี ๙ ระดับ ตามเห็นการดับของขันธ์ ๕

รูปภาพ
สวัสดีครับคุณผู้ชมคุณผู้ฟังทุกท่าน ที่ติดตามรับชมภูริฟิล์ม ธรรมะ ๑ นาที คลิบนี้เสนอตอน สมาธิ มี ๙ ระดับ ตามเห็นการดับของขันธ์ ๕ พระพุทธเจ้าท่านตรัสว่า... สมาธิ มี ๙ ระดับ คือ รูปสัญญามี ๔ ระดับ อันได้แก่ ๑. ปฐมฌาน (กามสัญญาดับ) ๒. ทุติยฌาน (วิตกวิจารดับ) ๓. ตติยฌาน (ปีติดับ) ๔. จตุตถฌาน (ลมอัสสาสะ ปัสสาสะดับ (คือ สุขในสมาธิดับ นั่นเอง ส่วนอรูปสัญญามี ๔ ระดับ คือ ๕. อากาสานัญจายตนะ (รูปสัญญาดับ) ๖. วิญญาณัญจายตนะ (อากาสานัญจายตนะดับ) ๗. อากิญจัญญายตนะ (วิญญาณัญจายตนะดับ) ๘. เนวสัญญานาสัญญายตนะ (อากิญจัญญายตนะดับ) และสมาธิระดับ ๙. สัญญาเวทยิตนิโรธ (สัญญาและเวทนาดับ) ซึ่งหากทำสมาธิแล้ว ตามเห็นการดับของขันธ์ ๕ ตายไปจะเป็นเทวดาชั้นอริยบุคคล และจะปรินิพพาน ในภพนั้น แต่ถ้าทำสมาธิ ไม่เห็นการเกิดดับ ตายไปจะเป็นเทวดาชั้นปุถุชน คือ ยังไม่พ้น นรก กำเนิดดิรัจฉาน และเปรตวิสัย พึ่งตนพึ่งธรรม นำชีวิตออกจากทุกข์ ขออนุโมทนาบุญกับทุกท่าน ที่มีส่วนร่วมในการจัดทำคลิบนี้ และรับชมคลิบนี้ สาธุครับ

ผู้เชื่อฟังพระตถาคต จะได้รับประโยชน์สุข สิ้นกาลนาน

รูปภาพ
สวัสดีครับคุณผู้ชมคุณผู้ฟังทุกท่าน ที่ติดตามรับชมภูริฟิล์ม ธรรมะ ๑ นาที คลิบนี้เสนอตอน ผู้เชื่อฟังพระตถาคต จะได้รับประโยชน์สุข สิ้นกาลนาน พระพุทธเจ้าท่านตรัสว่า... ภิกษุ ท.! เราแล เป็นผู้ฉลาดในเรื่องโลกนี้ ฉลาดในเรื่องโลกอื่น เป็นผู้ฉลาดต่อวัฎฎะ อันเป็นที่อยู่ของมาร ฉลาดต่อวิวัฎฎะ อันไม่เป็นที่อยู่ของมาร เป็นผู้ฉลาดต่อวัฎฎะ อันเป็นที่อยู่ของมฤตยู ฉลาดต่อวิวัฎฎะ อันไม่เป็นทีอยู่ของมฤตยู. ชนเหล่าใด ถือว่าเรื่องนี้ ควรฟัง ควรเชื่อ ข้อนั้น จักเป็นไปเพื่อประโยชน์เกื้อกูล เพื่อความสุข แก่ชนทั้งหลายเหล่านั้น สิ้นกาลนาน (ครั้นพระผู้มีพระภาคได้ตรัสคํานี้แล้ว พระสุคตได้ตรัสคําอื่น อีกดังนี้ว่า) ทั้งโลกนี้ แลโลกอื่น ตถาคตผู้ทราบดีอยู่ ได้ประกาศไว้ชัดแจ้งแล้ว. ทั้งที่ที่มาร ไปไม่ถึง และที่ที่มฤตยูไปไม่ถึง ตถาคตผู้รู้ชัด เข้าใจชัด ได้ประกาศไว้ชัดแจ้งแล้ว เพราะความรู้โลกทั้งปวง. ประตูนคร แห่งความไม่ตาย ตถาคตเปิดโล่งไว้แล้ว เพื่อสัตว์ทั้งหลาย เข้าถึงถิ่นอันเกษม กระแสแห่งมารผู้มีบาป ตถาคตปิดกั้นเสียแล้ว กำจัดเสียแล้ว ทำให้หมด พิษสงแล้ว พึ่งตนพึ

พระตถาคตเกิดขึ้น แสดงธรรม เพื่อความรำงับ ดับ รู้

รูปภาพ
สวัสดีครับคุณผู้ชมคุณผู้ฟังทุกท่าน ที่ติดตามรับชมภูริฟิล์ม ธรรมะ ๑ นาที คลิบนี้เสนอตอน พระตถาคตเกิดขึ้นนี้ แสดงธรรม เพื่อความรำงับ ดับ รู้. พระพุทธเจ้าท่านตรัสว่า... ภิกษุ ท.! ตถาคตเกิดขึ้นแล้วในโลกนี้ เป็นพระอรหันต์ ผู้ตรัสรู้ชอบด้วยตนเอง  สมบูรณ์ด้วยวิชชา และจรณะ ดำเนินไปดี รู้แจ้งโลก เป็นสารถี ฝึกคนควรฝึก ไม่มีใครยิ่งกว่า เป็นครูของเทวดาและมนุษย์ เป็นผู้เบิกบาน แล้วจำแนกธรรมออกสั่งสอนสัตว์. ธรรมที่ตถาคตแสดงนั้น เป็นธรรม ที่เป็นไปเพื่อ ความสงบ รำงับ เป็นธรรม ที่เป็นไปเพื่อ ความดับ เย็นสนิท เป็นธรรม ที่เป็นไปเพื่อ ความรู้ ครบถ้วน เป็นธรรม ที่ประกาศไว้ โดยพระสุคต. พึ่งตนพึ่งธรรม นำชีวิตออกจากทุกข์ ขออนุโมทนาบุญกับทุกท่าน ที่มีส่วนร่วมในการจัดทำคลิบนี้ และรับชมคลิบนี้ สาธุครับ

บุคคล ๙ จำพวก ที่ควรคำนับ ควรทำบุญ เป็นผู้ควรกระทำอัญชลี เป็นนาบุญของโลก

รูปภาพ
สวัสดีครับคุณผู้ชมคุณผู้ฟังทุกท่าน ที่ติดตามรับชมภูริฟิล์ม ธรรมะ ๑ นาที คลิบนี้เสนอตอน บุคคล ๙ จำพวก ที่ควรคำนับ ควรทำบุญ เป็นผู้ควรกระทำอัญชลี เป็นนาบุญของโลก พระพุทธเจ้าท่านตรัสว่า... [๒๑๔] ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคล ๙ จำพวกนี้ เป็นผู้ควรของคำนับ เป็นผู้ควรของต้อนรับ เป็นผู้ควรของทำบุญ เป็นผู้ควรกระทำอัญชลี เป็นนาบุญของโลก ไม่มีนาบุญอื่น ยิ่งกว่า ๙ จำพวกเป็นไฉน คือ พระอรหันต์ ๑ ท่านผู้ปฏิบัติ เพื่อความเป็นพระอรหันต์ ๑ พระอนาคามี ๑ ท่านผู้ปฏิบัติ เพื่อกระทำให้แจ้ง ซึ่งอนาคามิผล ๑ พระสกทาคามี ๑ ท่านผู้ปฏิบัติ เพื่อกระทำให้แจ้ง ซึ่งสกทาคามิผล ๑ พระโสดาบัน ๑ ท่านผู้ปฏิบัติ เพื่อกระทำให้แจ้ง ซึ่งโสดาปัตติผล ๑ และ คตรภูบุคคล ๑ (ซึ่งโคตรภูบุคคล ก็คือ ผู้กำลังก้าวล่วงพ้น ความเป็นปุถุชน และกำลังเข้าสู่ ความเป็นอริยะบุคคล) ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคล ๙ จำพวกเหล่านี้แล เป็นผู้ควรของคำนับ ฯลฯ เป็นผู้ควรของต้อนรับ เป็นผู้ควรของทำบุญ เป็นผู้ควรกระทำอัญชลี เป็นนาบุญของโลก ไม่มีนาบุญอื่นยิ่งกว่า จบสูตรที่ ๑๐ พระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๓

พรหม เป็นชื่อของมารดา และบิดา

รูปภาพ
สวัสดีครับคุณผู้ชมคุณผู้ฟังทุกท่าน ที่ติดตามรับชมภูริฟิล์ม ธรรมะ ๑ นาที คลิบนี้เสนอตอน พรหม เป็นชื่อของมารดา และบิดา พระพุทธเจ้าท่านตรัสว่า... ดูกรภิกษุทั้งหลาย สกุลใด บุตรบูชามารดาบิดาในเรือนตน สกุลนั้นมีพรหม สกุลใด บุตรบูชามารดาบิดาในเรือนตน สกุลนั้นมีบุรพาจารย์ สกุลใด บุตรบูชามารดาบิดาในเรือนตน สกุลนั้นมีอาหุไนยบุคคล (อาหุไนยบุคคล หมายถึง ผู้สมควรได้รับสิ่งของ สำหรับบูชา ซึ่งเป็นสิ่งของที่ดี ประณีตบรรจง) ดูกรภิกษุทั้งหลาย คำว่าพรหมนี้ เป็นชื่อของมารดา และบิดา คำว่าบุรพาจารย์นี้ เป็นชื่อของมารดา และบิดา คำว่าอาหุไนยบุคคลนี้ เป็นชื่อของมารดา และบิดา ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะมารดาบิดามีอุปการะมาก บำรุงเลี้ยงแสดงโลกนี้แก่บุตรฯ มารดาบิดา ผู้อนุเคราะห์ บุตรท่าน เรียกว่าพรหม ว่าบุรพาจารย์ และว่าอาหุไนยบุคคล เพราะฉะนั้น บัณฑิตพึงนมัสการ และสักการะมารดาบิดา ด้วยข้าว น้ำ ผ้า ที่นอน การอบกลิ่น การให้ อาบน้ำ และการล้างเท้าทั้งสอง เพราะการปรนนิบัติในมารดาบิดา นั้นแล บัณฑิตย่อมสรรเสริญเขา ในโลกนี้เอง เขาละไปแล้ว ย่อมบันเทิงในสวรรค์ฯ พึ่งตนพึ่งธรรม นำชีวิต

นิวรณ์ ๕ เครื่องกางกั้น ที่ทำปัญญาให้ถอยกำลัง

รูปภาพ
สวัสดีครับคุณผู้ชมคุณผู้ฟังทุกท่าน ที่ติดตามรับชมภูริฟิล์ม ธรรมะ ๑ นาที คลิบนี้เสนอตอน นิวรณ์ ๕ เครื่องกางกั้น ที่ทำปัญญาให้ถอยกำลัง ครับ พระพุทธเจ้าท่านตรัสว่า... นิวรณ์เป็นเครื่องกางกั้น ๕ อย่างเหล่านี้ ท่วมทับจิตแล้ว ทำปัญญาให้ถอยกำลัง มีอยู่ห้าอย่าง คือ ๑.กามฉันทะ คือ ความพอใจ ติดใจ หลงใหล ใฝ่ฝัน ในกามโลกีย์ทั้งปวง ดุจคนหลับอยู่ ๒. พยาบาท คือ ความไม่พอใจ ไม่ได้สมปรารถนา ในโลกียะทั้งปวง ดุจคนถูกทัณท์ทรมานอยู่ ๓. ถีนมิทธะ คือ ความขี้เกียจ ท้อแท้ อ่อนแอ หมดอาลัย ไร้กำลังทั้งกายใจ ไม่ฮึกเหิม ๔. อุทธัจจะกุกกุจจะ ความคิดซัดส่าย ตลอดเวลา ไม่สงบนิ่ง อยู่ในความคิดใดๆ ๕. วิจิกิจฉา คือ ความไม่แน่ใจ ลังเลใจ สงสัย กังวล กล้าๆ กลัวๆ ไม่เต็มที่ ไม่มั่นใจ พึ่งตนพึ่งธรรม นำชีวิตออกจากทุกข์ ขออนุโมทนาบุญกับทุกท่าน ที่มีส่วนร่วมในการจัดทำคลิบนี้ และรับชมคลิบนี้ สาธุครับ

พระโสดาบันประกอบพร้อมแล้ว ด้วยอริยมรรคมีองค์แปด

รูปภาพ
สวัสดีครับคุณผู้ชมคุณผู้ฟังทุกท่าน ที่ติดตามรับชมภูริฟิล์ม ธรรมะ ๑ นาที คลิบนี้เสนอตอน พระโสดาบันประกอบพร้อมแล้ว ด้วยอริยมรรคมีองค์แปด พระพุทธเจ้าท่านตรัสว่า... สารีบุตร! ที่มักกล่าวกันว่า โสดาบัน โสดาบัน ดังนี้ เป็นอย่างไรเล่า สารีบุตร? “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ! ท่านผู้ใด เป็นผู้ประกอบพร้อมแล้ว ด้วยอริยมรรคมีองค์แปดนี้อยู่ ผู้เช่นนั้นแล ข้าพระองค์เรียกว่า เป็นพระโสดาบัน ผู้มีชื่ออย่างนี้ๆ มีโคตรอย่างนี้ๆ พระเจ้าข้า!” สารีบุตร! ถูกแล้ว ถูกแล้ว ผู้ที่ประกอบพร้อมแล้ว ด้วยอริยมรรคมีองค์แปดนี้อยู่ ถึงเราเองก็เรียกผู้เช่นนั้น ว่าเป็น พระโสดาบัน ผู้มีชื่ออย่างนี้ๆ มีโคตรอย่างนี้ๆ. มหาวาร. สํ. ๑๙/๔๓๕/๑๔๓๒-๑๔๓ พึ่งตนพึ่งธรรม นำชีวิตออกจากทุกข์ ขออนุโมทนาบุญกับทุกท่าน ที่มีส่วนร่วมในการจัดทำคลิบนี้ และรับชมคลิบนี้ สาธุครับ

“สิ่งนั้น” หาพบในกายนี้

รูปภาพ
สวัสดีครับคุณผู้ชมคุณผู้ฟังทุกท่าน ที่ติดตามรับชมภูริฟิล์ม ธรรมะ ๑ นาที คลิบนี้เสนอตอน “สิ่งนั้น” หาพบในกายนี้ ครับ พระพุทธเจ้าท่านตรัสว่า... “แน่ะเธอ! ที่สุดโลกแห่งใด อันสัตว์ไม่เกิด ไม่แก่ ไม่ตาย ไม่จุติ ไม่อุบัติ เราไม่กล่าวว่า ใครๆ อาจรู้ อาจเห็น อาจถึงที่สุดแห่งโลกนั้น ได้ด้วยการไป. “แน่ะเธอ! ในร่างกายที่ยาวประมาณวาหนึ่ง ที่ยังประกอบด้วยสัญญา และใจนี้เอง เราได้บัญญัติโลก, เหตุให้เกิดโลก ความดับสนิท ไม่เหลือของโลก และทางดำเนินให้ถึง ความดับสนิท ไม่เหลือของโลกไว้” ดังนี้แล. -บาลี จตุกฺก. อํ. ๒๑/๖๐/๔๕. พึ่งตนพึ่งธรรม นำชีวิตออกจากทุกข์ ขออนุโมทนาบุญกับทุกท่าน ที่มีส่วนร่วมในการจัดทำคลิบนี้ และรับชมคลิบนี้ สาธุครับ

คำสอนที่พระพุทธเจ้า ทรงสั่งสอนบ่อยมาก

รูปภาพ
สวัสดีครับคุณผู้ชมคุณผู้ฟังทุกท่าน ที่ติดตามรับชมภูริฟิล์ม ธรรมะ ๑ นาที คลิบนี้เสนอตอน คำสอนที่พระพุทธเจ้า ทรงสั่งสอนบ่อยมาก ครับ อัคคิเวสสนะ ถามพระพุทธเจ้าว่า... “พระโคดมผู้เจริญ! ทรงนำสาวกทั้งหลายไปอย่างไร? อนึ่ง อนุสาสนีของพระโคดมผู้เจริญ ย่อมเป็นไปในสาวกทั้งหลาย ส่วนมาก มีส่วนแห่งการจำแนกอย่างไร?” พระพุทธเจ้าท่านตรัสว่า... อัคคิเวสสนะ! เราย่อมนำสาวกทั้งหลายไปอย่างนี้ อนึ่ง อนุสาสนีของเรา ย่อมเป็นไปในสาวกทั้งหลาย ส่วนมาก มีส่วนแห่งการจำแนกอย่างนี้ว่า “ภิกษุทั้งหลาย.! รูปไม่เที่ยง เวทนาไม่เที่ยง สัญญาไม่เที่ยง สังขารไม่เที่ยง วิญญาณไม่เที่ยง. ภิกษุ ทั้งหลาย.! รูปไม่ใช่ตัวตน เวทนาไม่ใช่ตัวตน สัญญาไม่ใช่ตัวตน สังขารไม่ใช่ตัวตน วิญญาณไม่ใช่ตัวตน. สังขารทั้งหลายทั้งปวงไม่เที่ยง ธรรมทั้งหลายทั้งปวงไม่ใช่ตัวตน” ดังนี้. อัคคิเวสสนะ! เราย่อมนำสาวกทั้งหลายไปอย่างนี้ อนึ่ง อนุสาสนีของเรา ย่อมเป็นไปในสาวกทั้งหลาย ส่วนมาก มีส่วนแห่งการจำแนกอย่างนี้ ดังนี้. มู. ม. ๑๒/๔๒๖/๓๙๖. พึ่งตนพึ่งธรรม นำชีวิตออกจากทุกข์ ขออนุโมทนาบุญกับทุกท่าน ที่มีส่วนร่วม

ไม่ได้ปฎิบัติธรรม ประพฤติพรหมจรรย์ เพื่อให้คนอื่นนับถือ

รูปภาพ
สวัสดีครับคุณผู้ชมคุณผู้ฟังทุกท่าน ที่ติดตามรับชมภูริฟิล์ม ธรรมะ ๑ นาที คลิบนี้เสนอตอน ไม่ได้ปฎิบัติธรรม หรือประพฤติพรหมจรรย์ เพื่อให้คนอื่นนับถือ พระพุทธเจ้าท่านตรัสว่า... ภิกษุทั้งหลาย! พรหมจรรย์นี้เราประพฤติ ๑. มิใช่เพื่อหลอกลวงคนให้นับถือ ๒. มิใช่เพื่อเรียกคนมาเป็นบริวาร ๓. มิใช่เพื่ออานิสงส์เป็นลาภสักการะ และเสียงสรรเสริญ ๔. มิใช่เพื่ออานิสงส์ จะได้เป็นเจ้าลัทธิ หรือเพื่อค้านลัทธิอื่นใดให้ล้มลงไป และ ๕. มิใช่เพื่อให้มหาชนเข้าใจว่า เราได้เป็นผู้วิเศษอย่างนั้นอย่างนี้ ก็หามิได้. ภิกษุทั้งหลาย! ที่แท้พรหมจรรย์นี้ เราประพฤติ เพื่อสำรวม เพื่อละ เพื่อคลายกำหนัด เพื่อดับสนิทซึ่งทุกข์ แล. -บาลี จตุกฺก. อํ. ๒๑/๓๓/๒๕. พึ่งตนพึ่งธรรม นำชีวิตออกจากทุกข์ ขออนุโมทนาบุญกับทุกท่าน ที่มีส่วนร่วมในการจัดทำคลิบนี้ และรับชมคลิบนี้ สาธุครับ

ความทุกข์ อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา ตามคำสอนพระพุทธเจ้า

รูปภาพ
สวัสดีครับคุณผู้ชมคุณผู้ฟังทุกท่าน ที่ติดตามรับชมภูริฟิล์ม ธรรมะ ๑ นาที คลิบนี้เสนอตอน ความทุกข์ อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา ตามคำสอนพระพุทธเจ้าครับ พระพุทธเจ้าท่านตรัสว่า... สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์ สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นอนัตตา ทุกขเวทนา เวทนาใดๆ เวทนานั้น ถึงการประชุมลงในความทุกข์ ซึ่งเวทนามี ๓ อย่าง คือ ๑. สุขเวทนา สุขก็เดินไปสู่ความทุกข์ และเดินไปสู่ความแตกสลาย แตกดับ ๒. ทุกขเวทนา ก็เดินไปสู่ความทุกข์ และเดินไปสู่ความแตกสลาย แตกดับ ๓. อทุกขมสุข ก็เดินไปสู่ความทุกข์ และเดินไปสู่ความแตกสลาย แตกดับ หรืออุเบกขาก็เป็นทุกข์ และเดินไปสู่ความแตกสลาย แตกดับ ดังนั้น คำว่าทุกข์ หมายถึง การแตกสลาย ทนอยู่สภาพเดิมไม่ได้ ต้องมีการเปลี่ยนแปลง ซึ่งทุกขสัตว์ ในอริยสัจจึงกินความกว้าง สรรพสิ่งใดๆ ที่เป็นรูป และนาม ที่เดินไปสู่การแตกดับ นั่นคือ กองทุกข์ทั้งหมด พระพุทธองค์ท่านจึงบอกว่า ขันธ์ ๕ เป็นทุกข์ ขันธ์ทั้ง ๕ คิอ รูป เวทนา สัญญา สังขาร และวิญญาณ มีการแตกดับ ทั้งหมดจึงเป็นทุกขสัตว์ นี่คือ ทุกข์ในอริยสัจ ๔ และคำว่าทุกข์นี้ ก็มีความหมายซ

ความหมายของคำว่า "สัตว์" ที่พระพุทธเจ้าท่านเรียกว่า ผู้มีอวิชชา หรือผู้หลง

รูปภาพ
สวัสดีครับคุณผู้ชมคุณผู้ฟังทุกท่าน ที่ติดตามรับชมภูริฟิล์ม ธรรมะ ๑ นาที คลิบนี้เสนอตอน ความหมายของคำว่า “สัตว์” ที่พระพุทธเจ้าท่านเรียกว่า ผู้มีอวิชชา หรือผู้หลง พระพุทธเจ้าท่านตรัสว่า.. ราธะ! ความพอใจอันใด (ฉันนะ) ราคะอันใด (ความกำหนัด) นันทิอันใด (ความเพลิน) ตัณหาอันใด (ความอยาก) ที่มีอยู่ใน รูป เวทนา สัญญา สังขารทั้งหลาย ในวิญญาณ เพราะการติดแล้ว ข้องแล้วในสิ่งนั้นๆ จึงเรียกว่า “สัตว์” ดังนี้ (คือ ผู้ข้องติดในขันธ์ทั้ง ๕) สัตว์ คือ สภาวะหนึ่ง ที่เข้าไปติดข้องในขันธ์ทั้ง ๕ คือผู้ที่เวียนว่ายตายเกิด สัตว์ มายึดติดในรูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ( คือ ขันธ์ ๕) และสัตว์ตัวนี้แหละ ที่ปฎิบัติมรรค ๘ จนสมบูรณ์แล้ว อวิชชาจะจางคลายไป หมดไป วิชชาจะเกิดขึ้น สัตว์ตัวนี้จะถูกเรียกใหม่ว่า วิมุตติญาณทัสสนะ (ผู้รู้ในวิมุตติ) สัตว์จะตั้งอยู่ในวิมุตติ (ความหลุดพ้นจากกิเลส และกองทุกข์ นิพพาน) และจะไม่ตั้งอาศัยอยู่ในขันธ์ ๕ อีกต่อไป เพราะรู้ว่าขันธ์ ๕ ไม่ไช่ตัวเราของเรา ดังนั้น ทุกคนจึงมีวิมุตติในตัวอยู่แล้ว มีนิพพานในตัวอยู่แล้ว เพียงแต่เรามีอวิชชาเป็นเคร

ประโยชน์ของผู้ได้สดับในธรรม (สุตตะ)

รูปภาพ
สวัสดีครับคุณผู้ชมคุณผู้ฟังทุกท่าน ที่ติดตามรับชมภูริฟิล์ม ธรรมะ ๑ นาที คลิบนี้เสนอตอน ประโยชน์ของผู้ได้สดับในธรรม (หรือ สุตตะ) พระพุทธเจ้าท่านตรัสว่า ประโยชน์ของผู้ได้สดับในธรรมนั้น คือ การฟังธรรม เป็นธรรมมีอุปการะมาก ต่อการทรงจำ การทรงจำ เป็นธรรมอุปการะมาก ต่อการใคร่ครวญธรรม การกระทำกิจ เนื่องด้วยการฟัง กระทำกิจ เนื่องด้วยความเป็นเป็นพหูสูตร (คือ มีสุตตะมาก) แทงตลอดอย่างดีด้วยทิฏิ (คือ ทำความเข้าใจ) รู้ชัดปัญญาวิมุติ เจโตวิมุติ ซึ่ง พระพุทธเจ้าท่านตรัสว่า... ใครทำ ๔ เหตุปัจจัยนี้ จะไปในทางดี ไม่ไปในทางเสื่อม พึ่งตนพึ่งธรรม นำชีวิตออกจากทุกข์ ขออนุโมทนาบุญกับทุกท่าน ที่มีส่วนร่วมในการจัดทำคลิบนี้ และรับชมคลิบนี้ สาธุครับ

การทำบุญกับผู้มีศีล ผู้ทุศีล ได้บุญแตกต่างกันอย่างไร

รูปภาพ
สวัสดีครับคุณผู้ชมคุณผู้ฟังทุกท่าน ที่ติดตามรับชมภูริฟิล์ม ธรรมะ ๑ นาที คลิบนี้เสนอตอน การทำบุญกับผู้มีศีล กับผู้ทุศีล ว่าจะได้บุญแตกต่างกันอย่างไร ครับ ในเรื่องการทำบุญ (นัยยะหนึ่ง ในอีกหลายๆ นัยยะ) พระพุทธเจ้าท่านตรัสว่า.. ๑. ทำบุญกับสัตว์เดรัจฉาน ได้ ๑๐๐ เท่า ๒. ทำบุญกับปุถุชนผู้ทุศีล ได้ ๑,๐๐๐ เท่า ๓. ทำบุญกับปุถชนผู้มีศีล ได้ ๑๐๐,๐๐๐ เท่า ๔. ทำบุญกับบุคคลผู้ปราศจากกาม ได้ ๑๐๐,๐๐๐ โกฏิเท่า ๕. ทำบุญกับอริยะ (ตั้งแต่โสดาบันขึ้นไป) นับประมาณไม่ได้ พึ่งตนพึ่งธรรม นำชีวิตออกจากทุกข์ ขออนุโมทนาบุญกับทุกท่าน ที่มีส่วนร่วมในการจัดทำคลิบนี้ และรับชมคลิบนี้ สาธุครับ

ความเพียรชอบ (สัมมัปปธาน ๔) หรือ ปธาน ๔

รูปภาพ
สวัสดีครับคุณผู้ชมคุณผู้ฟังทุกท่าน ที่ติดตามรับชมภูริฟิล์ม ธรรมะ ๑ นาที คลิบนี้เสนอตอน ความเพียรชอบ สัมมัปปธาน ๔ หรือ ปธาน ๔ พระพุทธเจ้าท่านตรัสว่า... ความเพียรชอบ สัมมัปปธาน ๔ หรือ ปธาน ๔ นั้น คือ ๑. สังวรปธาน คือ เพียรระวังยับยั้งบาปอกุศลธรรม (คือ นิวรณ์ ๕) ที่ยังไม่เกิด มิให้เกิดขึ้น ดังที่ตรัสว่า.. ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ ยังฉันทะให้เกิดพยายาม ปรารภความเพียร ประคองจิตตั้งใจ เพื่อความไม่เกิดขึ้นแห่งธรรม ที่เป็นบาปอกุศล ที่ยังไม่เกิด ๒. ปหานปธาน คือ เพียรละบาปอกุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้ว ดังที่ตรัสว่า.. ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ ยังฉันทะให้เกิดพยายาม ปรารภความเพียร ประคองจิตตั้งใจ เพื่อละธรรมที่เป็นบาปอกุศล ที่เกิดขึ้นแล้ว ๓. ภาวนาปธาน คือ เพียรทำกุศลธรรม ที่ยังไม่เกิด ให้เกิดมี ดังที่ตรัสว่า.. ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ ยังฉันทะให้เกิด พยายามปรารภความเพียร ประคองจิตตั้งใจ เพื่อความบังเกิดขึ้น แห่งธรรมที่เป็นกุศล ที่ยังไม่เกิด ๔. อนุรักขนาปธาน คือ เพียรรักษากุศลธรรม ที่เกิดขึ้

ความเกลียดเกิดจากความรัก ว่าด้วยความรัก ๔ แบบ

รูปภาพ
สวัสดีครับคุณผู้ชมคุณผู้ฟังทุกท่าน ที่ติดตามรับชมภูริฟิล์ม ธรรมะ ๑ นาที คลิบนี้เสนอตอน เรื่องความรัก ๔ แบบ ครับ พระพุทธเจ้าท่านได้ตรัส ในเรื่องความรักเอาไว้ ๔ แบบ ซึ่งโดยย่อแล้ว มีใจความว่า... ๑. ความรักเกิดจากความรัก เรารักใคร แล้วมีบุคคลอื่น มากระทำต่อบุคคลนั้น ด้วยความรัก... เราจะรักบุคคลนั้นด้วย ๒. ความเกลียดเกิดจากความรัก เรารักใคร แล้วมีบุคคลอื่น มาแสดงความเกลียดชังต่อบุคคลนั้น... เราจะเกลียดบุคคลนั้น ๓. ความรักเกิดจากความเกลียด เราเกลียดใคร แล้วมีบุคคลอื่น มาแสดงความเกลียดชังต่อบุคคลนั้น.. เราจะรักบุคคลนั้น ๔. ความเกลียดเกิดจากความเกลียด เราเกลียดใคร แล้วมีบุคคลอื่น มาแสดงความรักต่อบุคคลนั้น.. เราจะเกลียดบุคคลนั้น พึ่งตนพึ่งธรรม นำชีวิตออกจากทุกข์ ขออนุโมทนาบุญกับทุกท่าน ที่มีส่วนร่วมในการจัดทำคลิบนี้ และรับชมคลิบนี้ สาธุครับ

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

เป็นทุกข์ เพราะติดอยู่ในอายตนะ

เต่าตาบอด โอกาสในการเกิดเป็นมนุษย์นั้นยาก

รักใครชอบใคร จงสงเคราะห์ด้วยการให้รู้อริยสัจ ๔

ทิ้งเสียนั่นแหละ กลับจะเป็นประโยชน์

ฤกษ์ดี มงคลดี สว่างดี รุ่งดี ขณะดี ยามดี ตามคำสอนพระพุทธเจ้า

เจริญสมาธิ ได้ชื่อว่ากำลังโน้มเอียงไปสู่นิพพาน

ขี้ตามช้าง คือ ผู้ที่ติดอกติดในในลาภ ไม่เห็นโทษของลาภ

การทำงานของจิต ที่มีรูป เวทนา สัญญา สังขาร เป็นอารมณ์

ฐานะ ๕ ประการ ที่ใครๆ ไม่อาจได้ตามปรารถนา

๓ สิ่งนี้ เปิดเผยไม่เจริญ ปิดบังไว้จึงเจริญ