บทความ

สังสารวัฏนี้ หาที่สุดเบื้องต้น เบื้องปลายไม่ได้

รูปภาพ
สวัสดีครับคุณผู้ชมคุณผู้ฟังทุกท่าน ที่ติดตามรับชมภูริฟิล์ม ธรรมะ ๑ นาที คลิบนี้เสนอตอน สังสารวัฏนี้ หาที่สุดเบื้องต้น เบื้องปลายไม่ได้ พระพุทธเจ้าท่านตรัสว่า... ดูกรภิกษุทั้งหลาย สงสารนี้ กำหนดที่สุดเบื้องต้น เบื้องปลายไม่ได้ เมื่อเหล่าสัตว์ผู้มีอวิชชาเป็นที่กางกั้น มีตัณหาเป็นเครื่องประกอบไว้ ท่องเที่ยวไปมาอยู่ ที่สุดเบื้องต้นย่อมไม่ปรากฏฯ ดูกรภิกษุทั้งหลาย เหมือนอย่างว่า บุรุษตัดทอนหญ้า ไม้กิ่ง ไม้ใบ ไม้ในชมพูทวีปนี้ แล้วจึงรวมกันไว้ ครั้นแล้ว พึงกระทำให้เป็นมัดๆ ละ ๔ นิ้ว วางไว้ สมมติว่า นี้เป็นมารดาของเรา นี้เป็นมารดาของมารดาของเรา โดยลำดับมารดาของมารดาแห่งบุรุษนั้น ไม่พึงสิ้นสุด ส่วนว่า หญ้า ไม้กิ่ง ไม้ใบ ไม้ในชมพูทวีปนี้ พึงถึงการหมดสิ้นไป. พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๖ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๘ สังยุตตนิกาย นิทานวรรค อนมตัคคสังยุตต์ ปฐมวรรคที่ ๑ พึ่งตนพึ่งธรรม นำชีวิตออกจากทุกข์ ขออนุโมทนาบุญกับทุกท่าน ที่มีส่วนร่วมในการจัดทำคลิบนี้ และรับชมคลิบนี้ สาธุครับ

ตะปูตรึงใจ ๕ ตัว ที่ได้แต่ความเสื่อมในกุศลธรรม

รูปภาพ
สวัสดีครับคุณผู้ชมคุณผู้ฟังทุกท่าน ที่ติดตามรับชมภูริฟิล์ม ธรรมะ ๑ นาที คลิบนี้เสนอตอน ตะปูตรึงใจ ๕ ตัว ที่ได้แต่ความเสื่อมในกุศลธรรม พระพุทธเจ้าท่านตรัสว่า... ภิกษุ ท.! บรรพชิตรูปใด จะเป็นภิกษุ หรือภิกษุณีก็ตาม ยังละตะปูตรึงใจห้าตัวไม่ได้ คืนวันของบรรพชิตรูปนั้น ย่อมผ่านไป โดยหวังได้แต่ความเสื่อม ในกุศลธรรมทั้งหลายอย่างเดียว หาความเจริญมิได้. ตะปูตรึงใจห้าตัว ที่บรรพชิตรูปนั้นยังละไม่ได้ เป็นอย่างไรเล่า? ๑. ภิกษุ ท.! ภิกษุในกรณีนี้ยังสงสัย เคลือบแคลง ไม่ปลงใจเชื่อ ไม่เลื่อมใส ในพระศาสดา. ภิกษุใด เป็นดังกล่าวนี้ จิตของภิกษุนั้น ย่อมไม่น้อมไป เพื่อความเพียรเผากิเลส เพียรประกอบเนืองๆ เพียรตั้งหลัก ติดต่อเนื่องกัน. จิตของผู้ใด ไม่น้อมไปตามนัยที่กล่าวนี้, นั่นแหละ เป็นตะปูตรึงใจตัวที่หนึ่ง ที่เธอนั้นยังละไม่ได้. ๒. ภิกษุ ท.! อีกอย่างหนึ่ง ภิกษุยังสงสัย ฯลฯ ในธรรม _ _ _ฯลฯ _ _ _ นั่นแหละ เป็นตะปูตรึงใจตัวที่สอง ที่เธอนั้นยังละไม่ได้. ๓. ภิกษุ ท.! อีกอย่างหนึ่ง ภิกษุยังสงสัย ฯลฯ ในพระสงฆ์ _ _ _ฯลฯ _ _ _ นั่นแหละ เป็นตะปูตรึงใจตัวที่สาม ที่เธอนั้น

คนแหวกแนว ผู้ทำมหาชนให้เสื่อมเสีย

รูปภาพ
สวัสดีครับคุณผู้ชมคุณผู้ฟังทุกท่าน ที่ติดตามรับชมภูริฟิล์ม ธรรมะ ๑ นาที คลิบนี้เสนอตอน คนแหวกแนว ผู้ทำมหาชนให้เสื่อมเสีย พระพุทธเจ้าท่านตรัสว่า... ภิกษุ ท.! ภิกษุผู้เป็นที่เชื่อถือของมหาชนทั่วไป เมื่อมีการกระทำ สามอย่างนี้แล้ว จะได้ชื่อว่า เป็นผู้ทำมหาชนให้เสื่อมเสีย ทำมหาชน ให้หมดสุข ทำไปเพื่อความฉิบหายแก่มหาชน ไม่เป็นประโยชน์เกื้อกูล แต่เป็นไปเพื่อความทุกข์ ทั้งแก่เทวดา และมนุษย์ทั้งหลาย. การกระทำสามอย่างอะไรบ้างเล่า? สามอย่าง คือ :- (๑) ทำการชักชวนมหาชน ในกายกรรม ๑ อันผิดแนว แห่งการทำที่สุดทุกข์ ในพระศาสนา. (๒) ทำการชักชวนมหาชน ในวจีกรรม ๒ อันผิดแนว แห่งการทำที่สุดทุกข์ ในพระศาสนา. (๓) ทำการชักชวนมหาชน ในการบำเพ็ญทางจิต ๓ อันผิดแนว แห่งการทำที่สุดทุกข์ ในพระศาสนา. ภิกษุ ท.! ภิกษุผู้เป็นที่เชื่อถือของมหาชนทั่วไป, เมื่อมีการกระทำ สามอย่างเหล่านี้ เข้าแล้ว ได้ชื่อว่า เป็นผู้ทำมหาชนให้เสื่อมเสีย ทำมหาชนให้หมดสุข ทำไปเพื่อความฉิบหาย แก่มหาชน ไม่เป็นประโยชน์เกื้อกูล แต่เป็น ไปเพื่อความทุกข์ ทั้งแก่เทวดา และมนุษย์ ทั้งหลายแล. (หน้า 81 หนังสือขุมทรัพ

ความไม่ผ่องใส ไม่งามสง่ารุ่งเรือง (ราคีของนักบวช)

รูปภาพ
สวัสดีครับคุณผู้ชมคุณผู้ฟังทุกท่าน ที่ติดตามรับชมภูริฟิล์ม ธรรมะ ๑ นาที คลิบนี้เสนอตอน ราคีของนักบวช ความไม่ผ่องใส ไม่งามสง่า รุ่งเรือง พระพุทธเจ้าท่านตรัสว่า... ภิกษุ ท.! เครื่องเศร้าหมองของพระจันทร์ และพระอาทิตย์ มีอยู่สี่อย่าง อันเป็นเหตุให้ พระจันทร์ และพระอาทิตย์ ไม่สุกใส ไม่สว่างไสวรุ่งเรือง. สี่อย่างอะไรบ้าง? สี่อย่างคือ เมฆ หมอก ผงคลี และอสุรินทราหู. ภิกษุ ท.! เครื่องเศร้าหมอง ของพระจันทร์และพระอาทิตย์ อันเป็นเหตุให้พระจันทร์และพระอาทิตย์ ไม่สุกใส ไม่สว่างไสวรุ่งเรือง มีอยู่สี่อย่างนี้ ภิกษุ ท.! ฉันใดก็ฉันนั้น : เครื่องเศร้าหมองของสมณพราหมณ์ ก็มีอยู่สี่อย่าง อันเป็นเหตุ ให้สมณพราหมณ์ ไม่ผ่องใส ไม่งามสง่ารุ่งเรือง. สี่อย่าง อะไรบ้าง? สี่อย่างคือ (๑) สมณพราหมณ์พวกหนึ่ง ดื่มสุราเมรัย ไม่งดเว้นจากการดื่มสุรา เมรัย. (๒) สมณพราหมณ์พวกหนึ่ง ยังมีการกระทำ (อย่างใดอย่างหนึ่ง) อย่างที่คนคู่เขาทำต่อกัน ๑ ไม่งดเว้นจากการกระทำเช่นนั้น. (๓) สมณพราหมณ์พวกหนึ่ง รับทองและเงิน ไม่งดเว้นจากการรับทองและเงิน. (๔) สมณพราหมณ์พวกหนึ่ง สำเร็จการเป็นอยู่ ด้

ทรงเห็นสัตว์ดุจดอกบัว ๓ เหล่า

รูปภาพ
สวัสดีครับคุณผู้ชมคุณผู้ฟังทุกท่าน ที่ติดตามรับชมภูริฟิล์ม ธรรมะ ๑ นาที คลิบนี้เสนอตอน ทรงเห็นสัตว์ดุจดอกบัว ๓ เหล่า พระพุทธเจ้าท่านตรัสว่า... ราชกุมาร! ครั้งนั้น เรารู้แจ้งคำเชื้อเชิญ ของสหัมบดีพรหมแล้ว และเพราะอาศัยความกรุณาในสัตว์ทั้งหลาย เราตรวจดูโลกด้วยพุทธจักขุแล้ว. เมื่อเราตรวจดูโลก ด้วยพุทธจักขุอยู่ เราได้เห็นสัตว์ทั้งหลาย ผู้มีธุลีในดวงตา เล็กน้อยบ้าง มีมากบ้าง ผู้มีอินทรีย์แก่กล้าบ้าง อ่อนบ้าง มีอาการดีบ้าง เลวบ้าง อาจสอนให้รู้ ได้ง่ายบ้าง ยากบ้าง และบางพวกเห็นโทษในปรโลก โดยความเป็นภัยอยู่ก็มี เปรียบเหมือนในหนอง บัวอุบล บัวปทุม บัวบุณฑริก ดอกบัวบางเหล่า เกิดแล้วในน้ำ เจริญในน้ำ อันน้ำพยุงไว้ ยังจมอยู่ในน้ำ บางเหล่า เกิดแล้วในน้ำ เจริญในน้ำ อันน้ำพยุงไว้ ตั้งอยู่เสมอพื้นน้ำ บางเหล่า เกิดแล้วในน้ำ เจริญในน้ำ อันน้ำพยุงไว้ โผล่ขึ้นพ้นน้ำ อันน้ำไม่ถูกแล้ว มีฉันใด ราชกุมาร! เราได้เห็นสัตว์ทั้งหลาย เป็นต่างๆ กัน ฉันนั้น. ราชกุมาร! ครั้งนั้น เราได้รับรองกะสหัมบดีพรหมด้วยคำ (ที่ผูกเป็นกาพย์) ว่า “ประตูแห่งนิพพานอันเป็นอมตะ เราเปิดไว้แล

สุนัขขี้เรื้อน (ลาภสักการะ และเสียงเยินยอ)

รูปภาพ
สวัสดีครับคุณผู้ชมคุณผู้ฟังทุกท่าน ที่ติดตามรับชมภูริฟิล์ม ธรรมะ ๑ นาที คลิบนี้เสนอตอน สุนัขขี้เรื้อน ลาภสักการะและเสียงเยินยอ พระพุทธเจ้าท่านตรัสว่า... ภิกษุ ท.! ลาภสักการะและเสียงเยินยอ เป็นอันตรายที่ทารุณแสบเผ็ด หยาบคาย ต่อการบรรลุพระนิพพาน อันเป็นธรรมเกษมจากโยคะ ไม่มีธรรมอื่นยิ่งกว่า. ภิกษุ ท.! พวกเธอเห็นสุนัขจิ้งจอกตัวที่อาศัยอยู่ เมื่อตอนยํ่ารุ่ง แห่งราตรีนี้ไหม? “เห็น พระเจ้าข้า”. ภิกษุ ท.! สุนัขจิ้งจอกตัวนั้น เป็นโรคหูชัน คือ (โรคเรื้อนสุนัข) ๒ วิ่งไปบนแผ่นดิน ก็ไม่สบาย ไปอยู่ที่โคนไม้ ก็ไม่สบาย ไปอยู่กลางแจ้ง ก็ไม่สบาย. มันไปในที่ใด มันยืนในที่ใด มันนั่งในที่ใด มันนอนในที่ใด ล้วนแต่ได้รับทุกข์ทรมาน ในที่นั้น ๆ. ภิกษุ ท.! ภิกษุบางรูป ในศาสนานี้ก็เหมือนกัน ครั้นถูกลาภสักการะและเสียงเยินยอ ครอบงำเอาแล้ว มีจิตติดแน่นอยู่ในสิ่งนั้นๆ ไปอยู่สุญญาคาร ก็ไม่สบาย ไปอยู่โคนไม้ ก็ไม่สบาย ไปอยู่กลางแจ้ง ก็ไม่สบาย. เธอไปในที่ใด เธอยืนในที่ใด เธอนั่งในที่ใด เธอนอนในที่ใด ล้วนแต่ได้รับทุกข์ทรมาน ในที่นั้นๆ ภิกษุ ท.! ลาภสักการะและเสียงเยินยอ เป

สติ กับสัมปชัญญะ

รูปภาพ
สวัสดีครับคุณผู้ชมคุณผู้ฟังทุกท่าน ที่ติดตามรับชมภูริฟิล์ม ธรรมะ ๑ นาที คลิบนี้เสนอตอน สติ กับสัมปชัญญะ จงเป็นผู้มีสติ คู่กันไปกับ สัมปชัญญะ ครับ พระพุทธเจ้าท่านตรัสว่า... ภิกษุทั้งหลาย! ภิกษุ พึงเป็นผู้มีสติอยู่อย่างมีสัมปชัญญะ : นี้เป็นอนุสาสนีของเรา แก่พวกเธอทั้งหลาย. ภิกษุทั้งหลาย! ภิกษุเป็นผู้มีสติ เป็นอย่างไรเล่า? ภิกษุทั้งหลาย! ภิกษุในกรณีนี้ เป็นผู้เห็นกายในกายอยู่เป็นประจำ มีความเพียร เผากิเลส มีสัมปชัญญะ มีสติ นำออกเสียได้ ซึ่งอภิชฌาและโทมนัสในโลก เป็นผู้เห็นเวทนาในเวทนาอยู่เป็นประจำ มีความเพียรเผากิเลส มีสัมปชัญญะ มีสติ นำออกเสียได้ ซึ่งอภิชฌาและโทมนัสในโลก เป็นผู้เห็นจิตในจิตอยู่เป็นประจำ มีความเพียรเผากิเลส มีสัมปชัญญะ มีสติ นำออกเสียได้ ซึ่งอภิชฌา และโทมนัสในโลก เป็นผู้เห็นธรรมในธรรมทั้งหลายอยู่เป็นประจำ มีความเพียรเผากิเลส มีสัมปชัญญะ มีสติ นำออกเสียได้ ซึ่งอภิชฌา และโทมนัสในโลก. ภิกษุทั้งหลาย! อย่างนี้แล เรียกว่า ภิกษุเป็นผู้มีสติ. ภิกษุทั้งหลาย! ภิกษุเป็นผู้มีสัมปชัญญะ เป็นอย่างไรเล่า? ภิกษุทั้งหลาย! ภิกษุในกรณีนี้ เป็นผู้รู้

บุคคลไม่ควรคำนึงถึงสิ่งที่ล่วงไปแล้ว (ผู้มีราตรีหนึ่งเจริญ)

รูปภาพ
สวัสดีครับคุณผู้ชมคุณผู้ฟังทุกท่าน ที่ติดตามรับชมภูริฟิล์ม ธรรมะ ๑ นาที คลิบนี้เสนอตอน บุคคลไม่ควรคำนึงถึงสิ่งที่ล่วงไปแล้ว หรือ (ผู้มีราตรีหนึ่งเจริญ) พระพุทธเจ้าท่านตรัสว่า... ในโลกนี้ ไม่มีสิ่งใดๆ เลย ที่เมื่อเรายึดถืออยู่ เราจักเป็นผู้หาโทษมิได้ บุคคลไม่ควรคำนึงถึงสิ่งที่ล่วงไปแล้ว ไม่ควรมุ่งหวังสิ่งที่ยังไม่มาถึง สิ่งใดล่วงไปแล้ว สิ่งนั้นก็เป็นอันละไปแล้ว และสิ่งที่ยังไม่มาถึง ก็เป็นอันยังไม่ถึง ก็บุคคล "เห็นแจ้ง" ธรรมปัจจุบัน ไม่ง่อนแง่น ไม่คลอนแคลน ในธรรมนั้น ๆ ได้ บุคคลนั้นพึงเจริญธรรมนั้นเนืองๆ ให้ปรุโปร่งเถิด พึงทำความเพียรเสียในวันนี้แหละ ใครเล่าจะรู้ความตายในวันพรุ่ง เพราะว่า "ความผัดเพี้ยนกับมัจจุราช" ผู้มีเสนาใหญ่นั้น ย่อมไม่มีแก่เราทั้งหลาย พระมุนีผู้สงบ ย่อมเรียกบุคคลผู้มีปรกติอยู่อย่างนี้. มีความเพียร ไม่เกียจคร้านทั้งกลางวันและกลางคืน นั้นแลว่า "ผู้มีราตรีหนึ่งเจริญ" พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๑๔ หน้า ๒๖๗ ข้อ ๕๓๔ พึ่งตนพึ่งธรรม นำชีวิตออกจากทุกข์ ขออนุโมทนาบุญกับทุกท่าน ที่มีส่วนร่วมในการจัดทำคลิบนี้ แล

บทอธิษฐานจิต เพื่อทำความเพียร

รูปภาพ
สวัสดีครับคุณผู้ชมคุณผู้ฟังทุกท่าน ที่ติดตามรับชมภูริฟิล์ม ธรรมะ ๑ นาที คลิบนี้เสนอตอน บทอธิษฐานจิต เพื่อทำความเพียร พระพุทธเจ้าท่านตรัสว่า... ภิกษุ ทั้งหลาย.! เรายังรู้สึกได้อยู่ซึ่งธรรม ๒ อย่าง คือ ความไม่รู้จักอิ่มจักพอ (สันโดษ) ในกุศลธรรมทั้งหลาย และความเป็นผู้ไม่ถอยกลับ (อัปปฏิวานี) ในการทำความเพียร. ภิกษุ ทั้งหลาย.! เราย่อมตั้งไว้ซึ่งความเพียรอันไม่ถอยกลับ (คือ ด้วยการอธิษฐานจิต) ว่า “หนัง เอ็น กระดูก จักเหลืออยู่ เนื้อและเลือดในสรีระ จักเหือดแห้งไปก็ตามที ประโยชน์ใด อันบุคคลจะบรรลุได้ด้วยกำลัง ด้วยความเพียร ด้วยความบากบั่น ของบุรุษ ถ้ายังไม่บรรลุประโยชน์นั้นแล้ว จักหยุดความเพียรเสีย เป็นไม่มี ” ดังนี้. ภิกษุ ทั้งหลาย.! การตรัสรู้เป็นสิ่งที่เราถึงทับแล้ว ด้วยความไม่ประมาท อนุตตรโยคักเขมธรรม ก็เป็นสิ่งที่เรา ถึงทับแล้วด้วยความไม่ประมาท. ภิกษุ ทั้งหลาย.! ถ้าแม้ พวกเธอ พึงตั้งไว้ ซึ่งความเพียรอันไม่ถอยกลับ (คือ ด้วยการอธิษฐานจิต) ว่า “หนัง เอ็น กระดูก จักเหลืออยู่ เนื้อและเลือดในสรีระจักเหือดแห้งไปก็ตามที ประโยชน์ใด อันบุคคลจะบรรลุได้ด้วยกำลัง ด้ว

ผู้ปฏิบัติเพื่อประโยชน์ตน และเพื่อประโยชน์ผู้อื่น

รูปภาพ
สวัสดีครับคุณผู้ชมคุณผู้ฟังทุกท่าน ที่ติดตามรับชมภูริฟิล์ม ธรรมะ ๑ นาที คลิบนี้เสนอตอน ผู้ปฏิบัติเพื่อประโยชน์ตน และเพื่อประโยชน์ผู้อื่นฯ พระพุทธเจ้าท่านตรัสว่า... [๑๑๖] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ สวนมะม่วง ของหมอชีวก ใกล้พระนครราชคฤห์ ครั้งนั้น หมอชีวกโกมารภัจจ์ เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาค ถึงที่ประทับ ถวายบังคม พระผู้มีพระภาคแล้ว นั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้วได้ทูลถาม พระผู้มีพระภาคว่า (คำถามที่ ๑) ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ด้วยเหตุมีประมาณเท่าไรหนอ บุคคลชื่อว่าเป็น อุบาสก พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรชีวก เมื่อใดแล บุคคลถึง พระพุทธเจ้า ถึงพระธรรม ถึงพระสงฆ์ ว่าเป็นสรณะ ด้วยเหตุมีประมาณเท่านี้แล ชื่อว่าเป็น อุบาสกฯ (คำถามที่ ๒) ช. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ด้วยเหตุมีประมาณเท่าไร อุบาสก ชื่อว่า เป็นผู้มีศีลฯ พระผู้มีพระภาคตรัสว่า พ. ดูกรชีวก เมื่อใดแล อุบาสก งดเว้นจากปาณาติบาต งดเว้นจากอทินนาทาน งดเว้นจากกาเมสุมิจฉาจาร งดเว้นจากมุสาวาท งดเว้นจากการดื่มน้ำเมา คือ สุราและเมรัย อันเป็นที่ตั้งแห่งความประมาท ด้วยเหตุมีประมาณเท่าน

ฤทธิเดชของลาภสักการะ

รูปภาพ
สวัสดีครับคุณผู้ชมคุณผู้ฟังทุกท่าน ที่ติดตามรับชมภูริฟิล์ม ธรรมะ ๑ นาที คลิบนี้เสนอตอน ฤทธิเดชของลาภสักการะ พระพุทธเจ้าท่านตรัสว่า... ภิกษุ ท.! ลาภสักการะ และเสียงเยินยอ เป็นอันตรายที่ทารุณแสบเผ็ด หยาบคาย ต่อการบรรลุพระนิพพาน อันเป็นธรรมเกษมจากโยคะ ไม่มีธรรม อื่นยิ่งกว่า. ภิกษุ ท.! สมณพราหณ์พวกใด ไม่รู้จักความยวนใจ ไม่รู้จักโทษ อันตํ่าทราม ไม่รู้จัก อุบายเป็นทางพ้น ในกรณีอันเกี่ยวกับลาภสักการะ และเสียงเยินยอ ตรงตามที่เป็นจริง สมณพราหมณ์พวกนั้น จะกระทำให้แจ้งด้วยปัญญาอันยิ่งเอง แล้วเข้าถึงความสงบอยู่หาได้ไม่. ภิกษุ ท.! สมณพราหมณ์พวกใด ไม่รู้จักมูลฐานเป็นที่ตั้งขึ้น ไม่รู้จักความดับสนิท ไม่รู้จักความยวนใจ ไม่รู้จักโทษอันตํ่าทราม ไม่รู้จักอุบายเป็นทางพ้น ในกรณีอันเกี่ยวกับลาภสักการะ และเสียงเยินยอ ตรงตามที่เป็นจริง สมณพราหมณ์พวกนั้น จะกระทำให้แจ้งด้วยปัญญาอันยิ่งเอง แล้วเข้าถึงความสงบอยู่หาได้ไม่. ภิกษุท.! สมณพราหมณ์พวกใด ไม่รู้จักลาภสักการะและเสียงเยินยอ ไม่รู้จักมูลฐาน เป็นที่ตั้งขึ้น แห่งลาภสักการะและเสียงเยินยอ ไม่รู้จักความดับสนิท แห่งลาภ

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

ความเข้าใจผิดในเรื่องกรรม มิจฉาทิฏฐิเรื่องกรรม ๔ แบบ

ความหมายของคำว่า "สัตว์" ที่พระพุทธเจ้าท่านเรียกว่า ผู้มีอวิชชา หรือผู้หลง

เต่าตาบอด โอกาสในการเกิดเป็นมนุษย์นั้นยาก

การทำงานของจิต ที่มีรูป เวทนา สัญญา สังขาร เป็นอารมณ์

ฐานะ ๕ ประการ ที่ใครๆ ไม่อาจได้ตามปรารถนา

เจริญสมาธิ ได้ชื่อว่ากำลังโน้มเอียงไปสู่นิพพาน

พระตถาคตเกิดขึ้น แสดงธรรม เพื่อความรำงับ ดับ รู้

รักใครชอบใคร จงสงเคราะห์ด้วยการให้รู้อริยสัจ ๔

ทิ้งเสียนั่นแหละ กลับจะเป็นประโยชน์

ฤกษ์ดี มงคลดี สว่างดี รุ่งดี ขณะดี ยามดี ตามคำสอนพระพุทธเจ้า